ก นแล วแข ง แรงไม ม โรคภ ยเบ ยดเบ ยน

โรคลูปัส หรือที่เรียกกันว่า แพ้ภูมิตัวเอง SLE คือ ภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันทำลายเนื้อเยื่อและอวัยวะของตนเอง (โรคภูมิต้านตนเอง) การอักเสบที่เกี่ยวข้องกับโรคลูปัส หรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง SLE สามารถส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานต่าง ๆ ภายในร่างกาย เช่น ข้อต่อ ผิวหนัง ไต เซลล์เม็ดเลือด สมอง หัวใจและปอด โรคลูปัส โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ SLE อาจวินิจฉัยได้ยากเนื่องจากอาการของโรคมักคล้ายกับโรคอื่น ๆ ลักษณะเด่นที่สุดของโรคลูปัสคือผื่นบนใบหน้าที่มีรูปร่างเหมือนปีกผีเสื้อ บริเวณเหนือแก้มทั้งสองข้าง ซึ่งมักพบในผู้ป่วยโรคลูปัส แต่ไม่ได้พบในผู้ป่วยทุกราย

ผู้ป่วยบางคนมีลักษณะทางพันธุกรรมที่เอื้อต่อการเป็นโรคลูปัส แม้จะไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดแต่มีการรักษาที่บรรเทาอาการได้

อาการของโรคลูปัส โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ SLE

โรคนี้อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้ อาการที่พบได้บ่อย ประกอบด้วย:

  • อ่อนเพลีย
  • มีไข้
  • ปวดข้อ
  • ข้อติด แข็ง ฝืด
  • ขาบวม
  • ผื่นรูปผีเสื้อบนใบหน้า
  • ผื่นแพ้แสง
  • หายใจลำบาก
  • ตาแห้ง
  • สับสน และมีความบกพร่องทางความสามารถของสมอง (Disorientation and cognitive impairment)

สาเหตุของการแพ้ภูมิตัวเอง

โรคลูปัส โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ SLE 8nvโรคภูมิต้านตนเองที่ระบบภูมิคุ้มกันไปทำลายเนื้อเยื่อปกติในร่างกาย คาดว่า เกิดจากการผสมผสานของปัจจัยด้านพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม

ผู้ที่มีลักษณะพันธุกรรมที่เอื้อต่อการเกิดโรคลูปัส อาจเกิดอาการได้เมื่อสัมผัสหรือได้รับสิ่งกระตุ้นในสภาพแวดล้อมที่อาจทำให้เกิดโรคลูปัส ในกรณีส่วนใหญ่มักไม่ทราบสาเหตุ แต่ปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นโรคลูปัส มีดังนี้

  • แสงแดด ในบุคคลที่มีพันธุกรรมเอื้อต่อการเกิดโรคลูปัส การสัมผัสแสงแดดอาจทำให้เกิดโรคผิวหนังลูปัสหรือเกิดปฏิกิริยาภายในร่างกายได้
  • การติดเชื้อ การติดเชื้อสามารถทำให้เกิดโรคลูปัสหรือเกิดอาการกำเริบได้ในบางกรณี
  • ยาบางชนิด ยาลดความดันโลหิต ยาต้านอาการชัก และยาปฏิชีวนะบางชนิดสามารถทำให้เกิดโรคลูปัสได้

ปัจจัยเสี่ยง

  • เพศ: พบได้ในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
  • อายุ: ส่วนใหญ่พบในช่วงอายุระหว่าง 15 ถึง 45 ปี
  • เชื้อชาติ: พบได้บ่อยในชาวแอฟริกันอเมริกัน ฮิสแปนิก และชาวเอเชีย

อาการแทรกซ้อนจากโรคลูปัส โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ SLE

  • ไต – ไตวาย คือสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคลูปัส
  • สมอง – ปวดศีรษะ, วิงเวียน, มีปัญหาด้านการมองเห็น, โรคหลอดเลือดสมอง และอาการชัก
  • หลอดเลือด – อาการที่พบได้บ่อย ได้แก่ เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือด และเม็ดเลือดแดงต่ำลง
  • ปอด – โรคลูปัสเพิ่มความเสี่ยงการอักเสบในปอด
  • หัวใจ – โรคลูปัสสามารถกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ เส้นเลือดแดง และเยื่อบุต่าง ๆ
  • การติดเชื้อ – ผู้ป่วยโรคลูปัส มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสอื่น ๆ ได้ง่ายขึ้น เนื่องจากภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง
  • การสลายตัวของเนื้อเยื่อกระดูก – เกิดขึ้นเมื่อเลือดไปเลี้ยงกระดูกน้อยลง โดยทั่วไปมักจะส่งผลให้เกิดรอยแตกเล็ก ๆ และเกิดการยุบตัวของกระดูกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

การตรวจวินิจฉัยโรคลูปัส โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ SLE

โรคลูปัสเป็นโรคที่วินิจฉัยได้ยากเนื่องจากลักษณะบ่งชี้และอาการของแต่ละผู้ป่วยแตกต่างกันมาก ซึ่งอาการของโรคลูปัสอาจเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา พร้อมทั้งมีอาการคล้ายกับโรคอื่นอีกมากมาย โรคลูปัสจึงไม่สามารถวินิจฉัยได้ด้วยการตรวจเพียงชนิดเดียว การวินิจฉัยจะประเมินจากผลการตรวจเลือดและปัสสาวะ ลักษณะอาการ สัญญาณบ่งชี้

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

การตรวจเลือดและปัสสาวะทางห้องปฏิบัติการ มีรายการตรวจดังนี้:

  • การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) - การตรวจวิเคราะห์ เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด รวมถึงเม็ดเลือดแดง และฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นโมเลกุลที่จับตัวกับออกซิเจนในเซลล์เม็ดเลือดแดง
  • ค่าอักเสบในร่างกาย (ESR, CRP) – อัตราที่สูงกว่าปกติบ่งบอกถึงภาวะการอักเสบเรื้อรังในระบบต่างๆของร่างกาย เช่น โรคลูปัส
  • การตรวจการทำงานของตับและไต (LFT & RFT) - การตรวจเลือดสามารถประเมินประสิทธิภาพการทำงานของตับและไต ซึ่งโรคลูปัสอาจทำให้อวัยวะเหล่านี้มีการทำงานผิดปกติได้
  • การตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะ (UA) – การตรวจตัวอย่างปัสสาวะอาจแสดงให้เห็นว่ามีโปรตีนสูงขึ้นหรืออาจพบเม็ดเลือดได้
  • การตรวจออโต้อิมมูนแล็บ เช่น ANA, ENA, Complement Component 3 (C3), and Complement Component 4 (C4).

การถ่ายภาพทางการแพทย์

  • ภาพรังสีทรวงอก - ภาพสแกนทรวงอก อาจแสดงให้เห็นเงาที่ผิดปกติ ซึ่งบ่งบอกถึงการมีสารน้ำหรือการอักเสบภายในปอด
  • การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงหัวใจ - การตรวจนี้เป็นการใช้คลื่นเสียงในการประมวลผลเป็นภาพที่แสดงจังหวะการเต้นของหัวใจได้ในทันที ช่วยในการตรวจความผิดปกติที่ลิ้นหัวใจและส่วนอื่น ๆ ได้

การตรวจชิ้นเนื้อ

โรคลูปัสสามารถก่อให้เกิดความเสียหายต่อไตได้หลายรูปแบบ และการรักษาจะแตกต่างกันไปตามความเสียหายที่เกิดขึ้น อาจมีการใช้เข็มเจาะชิ้นเนื้อหรือมีการตัดเก็บชิ้นส่วนเนื้อขนาดเล็กเพื่อทำการตรวจวิเคราะห์

ในบางครั้งแพทย์อาจตรวจชิ้นเนื้อจากผิวหนังหรือชิ้นเนื้อที่ไตเพื่อยืนยันการวินิจฉัยในกรณีที่มีอาการของโรคลูปัสที่อวัยวะนั้น ๆ

การรักษาโรคลูปัส โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ SLE

การรักษาสำหรับโรคลูปัสจะขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยหากมีอาการรุนแรงมากขึ้นหรือลดลง แพทย์จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนยาหรือปรับขนาดของยา ซึ่งยาที่มักใช้สำหรับรักษาโรคลูปัส ได้แก่:

  • ยาต้านการอักเสบแบบไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น นาพรอกเซน โซเดียม (naproxen sodium) ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) อาร์โคเซีย (arcoxia) และซิลิเบร็กซ์ (celebrex)สามารถนำมาใช้รักษาอาการปวด อักเสบ หรือมีไข้ ที่เกิดจากโรคลูปัส ซึ่งยา NSAIDs กลุ่มที่มีฤทธิ์แรง สามารถหาซื้อได้ตามใบสั่งแพทย์
  • ยาต้านมาลาเรีย (Antimalarial drugs) เช่น ไฮดรอกซีคลอโรควิน (hydroxychloroquine) ที่ออกฤทธิ์ต่อระบบภูมิคุ้มกันและสามารถลดการเกิดอาการของโรคลูปัสได้
  • คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เช่น เพรดนิโซน (prednisone) และยาคอร์ติโคสเตียรอยด์อื่น ๆ สามารถบรรเทาการอักเสบที่เกิดจากโรคลูปัสได้ ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ในปริมาณสูง เช่น เมธิลเพรดนิโซโลน (methylprednisolone) มักใช้ในการรักษาโรคลูปัสที่มีอาการที่ไตและสมองรุนแรง
  • ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressants) ยากลุ่มนี้อาจมีประโยชน์ในผู้ป่วยบางราย ตัวอย่างเช่น เอซาไธโอพริน (azathioprine), ไมโคฟีโนเลต (mycophenolate), เมโธเทรกเซท (methotrexate), ไซโคลสปอริน (cyclosporine) และ เลฟลูโนไมด์ (leflunomide)
  • การรักษาด้วยวิธีชีวภาพ ในบางอาการ ช่วยลดอาการของโรคลูปัสได้ในผู้ป่วยบางราย

การปรับวิถีชีวิตและการดูแลตนเองที่บ้าน

การปรับพฤติกรรมเพียงเล็กน้อย สามารถช่วยป้องกันการเกิดอาการกำเริบของโรคลูปัสได้ ซึ่งหากมีอาการของโรคลูปัสเกิดขึ้น แนะนำให้

  • พบแพทย์เป็นประจำ การตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้แพทย์สามารถป้องกันการกำเริบของโรคและยังมีประโยชน์ในการเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น ความเครียด โภชนาการ และการออกกำลังกาย ซึ่งสามารถลดอาการหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจตามมา
  • หลีกเลี่ยงแสงแดด สวมเสื้อผ้าที่ช่วยปกป้องร่างกายจากแสงแดด ได้แก่ หมวก เสื้อแขนยาว และกางเกงขายาว เนื่องจากรังสียูวีสามารถทำให้อาการของโรคกำเริบขึ้นได้
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ การออกกำลังกายช่วยคงความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อ ลดโอกาสในการเกิดโรคหัวใจ และช่วยให้คลายเครียดและนอนหลับดีขึ้น
  • ไม่สูบบุหรี่ การสูบบุหรี่สามารถทำให้อาการของโรคลูปัสรุนแรงขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • รับประทานอาหารให้ครบหมู่

อาการของโรคลูปัสนั้นมีอาการที่คล้ายกับโรคอื่น ๆ มากมาย ดังนั้นผู้ป่วยจึงต้องอดทนเพื่อรอผลการวินิจฉัย เนื่องจากแพทย์ต้องทำการจำแนกโรคอื่น ๆ ออกไปก่อนจึงจะสามารถวินิจฉัยโรคลูปัสได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจต้องเข้าพบผู้เชี่ยวชาญหลายคน เพื่อยืนยันแผนการวินิจฉัยและการรักษา

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้