กำไรท แบ งให ส วนได เส ยไม ม อำนาจควบค ม

เลขที่หนังสือ: กค 0702/3142 วันที่: 10 มิถุนายน 2551 เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการคำนวณเครดิตภาษีจากเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไร ข้อกฎหมาย: มาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรข้อหารือ ห้างฯ นำกำไรสะสมมาแบ่งให้ผู้ถือหุ้นจำนวน 2 คน เป็นจำนวนคนละ 1,000,000 บาท นำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย จากการจ่ายเงินดังกล่าวตามแบบ ภ.ง.ด.2 โดยออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้นาย ส. แสดง จำนวนเงินที่จ่าย 1,000,000 บาท ภาษีที่หักและนำส่งไว้จำนวน 100,000 บาท แสดงรายละเอียดว่าเงินส่วนแบ่งกำไร ดังกล่าวจ่ายจากกิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ แต่ข้อเท็จจริงจากการตรวจสอบ รายละเอียดงบกำไรขาดทุนที่ยื่นไว้ตามแบบ ภ.ง.ด.50 ห้างฯ ได้ชำระภาษีไว้ในอัตราร้อยละ 30 เพียงอัตราเดียว จึงขอทราบว่า การคำนวณเครดิตภาษีเงินปันผลหรือส่วนแบ่งกำไรจะคำนวณในอัตราที่ลดให้ตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 431) พ.ศ. 2548 หรือคำนวณให้ตามอัตรา ภาษีที่จ่ายไว้จริง (อัตราร้อยละ 30)แนววินิจฉัย กรณีห้างฯ นำรายได้จากการประกอบกิจการมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิเพียงอัตราเดียว โดยมิได้ใช้สิทธิการลดอัตราภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 431) พ.ศ. 2548 เมื่อห้างฯ จ่ายเงินส่วนแบ่งกำไรให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา และห้างฯ ทราบโดยชัดแจ้งว่าจ่ายจากเงินกำไร หลังจากเสียภาษีในอัตราใด ห้างฯ จะต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้ชัดเจนว่า เงินส่วนแบ่งกำไร ที่จ่ายนั้นจำนวนใดได้มาจากกิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตราใด และให้ถือตามอัตราที่ระบุในหนังสือรับรองการหัก ภาษี ณ จ่าย เพื่อให้ผู้รับส่วนแบ่งกำไรมีสิทธิเครดิตภาษีที่คำนวณได้มีจำนวนไม่เกินกว่าที่ผู้รับพึงได้รับ และหากห้างฯ แสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายไม่ถูกต้อง อันเป็นเหตุให้เครดิตภาษีที่คำนวณ ได้มีจำนวนเกินกว่าที่หุ้นส่วนผู้มีเงินได้พึงได้รับ ห้างฯ ต้องรับผิดร่วมกับหุ้นส่วนผู้มีเงินได้เท่ากับจำนวนเงินที่ได้รับคืนเกิน ไปหรือที่ชำระไว้ไม่ครบ ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ตามข้อ 13 และ 18 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 119/2545ฯ ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545เลขตู้: 71/35929

ปัจจัยไมเคิล แจ๊กสัน (ตอนจบ)

เผยแพร่: 30 มิ.ย. 2552 23:22 โดย: ชาน อัคยา

(จากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)

The Jackson factor By Chan Akya

29/06/2009

เมื่อนักลงทุนของโลกมองช่วงชีวิตปีท้ายๆ ของไมเคิล แจ๊กสัน ซึ่งเต็มไปด้วยโศกนาฏกรรมแห่งหนี้สินและการหล่อเลี้ยงชีวิตด้วยยาประเภทต่างๆ นักลงทุนจะเห็นความละม้ายกันนี้ในสภาพการณ์ที่ดำเนินอยู่ในตลาดหุ้นทั้งหลาย ในการนี้ กองทุนเพื่อกระตุ้นระบบเศรษฐกิจได้รับอัดฉีดจากเงินจากการก่อหนี้ภาครัฐ ล้วนแต่รั่วไหลเข้าไปสู่ตลาดหุ้น ขณะที่ยาต้านอาการซึมเศร้าก็อาจจะเชียร์ให้ผู้คนหลงลืมปัจจัยความเสี่ยงด้านมูลค่าแท้จริงของสินทรัพย์ ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่นับวันแต่จะทวีความรุนแรงมากขึ้น

*ข้อเขียนนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*

(ต่อจากตอนแรก)

**คำถามกวนใจ “ทำไม” **

หากว่าผู้อ่านสามารถคาดเดาได้ว่าส่วนที่จะเขียนต่อไปนี้จะให้คำตอบแก่คำถามว่า “อะไรคือแหล่งของเงิน” ผู้อ่านจะต้องเจอกับคำถามกวนใจมากยิ่งขึ้นไปอีกว่า “ทำไม” กล่าวก็คือ ทำไมนักลงทุนถึงไปยอมเล่นเกมนี้ ยอมแบกความเสี่ยงที่รุนแรงมากขึ้นภายในตลาดหุ้นที่มีสัดส่วนราคาต่อรายได้ (ค่าพีอี) ที่สูงขึ้นมาก แถมทบทวีด้วยความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจมหาศาลกว่าที่เคยเป็นมา แล้วก็ผนวกด้วยข่าวร้ายนานาประการที่หลั่งไหลเข้าตลาดไม่หยุดหย่อน

คำตอบในเรื่องดังกล่าวอาจเป็นอะไรที่นักวิเคราะห์ตลาดหุ้นแทบจะไม่ได้นึกไปถึง ซึ่งก็ได้แก่ การแกว่งตัวในอารมณ์ของนักลงทุนส่วนใหญ่ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ยาพิเศษบางตัว อย่างเช่น ยาต้านความซึมเศร้า กำลังมีบทบาทอะไรบางอย่างอยู่ในการสร้างกระแสในตลาดหุ้นขณะนี้ มันเป็นไปได้หรือไม่ว่าการบริโภคยาต้านความซึมเศร้าได้ผลักดันให้นักลงทุนฮึกเหิมพอจะเข้าไปแบกความเสี่ยงที่ทวีตัวสูงขึ้นภายในตลาดหุ้น

ในประการแรกเลย เมื่อหลายปีก่อน เคยมีวารสารการแพทย์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับสูงมากฉบับหนึ่งเสนอประเด็นแบบที่ผมเขียนไว้ข้างต้น เพียงแต่อธิบายไปในเรื่องของภาวะฟองสบู่ สำหรับตรงนี้ผมขอคัดเอาข้อเขียนของไมเคิล เลวิส ที่เขียนใน Slate ฉบับลงวันที่ 13 สิงหาคม 2002 ว่า: เมื่อผู้คนพูดกันถึงอารมณ์ในตลาดการเงิน พวกเขามักจะทึกทักเอาว่าตลาดเป็นตัวขับเคลื่อนอารมณ์นั้น แต่แน่นอนว่ามันไม่ได้เป็นอย่างนั้นเลยแม้แต่น้อย เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา มีงานเขียนชิ้นหนึ่งในวารสารการแพทย์ของมหาวิทยาลัยมิชิแกนเสนอว่า สาเหตุที่ภาวะฟองสบู่ในราคาหุ้นอินเทอร์เน็ตเฟื่องไปได้สูงไปได้ไกลอย่างน่าอนาถใจนั้นเป็นเพราะ นักลงทุนจำนวนมหาศาลมากๆ กินยาหลายตัวที่ได้รับความนิยมสูงอยู่ในช่วงนั้น อันเป็นยาที่ลดความเครียดแต่มีผลในทางที่ลดความสามารถในการประเมินความผิดชอบชั่วดีและความยับยั้งชั่งใจไปด้วย ในการนี้ เมื่อประชากรในแวดวงการลงทุนในตลาดหุ้นกว่าหนึ่งในสามใช้ยาโปรแซค (Prozac) หรือยาตัวอื่นๆ ในประเภทที่ช่วยให้อารมณ์คลี่คลายดีขึ้น (วารสารจึงลงความเห็นว่า) ด้วยเหตุนี้จึงไม่น่าประหลาดใจที่คนมากมายเชื่อว่าตลาดจะมีแต่ดีขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่จบสิ้น

ในช่วงที่เขาเขียนบทความดังกล่าว ยอดขายยาต่อต้านความซึมเศร้าและยารักษาทางจิตในลักษณะทำนองนี้ ได้พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ภายในสหรัฐฯ และมีหลักฐานที่ชี้ว่าการที่ยอดขายยาดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจเป็นตัวเพาะหว่านต้นตอของวิกฤตการเงินในปี 2005-2006 รวมทั้งในช่วงต่อๆ มาทั้งปวง ข้อเขียนข้างล่างนี้เป็นส่วนที่คัดมาจากงานเขียนชิ้นเยี่ยมใน How Stuff Works ซึ่งจั่วหัวว่า “ทำไมยาต่อต้านความซึมเศร้าเป็นยาที่มีการซื้อขายตามใบสั่งจ่ายยาของแพทย์มากที่สุดในสหรัฐฯ” ดังนี้

ในปี 2007 ศูนย์เพื่อการควบคุมและป้องกันโรคได้ออกคำแถลงที่น่าสนใจมาก โดยบอกว่ายาต้านความซึมเศร้าเป็นยาที่มีการซื้อขายตามใบสั่งจ่ายยาของแพทย์มากที่สุด เกินหน้ายาขายดีอันดับสอง(ยารักษาความดันโลหิตสูง) ไปร่วมๆ 5 ล้านใบสั่งยาแพทย์ทีเดียว การศึกษาเผยว่าแพทย์ออกใบสั่งยาที่เกี่ยวกับการต่อต้านความซึมเศร้ารวมๆ กันมหาศาลถึง 118 ล้านใบสั่งจ่ายยาแพทย์ภายในปี 2005 (จากใบสั่งจ่ายยาแพทย์ทั้งสิ้น 2,400 ล้านใบ) ... ยาต่อต้านความซึมเศร้ามีพลังในการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ของคนเรา และมันทำได้อย่างนั้นโดยการออกฤทธิ์กับส่วนที่เรียกว่า serotonin และ norepinephrine ในสมอง ทั้งนี้ serotonin และ norepinephrine เป็นสารที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณระหว่างเส้นประสาท ซึ่งเดินทางผ่านเซลประสาทภายในสมอง นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบมากนักว่าสาร serotonin และ norepinephrine ที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณระหว่างเส้นประสาทนี้ทำงานส่งผลกับอารมณ์ของคนอย่างไร กระนั้นก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ทราบดีว่าเมื่อยาต้านความซึมเศร้าเปลี่ยนวิธีเดินทางของสาร serotonin และ norepinephrine มันจะช่วยสร้างเสถียรภาพให้แก่อารมณ์ของผู้ที่รับยาเข้าไป ... ดังนั้น อะไรกันแน่ที่อยู่เบื้องหลังการที่ใบสั่งจ่ายยาต่อต้านความซึมเศร้า ทวีปริมาณขึ้นมาอย่างมหาศาล หนึ่งในเหตุผลมีอยู่ว่าแม้ชื่อยาจะบ่งบอกการใช้งานอย่างชัดเจน แต่ในทางเป็นจริง ยาต้านความซึมเศร้ามิได้ถูกแพทย์สั่งจ่ายเพียงเพื่อรักษาโรคซึมเศร้าเสียแล้ว หากแพทย์ได้ใช้ยานี้รักษาอาการปวดเรื้อรัง อาการกังวล อาการผิดปกติทางอารมณ์ หวาดวิตก หมกมุ่น เคร่งเครียดกดดัน อีกทั้งกระทั่งอาการผิดปกติในการรับประทานอาหาร ... คุณไม่อาจจะกล่าวถึงเหตุผลเบื้องหลังการที่ยาต้านความซึมเศร้ากลายความเป็นยายอดนิยมได้ โดยไม่กล่าวถึงธุรกิจของยาประเภทนี้

ในปี 2004 บริษัทยาต้านความซึมเศร้าซึ่งเป็นบริษัทชื่อเสียงโด่งดังหลายรายทำรายได้ขึ้นมาได้มากกว่า 14,000 ล้านดอลลาร์ ... ยอดขายระดับนี้หมายถึงขนาดของธุรกิจที่ใหญ่โตโอฬารอย่างยิ่ง นอกจากนั้น การทำโฆษณาแบบขายตรงถึงผู้บริโภค เช่น โฆษณาบนทีวี มีส่วนช่วยโหมกระแสยานี้ได้มากมาย ผลการศึกษาชี้ว่าโฆษณาจำพวกนี้มีส่วนอย่างยิ่งในการสนับสนุนให้ใบสั่งจ่ายยาต้านความซึมเศร้ามีอัตราขยายตัวพุ่งขึ้นได้อย่างกระฉูด ... เมื่อผู้ป่วยเห็นโฆษณายาต้านความซึมเศร้า อาทิ Zoloft ก็คิดว่ายาน่าจะช่วยตนได้ ผู้ป่วยจะไปหาแพทย์และขอยาตัวนี้ ขณะเดียวกัน แพทย์ก็มักที่จะจ่ายยาต้านความซึมเศร้าให้เมื่อผู้ป่วยร้องขอมาอย่างเจาะจง ... บางคนเชื่อว่าแพทย์จำนวนมากมักจะอยากวินิจฉัยอาการของผู้ป่วยด้วยโรคซึมเศร้า

ตามหลักเกณฑ์การวินิจฉัยความผิดปกติทางจิตซึ่งจัดทำโดยสมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกา ฉบับปรับปรุงฉบับที่ 4 ที่เรียกกันว่า Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (DSM-IV) อาการของโรคซึมเศร้า ได้แก่ อารมณ์หดหู่ซึมเศร้า มีความใฝ่ใจที่จะมีความสุขกับชีวิตน้อยลง มีความเปลี่ยนแปลงด้านความอยากอาหาร และการนอน มีบุคลิกอยู่นิ่งไม่ได้ หมดแรง รู้สึกไร้ค่า รู้สึกผิด ไม่สามารถทำอะไรอย่างมีสมาธิได้ คิดอยากฆ่าตัวตาย ... แม้จะใช้เกณฑ์วัดอย่างนี้ทุกรายการ แต่การแยกความแตกต่างระหว่างซึมเศร้ารุนแรงกับอารมณ์ธรรมชาติช่วงจิตตก ยังนับว่าคลุมเครือ ศาสตราจารย์กอร์ดอน ปาร์กเกอร์ คิดว่าแพทย์มักที่จะตีความอาการเศร้าทั่วไปเป็นอาการซีมเศร้าด้วยความป่วยไข้อย่างง่ายดายเกินไป .. ในการศึกษาแบบโปรแกรมยาว ศ.ปาร์กเกอร์พบว่าผู้คนทั่วไปในสังคมล้วนสามารถที่จะถูกวินิจฉัยว่าป่วยด้วยโรคซึมเศร้าหากใช้เกณฑ์วัดที่แพทย์มากมายใช้กันอยู่ในปัจจุบัน กล่าวในอีกนัยหนึ่งได้ว่า ศ.ปาร์กเกอร์กำลังบอกว่าเกณฑ์วัดความป่วยไข้เป็นโรคซึมเศร้าที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ ออกจะหละหลวมเกินไป

เมื่อมีข้อมูลให้เห็นอย่างนี้แล้ว เราควรตรวจสอบแนวโน้มยอดขายแท้จริงของยาต้านความซึมเศร้าในสหรัฐฯ (และในตลาดคล้ายๆ กัน อย่างเช่นในอังกฤษ) ทั้งนี้ เราไม่มีตัวเลขยอดขายในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ แต่ตัวเลขก่อนหน้านี้ก็นับว่ามีพลังการอธิบายเหลือเฟือ ดังนี้

... ในสหรัฐฯ มีใบสั่งยาที่แพทย์จ่ายออกมาเพื่อซื้อยาต้านโรคซึมเศร้าจำนวนทั้งสิ้น 164.2 ล้านใบในปี 2008 เพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับปริมาณ 143 ล้านใบในปี 2004 ทั้งนี้เป็นข้อมูลของบริษัท IMS Health ซึ่งเป็นบริษัทข้อมูลด้านการรักษาพยาบาล (หมายเหตุ – ตัวเลขเหล่านี้ไม่สอดคล้องกับข้อมูลอ้างอิงก่อนหน้านี้ คาดว่าเป็นเพราะการจำแนกประเภทยา และการเพิ่มจำนวนของตัวยาแบบนี้ที่ไม่ได้ใช้ชื่อตามลักษณะยาในการรักษาโรคซึมเศร้า และมีอีกบทความหนึ่งที่เอ่ยถึงตัวเลขใบสั่งยาต่อต้านโรคซึมเศร้าจำนวนถึง 200 ล้านใบ และระบุยอดขายในปี 2008 ว่าเพิ่มขึ้น 15% จากมูลค่าการขายของปีก่อนหน้า – โดย ชาน อัคยา)

... ยังมีตัวเลขที่แย้งกันอื่นๆ อีกคือ ยาต่อต้านอาการโรคจิตเภท ซึ่งทำยอดขายได้ 14,600 ล้านดอลลาร์ในปี 2008 เป็นยาขายดีอันดับ 1 ของสหรัฐฯ ส่วนยาต่อต้านความซีมเศร้ามียอดขายที่ 9,600 ล้านดอลลาร์ ตามข้อมูลของ IMS Health ซึ่งปรากฏใน USA Today ฉบับวันที่ 3 มิถุนายน 2009

สำหรับในอังกฤษ เดอะ การ์เดียนรายงานไว้ในฉบับวันที่ 21 มิถุนายน 2009 ดังนี้ ... ปีที่แล้ว (2008) ในอังกฤษมีใบสั่งจ่ายยาต้านความซึมเศร้าเพิ่มขึ้นจากเมื่อปี 2007 มากถึง 2.1 ล้านใบ ซึ่งนำไปสู่ความวิตกกังวลของฝ่ายต่างๆ ว่าแพทย์มีแนวโน้มสูงมากขึ้นเรื่อยๆ ที่จะจ่ายยาเหล่านี้ในลักษณะของการรักษาแบบหายด่วน โดยไม่พยายามจะดูไปถึงสาเหตุพื้นฐานของปัญหา โดยรวมแล้ว มีการออกใบสั่งจ่ายยาต้านความซึมเศร้าทั้งสิ้น 36 ล้านใบ ซึ่งเป็นอัตราขยายถึง 24% จากเมื่อช่วง 5 ปีที่แล้ว

เมื่อย้อนกลับไปยังคำถามตั้งต้น มันกระจ่างชัดว่า คำถามว่าด้วย “ทำไม” อาจมีประเด็นเกี่ยวข้องกับยาเปลี่ยนอารมณ์มากทีเดียว เรามาว่ากันอย่างคร่าวๆ อย่างนี้ดีกว่า ถ้ามีคนสักกลุ่มหนึ่งที่สูญเสียเงินออมทั้งชีวิตไปกับการล่มสลายของตลาดที่อยู่อาศัยที่ทำให้ราคาบ้านหายวาบไปเกือบหมด หรือเงินออมก้อนนั้นละลายไปกับการพังพาบของแผนเงินบำนาญเลี้ยงชีพ (ก่อนหน้านี้เรียกกันว่า 401Ks มาบัดนี้รู้จักกันในนามว่า 104Ks) พอพวกเขารับยาต่อต้านความซึมเศร้าไปมากๆ เราคงพอมองออกว่ามันจะไปกระตุ้นให้พวกเขาอยากลองเสี่ยงโหดๆ ได้อีกครั้งแล้วครั้งเล่าได้อย่างไร ซึ่งมันก็คือปรากฏการณ์ที่เราเห็นกันอยู่ในตลาดทุกวันนี้

มันก็คล้ายกับความเสี่ยงที่จะไปยุ่งกับพวกนักสู้ข้างถนนที่มีจิตสับสนไปด้วยฤทธิ์ยา แนวทางที่ง่ายๆ สำหรับนักลงทุนคือการอยู่ให้ไกลจากเรื่องเดือดร้อน

แล้วเรื่องนี้เกี่ยวอะไรกับไมเคิล แจ๊กสันเล่า

ถ้านึกถึงประโยคพาดหัวบทความนี้ที่อ้างถึงชื่อของไมเคิล แจ๊กสัน คำถามดังกล่าวนี้คงเกิดขึ้นกับผู้อ่านมากมาย อาทิ ในประเด็นว่ามันมีความเชื่อมโยงอันใดระหว่างตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปัจจุบัน กับมรณกรรมของหนึ่งในดาวดวงเด่นที่ได้รับความยกย่องมากที่สุดตลอดกาล

บุรุษซึ่งมีภาพของจอมอัจฉริยะผู้เปี่ยมด้วยข้อบกพร่อง ถูกรายงานถึงบั้นปลายชีวิตว่าสร้างหนี้สินไว้หลายเท่ากว่ามูลค่าทรัพย์ที่เขามีอยู่อย่างมหาศาล ในการนี้ วิถีแห่งหนี้ของเขาอาจสะท้อนไปถึงลักษณะของอเมริกาโดยองค์รวม ซึ่งเป็นมูลหนี้ที่ถูกก่อขึ้นมาภายในช่วงเวลาแค่ 20 ปีนับจากที่กำแพงเบอร์ลินถูกทุบทำลายไป

สำหรับส่วนที่สองของบทความนี้ กล่าวคือการพุ่งทะยานของยอดขายยาที่ขายให้แก่คนอเมริกัน ก็มีส่วนที่อาจโยงไปถึงสาเหตุหลักแห่งความตายของไมเคิล แจ๊กสันได้ ทั้งนี้ สืบเนื่องจากไมเคิล แจ๊กสันต้องการฟื้นสภาพร่างกายให้พร้อมแก่การออกแสดงที่ลอนดอนในเดือนกรกฎาคม ไมเคิล แจ๊กสันถูกระบุว่าโหมยาปรุงสูตรผสมสารพัดขนานเข้าสู่ร่างกาย เพื่อฟื้นสภาพให้เขาได้อย่างรวดเร็วและอย่างดีที่สุด แต่ในบั้นปลายท้ายสุด นั่นอาจส่งผลเป็นภาวะหัวใจล้มเหลวถึงแก่ความตาย

เมื่อมองดูตลาดหุ้นสหรัฐฯ และตลาดหุ้นทั่วโลกในทุกวันนี้ ผมค่อนข้างหวั่นว่ายาปรุงสูตรผสมและภาวะหนี้ท่วมตัวที่หล่อเลี้ยงอเมริกาอยู่นั้น ได้ถูกพรางไปจากสายตาของผู้คน ละม้ายกับเจ้าหมีมูนว็อกกิ้งที่กล่าวไว้เมื่อข้างต้น และละม้ายกับยาปรุงสูตรผสมที่ช่วยจบชีวิตของหนึ่งในอัจฉริยะด้านดนตรีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคสมัยของพวกเรา อาจมีบางสิ่งที่มืดมิดและน่าชังรอเล่นงานนักลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลกอยู่ที่หัวมุมข้างหน้า หรืออาจจะอีกหนึ่งหัวมุมถัดไปก็เป็นได้ ระวังตัวให้ดีเถิด

คำเตือนเพื่อสุขภาพ: ผมอยู่ตรงนี้ทำหน้าที่คอยหมั่นเตือนท่านผู้อ่านตามปกติของผม ขอเตือนท่านไม่ให้รับเอาคำพูดของนักเขียนที่แฝงตัวเบื้องหลังนามปากกา เฉกเช่นผม ไปเชื่อตามในยามที่ท่านต้องกำหนดทิศทางการตลาดหรือเลือกการลงทุนของท่าน ทั้งนี้ ท่านต้องหารือกับผู้เชี่ยวชาญที่เหมาะสม และถ้าสถานที่ที่ท่านอยู่นั้นไม่อาจพบเจอผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวได้ (ประมาณว่าทั่วทั้งสหรัฐฯ และยุโรปในปัจจุบัน) โปรดจงใช้สามัญสำนึกของท่านเอง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้