ก นยาลดความด นส ง ม ผลข างเค ยงม ย

โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคยอดฮิตของเหล่าคนสูงอายุ ที่อาจจะเริ่มมีปัญหาตั้งแต่เริ่มเข้าสู่วัยกลางคน หลังจากทำงานกันมาอย่างหนักหน่วงมามากกว่าครึ่งชีวิต สาเหตุของโรคความดันโลหิตไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนก็จริง แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงเพิ่มขึ้นหากมีพฤติกรรมในการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น การดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานที่เราทำได้ไม่ดีพอ ตั้งแต่เรื่องอาหารการกินที่เราอาจจะทานอาหารไม่สมดุลกันทั้ง 5 หมู่ จนทำให้น้ำหนักมากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ทานโซเดียม หรือรสเค็มมากเกินไป รวมไปถึงขาดการออกกำลังกาย พักผ่อนไม่เพียงพอ สะสมความเครียดมากเกินไป และการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอลล์

\>> 6 วิธีเลี่ยง "ความดันโลหิตสูง"

\>> 10 สิ่งควรรู้เกี่ยวกับ “ความดันโลหิตสูง” สาเหตุโรคหัวใจ-ไต-หลอดเลือดสมอง

\>> 5 ประเด็นที่ยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับ “ความดันโลหิตสูง”

เมื่อไรถึงเรียกว่า ความดันโลหิตสูง?

ความดันโลหิตมี 2 จำนวน คือ ค่าบน เป็นความดันช่วงหัวใจบีบ และค่าล่าง เป็นความดันช่วงหัวใจคลายตัว ค่าความดันโลหิตที่เหมาะสม คือ ค่าบนไม่เกิน 120 และค่าล่างไม่เกิน 80 หากคุณมีความดันอยู่ที่ 130/80 ขึ้นไป แสดงว่าอยู่ในเกณฑ์ความดันโลหิตสูงเรียบร้อยแล้ว

ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ควรลดความดันโลหิตให้น้อยกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท และให้ต่ำกว่านี้อีกหากเป็นโรคเบาหวานหรือมีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น อัมพาต อัมพฤกษ์ โรคหัวใจขาดเลือด เป้าหมายการลดความดันควรน้อยกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอท

เมื่อถึงเวลาที่ต้องรักษาโรคความดันโลหิตสูง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการรับยาที่เหมาะสมเพื่อช่วยปรับระดับความดันโลหิตให้เป็นปกติ จึงเป็นเรื่องที่แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาให้กับเรา เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น เป็นเบาหวาน แต่หากเราทราบข้อมูลเอาไว้ว่ายาลดความดันโลหิตมีหลายประเภท และประเภทใดออกฤทธิ์อย่างไร มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง ก็จะเป็นประโยชน์ต่อตัวผู้ป่วยเองมากยิ่งขึ้น Sanook! Health จึงมีข้อมูลของกลุ่มยารักษาโรคความดันโลหิตสูง จาก เภสัชกรอุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล มาฝากกัน

7 กลุ่มยารักษาโรค “ความดันโลหิตสูง”

  1. กลุ่มยาขับปัสสาวะ

ได้แก่ ยาไฮโดรคลอโรธัยอาไซด์ (hydrochlorothiazide) ยาฟูโรซีมายด์ (furosemide) ยาอะมิโลรายด์ (amiloride) เป็นต้น ยาจะออกฤทธิ์โดยการขับเกลือออกจากร่างกาย ทำให้ปัสสาวะบ่อย

ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้คือ อาจจะทำให้ร่างกายขาดน้ำ ระดับโปแตสเซียมในเลือดผิดปกติ ระดับไขมันในเลือดสูง

  1. กลุ่มยาปิดกั้นการไหลของแคลเซียมเข้าสู่เซลล์

ได้แก่ ยาไนเฟดิปีน (nifedipine) ยาแอมโลดิปีน (amlodipine) เป็นต้น จากการปิดกั้นการไหลของแคลเซียมเข้าสู่เซลล์นี้เอง จะเป็นผลให้กล้ามเนื้อที่หลอดเลือดคลายตัวและนำไปสู่การขยายตัวของหลอดเลือด ทำให้ความดันโลหิตลดลงตามมา

ยากลุ่มนี้มีผลข้างเคียงได้แก่ ใจสั่น ปวดศีรษะ ข้อเท้าบวม ท้องผูก

  1. กลุ่มยายับยั้งการสร้างแอนจิโอแทนซิน

เรียกย่อๆ ว่ากลุ่มยาเอซีอีไอ (ACEI) ซึ่งย่อมาจาก angiotensin converting enzyme ได้แก่ ยาอินาลาพริล (enalapril) ยาแคปโตพริล (captopril) ยาไลสิโนพริล (lisinopril) เป็นต้น ยาจะออกฤทธิ์โดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่สร้างแอนจิโอแทนซิน (angiotensin) ซึ่งมีผลทำให้หลอดเลือดหดตัว ดังนั้นเมื่อไม่มีแอนจิโอแทนซิน การหดตัวของหลอดเลือดจึงเกิดน้อยลง ทำให้ความดันโลหิตลดลงได้

ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้ได้แก่ ไอแห้งๆ เกิดภาวะโปแตสเซียมในเลือดสูง

  1. กลุ่มยาขัดขวางการจับตัวรับแอนจิโอแทนซิน

เรียกย่อๆ ว่ากลุ่มยาเออาบี (

ARB) ซึ่งย่อมาจาก angiotensin receptor blocker ได้แก่ ยาลอซาร์แทน (losartan) ยาเออบิซาร์แทน (irbesartan) ยาวาลซาร์แทน (valsartan) ยาแคนดิซาร์แทน (candesartan) เป็นต้น ผลของการขัดขวางไม่ให้แอนจิโอแทนซินจับกับตัวรับนี้จะทำให้หลอดเลือดขยายตัว ความดันโลหิตจึงลดลง

ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้ได้แก่ เกิดภาวะโปแตสเซียมในเลือดสูง

\>> อย.ประกาศเรียกคืน "ยาวาลซาร์แทน" หลังพบสารก่อมะเร็ง

  1. กลุ่มยาปิดกั้นเบต้า

ได้แก่ ยาอะทีโนลอล (atenolol) ยาโปรปราโนลอล (propranolol) ยาเมโตโปรลอล (metoprolol) เป็นต้น ยาจะปิดกั้นระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้หัวใจเต้นช้าลง ชีพจรช้าลง แล้วเกิดความดันโลหิตลดลงตามมา

ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้ ที่พบบ่อยได้แก่ อาการอ่อนเพลียซึ่งมักเกิดขึ้นในช่วงแรกที่รับประทานยาแต่อาการจะลดลงเมื่อรับประทานยาอย่างต่อเนื่องประมาณ 1-2 สัปดาห์ อาการข้างเคียงอื่นๆ ที่อาจพบได้คือ อาการซึมเศร้า ฝันร้าย เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

ยากลุ่มนี้ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด หรือ เป็นโรคถุงลมโป่งพอง เพราะอาจทำให้อาการของโรคปอดดังกล่าวกำเริบได้ง่ายขึ้น

  1. กลุ่มยาปิดกั้นแอลฟ่า

ได้แก่ ยาปราโซสิน (prazosin) ยาด๊อกซาโสซิน (doxasozin) เป็นต้น ยากลุ่มนี้จะปิดกั้นระบบประสาทอัตโนมัติที่กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดขยายตัว และเป็นผลให้ความดันโลหิตลดลง

ผลข้างเคียงที่พบบ่อยของยากลุ่มนี้คือ ความดันต่ำเวลาเปลี่ยนท่าซึ่งอาจทำให้เกิดอาการหน้ามืดได้ ดังนั้นผู้ป่วยที่ใช้ยานี้ควรระมัดระวังการเปลี่ยนอิริยาบถอย่างทันทีทันใดเช่น หากต้องการลุกขึ้นยืนเมื่ออยู่ในท่านอนมานานๆ ควรเปลี่ยนเป็นท่านั่งก่อน แทนที่จะลุกขึ้นยืนจากท่านอนทันที

อาการข้างเคียงอื่นๆ ที่อาจพบได้แก่ ปวดศีรษะ ใจสั่น อ่อนแรง

  1. กลุ่มยาขยายเส้นเลือดแดง

ได้แก่ ยาไฮดราลาซีน (hydralazine) ยาไมนอกซีดิล (minoxidil) เป็นต้น ยามีฤทธิ์ขยายเส้นเลือดโดยตรง ทำให้ความดันโลหิตลดลง

ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้ ได้แก่ หน้าแดง ใจสั่น ปวดหัว เป็นต้น

เลือกทานยารักษาโรคความดันโลหิตสูงอย่างไร?

โดยทั่วไปแพทย์จะให้ยาลดความดันโลหิตเพียงขนานเดียวก่อน หากยังไม่สามารถลดความดันโลหิตได้จึงจะให้ยาหลายขนานร่วมกัน แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่ายาใดเหมาะสม โดยมักจะเลือกให้ยาที่มีผลในการลดความดันโลหิตตลอด 24 ชั่วโมง ให้รับประทานเพียงวันละครั้ง เพื่อความสะดวก และสามารถควบคุมความดันโลหิตไม่ให้แกว่งมากในระหว่างวัน

โรคความดันโลหิตสูง มีโอกาสหายเป็นปกติหรือไม่?

หากคุณเป็นผู้หนึ่งที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง และได้รับการรักษาด้วยยาลดความดันโลหิต คุณควรที่จะใช้ยาอย่างสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง ไม่ขาดยา ไม่ลดขนาดยาหรือเพิ่มขนาดยาเอง และต้องไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง แพทย์อาจให้คุณรับประทานยาเดิมหรือปรับขนาดยาให้ใหม่ ซึ่งเภสัชกรจะจัดยาให้คุณและแนะนำการใช้ยาที่ถูกต้องให้ หากมียาเก่าเหลือ คุณควรพกยาติดตัวไปด้วย เพื่อที่เภสัชกรจะได้เก็บยาที่แพทย์สั่งเลิกใช้ออกไป หรือเปลี่ยนฉลากยาให้ใหม่ในกรณีที่แพทย์เปลี่ยนขนาดยา นอกจากนี้คุณไม่ควรใช้ยาลดความดันโลหิตสูงของผู้อื่น เนื่องจากสภาพร่างกายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เช่น อาจมีภาวะการทำงานของไตบกพร่อง หรือมีภาวะโรคอื่นหรือยาอื่นที่ใช้ร่วมด้วย เป็นต้น

ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง ไม่ใช่ทางออกสุดท้าย

การใช้ยาให้น้อยที่สุด น่าจะเป็นผลดีต่อร่างกายที่สุด ดังนั้นผู้ที่มีความดันโลหิตสูงควรพยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อช่วยให้ความดันโลหิตลดต่ำลงเป็นอันดับแรก ด้วยการงดสูบบุหรี่ การลดน้ำหนัก ลดการดื่มแอกอฮอล์ ลดการรับประทานเกลือ (ควรได้รับโซเดียมคลอไรด์น้อยกว่า 6 กรัม/วัน) รับประทาน DASH diet (Dietary Approach to Stop Hypertension) คือ เพิ่มอาหารประเภทผัก ผลไม้ และลดไขมันอิ่มตัวและลดปริมาณไขมัน ร่วมกับออกกำลังกายวันละ 30-45 นาที อย่างสม่ำเสมอ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้