การ ทำ ส ญญา ย ม เง น โดยเซ นแทนคนก

สมเด็จพระราชาธิบดีชาร์ลส์ที่ 3 และสมเด็จพระราชินีคามิลลา ซึ่งปัจจุบันราชินีพระองค์ใหม่ไม่ทรงมีสตรีชั้นสูงเป็นนางสนองพระโอษฐ์ตามธรรมเนียม

31 ธันวาคม 2023

ในรอบปีที่ผ่านมา มีเหตุการณ์สำคัญมากมายที่สะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวครั้งยิ่งใหญ่ของสถาบันกษัตริย์และราชวงศ์ต่าง ๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นการผลัดแผ่นดินหลังสิ้นสุดรัชสมัยที่ยาวนานของ “ควีน” แห่งสหราชอาณาจักร ไปจนถึงการหวนคืนประเทศบ้านเกิดของเชื้อสายพระราชวงศ์ไทยในต่างแดน ซึ่งบีบีซีไทยได้รวบรวมมาให้อ่านกันอย่างจุใจดังต่อไปนี้

สมเด็จพระราชาธิบดีชาร์ลส์ที่ 3 ขี้นครองราชย์

หลังการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งปิดฉากรัชสมัยอันยาวนานถึง 70 ปีของ “ควีน” ลงในที่สุด สมเด็จพระราชาธิบดีชาร์ลส์ที่ 3 ได้เสด็จขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระราชมารดา ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอย่างเป็นทางการ ณ มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ใจกลางกรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2566

บัดนี้นับเป็นเวลากว่าหนึ่งปีแล้ว ที่กษัตริย์พระองค์ใหม่ต้องทรงเข้ารับหน้าที่ประมุขของสหราชอาณาจักรและประเทศเครือจักรภพ ซึ่งเป็นพระราชภารกิจที่เริ่มต้นขึ้นทันทีหลังการจากไปของพระราชมารดา ทำให้ในตอนแรกหลายฝ่ายมองว่า มีความเสี่ยงที่กษัตริย์พระองค์ใหม่จะทรงปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์เทียบเท่า “ควีน” พระองค์ก่อน และอาจทรงริเริ่มสร้างความเปลี่ยนแปลงแบบพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน ที่ทำให้ราชบัลลังก์ต้องสั่นคลอนได้

อย่างไรก็ตาม หนึ่งปีหลังการขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระราชาธิบดีชาร์ลส์ที่ 3 กษัตริย์พระองค์ใหม่ได้ทรงแสดงให้โลกเห็นว่า ทรงปรีชาสามารถในด้านบริหารจัดการความสัมพันธ์กับมวลชน และทรงมีความระมัดระวังรอบคอบในขนบธรรมเนียมประเพณีของราชวงศ์ยิ่งกว่าที่หลายคนเคยคิดกันไว้

ศาสตราจารย์ พอลีน แม็กคลาแรน นักประวัติศาสตร์และผู้วิจารณ์ข่าวราชวงศ์ จากวิทยาลัยรอยัลฮอลโลเวย์ซึ่งเป็นสถาบันในเครือของมหาวิทยาลัยลอนดอน บอกกับบีบีซีว่า ในปีแรกของการขึ้นครองราชย์ “คิงชาร์ลส์” ทรงมีภาพลักษณ์ที่เหมาะสมต่อการเป็นผู้สืบทอดจริยวัตรอันดีงามของพระมารดา รวมทั้งทรงประสบความสำเร็จในการรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์อังกฤษในช่วงเปลี่ยนผ่านเอาไว้ ทำให้พสกนิกรส่วนใหญ่ยอมรับนับถือพระองค์ในฐานะประมุขของชาติได้ในเวลาอันรวดเร็ว

ผู้เชี่ยวชาญหลายคนประเมินว่า ทรงรักษาสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี โดยในปีแรกของการครองราชย์นี้ ทรงหนักแน่นในการสืบทอดวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมของสถาบันกษัตริย์อังกฤษ เช่นการละเว้นไม่เข้าไปเกี่ยวข้องแทรกแซงกับประเด็นทางการเมือง แต่ก็ทรงริเริ่มสร้างความเปลี่ยนแปลง “แบบเบา ๆ” ไปด้วยเล็กน้อย เพื่อเตรียมปูพื้นฐานให้สถาบันกษัตริย์ปรับตัวเข้ากันได้กับโลกสมัยใหม่

ความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ได้แก่การประกาศลดจำนวนพระราชวงศ์ที่ทรงงานอย่างเป็นทางการลง เพื่อให้รัฐบาลไม่ต้องถวายเงินสนับสนุนก้อนโตโดยไม่จำเป็น รวมทั้งโครงการในพระราชดำริที่ทรงบริจาคเงินซื้อตู้แช่แข็งขนาดใหญ่เกือบพันเครื่อง เพื่อลดปริมาณอาหารเหลือทิ้งจากซุปเปอร์มาร์เก็ต และให้องค์กรการกุศลนำอาหารดังกล่าวไปช่วยเหลือผู้ขาดแคลนและคนไร้บ้าน ซึ่งแสดงถึงความห่วงใยของสถาบันกษัตริย์ต่อประชาชนที่กำลังเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจ

หลายฝ่ายคาดว่า มีแนวโน้มที่เราจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงมากขึ้นอีกในอนาคตอันใกล้นี้ โดยพระราชดำรัสของ “คิงชาร์ลส์” ในการประชุม COP28 ที่เพิ่งสิ้นสุดลงไปไม่นาน ได้ส่งสัญญาณว่าจะทรงเข้าไปมีบทบาทในทางการเมืองเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งทรงเชื่อว่าเป็นหนทางที่เหมาะสมในการช่วยให้สถาบันกษัตริย์มีความสำคัญเพิ่มขึ้นต่อคนรุ่นใหม่ แม้จะทรงยืนยันไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมืองระดับชาติอย่างที่ผู้คนเคยหวั่นเกรงกันก็ตาม

ชีวิตผกผันและฝันสลายของ “แฮร์รี-เมแกน”

ที่มาของภาพ, GETTY IMAGES

คำบรรยายภาพ,

ดยุคและดัชเชสแห่งซัสเซกซ์เลือกใช้ภาพนี้เป็นบัตรอวยพรเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ 2024

หลังดยุคและดัชเชสแห่งซัสเซกซ์ ทรงลาออกจากการเป็นพระราชวงศ์ชั้นสูงของอังกฤษที่ต้องทรงงานอย่างเป็นทางการ รวมทั้งตัดสินพระทัยโยกย้ายไปยังสหรัฐอเมริกาเพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ในแบบกึ่งสามัญชน โดยทั้งสองพระองค์ทรงหวังว่า จะสามารถประกอบสัมมาชีพในแวดวงบันเทิงฮอลลีวูด เพื่อเลี้ยงตนเองได้อย่างไม่ลำบากยากเย็นนัก

ทว่าชีวิตอิสรเสรีนอกรั้วพระราชวังบักกิงแฮมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ไม่ได้สวยงามราบรื่นอย่างที่คิด โดยล่าสุดนิตยสาร The Hollywood Reporter ได้มอบตำแหน่ง “ผู้แพ้รายใหญ่ที่สุดของวงการฮอลลีวูด ประจำปี 2023” ให้กับทั้งคู่ เนื่องจากทรงสูญเสียรายได้ก้อนโตเพราะยอดบริจาคของมูลนิธิส่วนพระองค์ลดลง รวมทั้งข้อตกลงทางธุรกิจบางส่วนก็ล้มเหลวหรือไม่ทำกำไรไปหลายล้านปอนด์ โดยที่การลงทุนทั้งหมดนี้ไม่ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ หรือทำให้ความเป็นดาวเด่นของทั้งสองพระองค์ฉายแสงเจิดจรัสขึ้นมาเลย

เอสเธอร์ คราคู นักวิจารณ์ข่าวการเมืองทางโทรทัศน์ของอังกฤษบอกว่า แม้ผลสำรวจความนิยมชื่นชอบในตัวดยุคและดัชเชสแห่งซัสเซกซ์ของชาวอเมริกันจะเพิ่มสูงขึ้น แต่เสียงตอบรับจากทั่วโลกรวมทั้งจากชาวอังกฤษเอง กลับเป็นไปในทางที่ไม่ค่อยดีนัก นับตั้งแต่การให้สัมภาษณ์เจาะลึกชีวิตส่วนพระองค์กับโอปราห์ วินด์ฟรีย์ ในปี 2021, การสตรีมมิ่งภาพยนตร์สารคดีว่าด้วยชีวิตครอบครัวทางเน็ตฟลิกซ์เมื่อปลายปี 2022, และการเปิดตัวหนังสือบันทึกความทรงจำ “ตัวสำรอง” (Spare) ของเจ้าชายแฮร์รีเมื่อช่วงต้นปีนี้

แม้หนังสือจะขายดิบขายดีติดอันดับเบสต์เซลเลอร์ และเจ้าชายแฮร์รีเพิ่งชนะคดีที่ฟ้องแพ่งเรียกค่าเสียหายจากสื่อในเครือหนังสือพิมพ์มิร์เรอร์ที่ดักฟังโทรศัพท์ แต่ดยุคและดัชเชสแห่งซัสเซกซ์กลับต้องล้มเหลวในการทำสัญญากับสื่อช่องทางต่าง ๆ และสินค้าหรูแบรนด์ดังหลายรายที่เคยเสนอตัวเป็นสปอนเซอร์อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเอเจนซีหรือบริษัทที่เป็นนายหน้าหางานในวงการบันเทิงและวงการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้กับทั้งคู่ ถึงกับยอมรับว่าจนปัญญาที่จะช่วยผลักดันทั้งสองพระองค์ต่อไปได้

บางกระแสข่าวเล่าลือกันว่า เจ้าชายแฮร์รีและเมแกนผู้เป็นพระชายาเชื่อว่าความล้มเหลวทั้งหมดที่เกิดขึ้นนี้ เป็นการวิ่งเต้นล็อบบี้เพื่อแก้แค้นจากฝีมือของสำนักพระราชวังและสมาชิกราชวงศ์อังกฤษ หลังจากทั้งคู่ออกมา “แฉ” เรื่องที่สร้างภาพลบมากมายให้กับสถาบันกษัตริย์ ซึ่งการบีบให้พวกเขาต้องประสบวิกฤตทางการเงินนี้ ถึงกับทำให้เมแกนต้องทบทวนจุดยืนของตนเองใหม่ โดยอาจต้องเริ่มสงบปากสงบคำและหาทางงอนง้อขอคืนดีกับราชวงศ์ เพื่อที่จะขอโอกาสกลับเข้าไปพำนักในพระราชวังเคนซิงตันในบางช่วงของแต่ละปี ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายลงได้มาก

อย่างไรก็ตาม คราคูชี้ว่าเรื่องดังกล่าวอาจไม่ใช่การแก้แค้น แต่ดยุคและดัชเชสแห่งซัสเซกซ์เดินเกมผิดพลาดเอง เพราะไม่เข้าใจและไม่ปฏิบัติตามกฎเหล็กแห่งราชวงศ์วินด์เซอร์ที่ว่า “อย่าบ่น อย่าอธิบาย” (never complain, never explain) อันเป็นแนวทางปฏิบัติต่อสาธารณชนของบรรดาพระราชวงศ์ยามพบเจอกับปัญหา ซึ่งหลักการนี้ถือเป็นรากฐานสำคัญ ที่ประคับประคองให้สถาบันกษัตริย์อังกฤษอยู่รอดมาได้ตั้งแต่ยุควิกตอเรียนมาจนถึงยุคปัจจุบัน

เจ้าหญิงลูกนอกสมรสประท้วงราชวงศ์เบลเยียม

ที่มาของภาพ, GETTY IMAGES

คำบรรยายภาพ,

เจ้าหญิงเดลฟีนแห่งแซกซ์-โคเบิร์ก พระราชธิดานอกสมรสของอดีตกษัตริย์เบลเยียม

เจ้าหญิงเดลฟีนแห่งแซกซ์-โคเบิร์ก (Delphine of Saxe-Coberg) เคยเป็นเพียงนางสาว “เดลฟีน เบิล” ประติมากรสามัญชนคนธรรมดาทั่วไปของเบลเยียม แต่ในวันที่ 20 พ.ย. 2020 เมื่อเธอมีอายุได้ 52 ปี เดลฟีนได้รับการยืนยันสถานะสมาชิกใหม่ของราชวงศ์แซกซ์-โคเบิร์ก ที่มีเชื้อสายเยอรมันและเป็นพระญาติใกล้ชิดกับราชวงศ์วินด์เซอร์ของอังกฤษ หลังศาลมีคำตัดสินว่าเธอคือพระราชธิดานอกสมรสของสมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบรต์ที่ 2 ผู้สละราชสมบัติไปตั้งแต่ปี 2013

ผลตรวจดีเอ็นเอพิสูจน์ว่า เจ้าหญิงเดลฟีนคือเลือดเนื้อเชื้อไขของอดีตกษัตริย์กับสตรีชั้นสูง บารอนเนส ซีบิล เดอ เซลีส ลองฌองป์ ซึ่งทั้งสองมีสัมพันธ์ลับกันยาวนานถึง 18 ปี ทำให้เธอกลายเป็นเจ้าหญิงพระองค์ใหม่ ผู้มีฐานะเป็นขนิษฐาต่างมารดากับสมเด็จพระราชาธิบดีฟิลิป กษัตริย์เบลเยียมองค์ปัจจุบัน

ตอนที่ชนะคดีในศาล เจ้าหญิงเดลฟีนเคยตรัสว่า “ฉันก็ยังคงเป็นเดลฟีน...เป็นตัวเองเหมือนอย่างเคย โลกภายนอกอาจมองว่าฉันได้เปลี่ยนไปแล้วด้วยฐานันดรศักดิ์นี้ แต่อันที่จริงไม่ใช่”

อย่างไรก็ตาม สามปีหลังจากนั้นดูเหมือนว่าเจ้าหญิงจะทรงเริ่มมีความเปลี่ยนแปลง และมีความปรารถนาเพิ่มเติมบางประการเกี่ยวกับสถานะใหม่ของพระองค์ โดยเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. ที่ผ่านมา ทรงมอบหมายให้ทนายความยื่นร้องเรียนต่อนายกรัฐมนตรีเบลเยียม ว่าทรงมีความคับข้องพระทัยต่อกรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากบรรดาพระราชวงศ์ โดยไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกับเจ้านายที่เป็นพี่น้องร่วมพระราชบิดาเดียวกัน ทั้งแทบจะไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานพระราชพิธีหรืองานสังสรรค์ส่วนพระองค์อื่น ๆ นอกจากงานวันชาติเบลเยียมและพิธีพระศพของพระญาติบางพระองค์เลย

ก่อนหน้านี้สื่อของเบลเยียมรายงานว่า สาเหตุที่เจ้าหญิงเดลฟีนไม่ได้ “ออกงาน” อย่างเท่าเทียมกับพระราชโอรสและพระราชธิดาในสมเด็จพระราชินีเพาลา คู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายของอดีตกษัตริย์เบลเยียม เป็นเพราะรัฐบาลไม่ได้ถวายเงินปีให้ในฐานะพระราชวงศ์ชั้นสูงที่ต้องทรงงานอย่างเป็นทางการ แต่ทนายความของเจ้าหญิงเดลฟีนแย้งว่า นั่นไม่ควรเป็นสาเหตุที่ทำให้ทรงถูกกีดกันจากเหล่าพระราชวงศ์เบลเยียม

มกุฎราชกุมารีสเปนปฏิญาณตนต่อรัฐธรรมนูญ

เจ้าหญิงเลโอนอร์ มกุฎราชกุมารีแห่งสเปน ผู้ดำรงพระอิสริยยศ “เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียส” (Princess of Asturius) ซึ่งเป็นตำแหน่งรัชทายาทของราชบัลลังก์สเปนมาแต่โบราณ ทรงเข้าพิธีปฏิญาณตนต่อรัฐธรรมนูญของชาติและถวายความจงรักภักดีต่อกษัตริย์ผู้เป็นพระราชบิดา (La jura de la Constitución) เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 18 พรรษา ซึ่งถือว่าได้ทรงบรรลุนิติภาวะตามกฎหมายแล้ว

ที่มาของภาพ, GETTY IMAGES

คำบรรยายภาพ,

เจ้าหญิงเลโอนอร์ มกุฎราชกุมารีแห่งสเปน ทรงรับพระราชทานสร้อยพระศอจากพระราชบิดา

พิธีดังกล่าวเป็นรัฐพิธีซึ่งยืนยันความเป็นรัชทายาทผู้สืบสันตติวงศ์อย่างเป็นทางการ โดยจัดขึ้นที่รัฐสภาในกรุงมาดริด ซึ่งในการนี้สมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 พระราชบิดาผู้เป็นกษัตริย์องค์ปัจจุบัน พร้อมด้วยสมเด็จพระราชินีเลติเซีย พระราชมารดา และเจ้าหญิงโซเฟียหรือ “อินฟันตา โซเฟีย” พระขนิษฐา ได้เสด็จไปเป็นสักขีพยานในรัฐพิธีดังกล่าวด้วย

องค์มกุฎราชกุมารีทรงกล่าวปฏิญาณ ตามข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญสเปน มาตรา 61 ว่า “ข้าพเจ้าจะปฏิบัติภารกิจอย่างแน่วแน่ซื่อตรง เพื่อรักษาและอุปถัมภ์บำรุงรัฐธรรมนูญและกฎหมายต่าง ๆ รวมทั้งเคารพต่อสิทธิของพลเมืองและสิทธิของบรรดาแคว้นปกครองตนเอง โดยขอถวายความจงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์”

หลังรัฐพิธีดังกล่าวสิ้นสุดลง เจ้าหญิงเลโอนอร์จะทรงสามารถออกปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ในฐานะองค์รัชทายาทได้อย่างเป็นทางการ รวมทั้งการเข้าปฏิบัติหน้าที่แทนองค์พระมหากษัตริย์ได้ทันที เมื่อมีเหตุการณ์ใด ๆ ที่ทำให้พระราชบิดาไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ประมุขของชาติได้ โดยไม่จำเป็นจะต้องมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แต่อย่างใด

ปัจจุบันเจ้าหญิงเลโอนอร์ทรงสำเร็จการศึกษาระดับประกาศณียบัตรขั้นสูงเทียบเท่าอนุปริญญา จากวิทยาลัยนานาชาติในแคว้นเวลส์ของสหราชอาณาจักร และเพิ่งเริ่มการฝึกอบรมวิชาทหารในกองทัพสเปนตามพระราชโองการของพระราชบิดา ซึ่งจะทรงใช้เวลาฝึกฝนกับทุกเหล่าทัพเป็นเวลาทั้งสิ้น 3 ปี

ทรงเป็นความหวังใหม่ในการฟื้นฟูความนิยมของประชาชนที่มีต่อสถาบันกษัตริย์สเปน หลังภาพลักษณ์ของราชวงศ์ต้องเสียหายไปอย่างหนัก จากกรณีการคอร์รัปชันของอดีตกษัตริย์ฮวนคาร์ลอส พระอัยกา ซึ่งปัจจุบันประทับอยู่นอกประเทศสเปนเป็นการถาวร

เผยนามพระธิดาองค์น้อยแห่งราชวงศ์ภูฏาน

ที่มาของภาพ, QUEEN JETSUN PEMA / INSTAGRAM

คำบรรยายภาพ,

สมเด็จพระราชินีเจตซุน เพมา แห่งราชอาณาจักรภูฏาน กับพระราชธิดาพระองค์เล็ก

เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. ที่ผ่านมา ราชอาณาจักรภูฏานได้มีพระราชพิธีเฉลิมพระนามพระราชธิดาองค์ใหม่ ในสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก และสมเด็จพระราชินีเจตซุน เพมา วังชุก ตามธรรมเนียมโบราณ ซึ่งจะไม่เปิดเผยพระนามของพระราชโอรสหรือพระราชธิดาเมื่อแรกประสูติ แต่จะรอจนกว่าทรงมีพระชนมายุได้ครบ 3 เดือนเสียก่อน

เจ้าหญิงน้อยเป็นพระราชธิดาองค์สุดท้องใน “ดรุก กยาลโป” หรือ “ราชามังกร” ซึ่งเป็นพระสมัญญานามของกษัตริย์ภูฏาน เจ้าหญิงประสูติเมื่อวันที่ 9 ก.ย. ของปีนี้ จึงมีการจัดพระราชพิธีเฉลิมพระนามในวันที่ 9 ธ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวาระมหามงคลครบรอบ 17 ปี แห่งการขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระราชาธิบดีอีกด้วย

พระราชธิดาทรงได้รับการเฉลิมพระนามว่า “โซนัม ยังเดน วังชุก” ซึ่งพระนาม “โซนัม” นั้นหมายถึงบุญบารมี โชคลาภ และความมีอายุยืนยาว ส่วนพระนาม “ยังเดน” หมายถึงอัญมณีล้ำค่า ทำให้เป็นชื่อที่มีความหมายมงคล โดยสื่อถึงความมั่งคั่งและการมีพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง ส่วนคำว่า “วังชุก” นั้นเป็นพระนามราชสกุล ซึ่งในภูฏานมีเพียงพระราชวงศ์เท่านั้นที่ใช้พระนามราชสกุลดังกล่าว โดยจะมีคำว่า “วังชุก” ต่อท้ายพระนามเสมอ

สมเด็จพระราชินีเจตซุน เพมา ซึ่งในปีนี้มีพระชนมพรรษาครบ 33 พรรษา ได้ทรงเผยพระรูปของเจ้าหญิงโซนัมทางอินสตาแกรม ซึ่งเป็นพระรูปที่ทรงฉายด้วยพระองค์เอง เนื่องจากงานศิลปะด้านจิตรกรรมและการถ่ายภาพเป็นงานอดิเรกที่ทรงโปรดปรานอย่างยิ่ง

ก่อนหน้านี้สมเด็จพระราชินีเจตซุน เพมา ได้ทรงให้กำเนิดพระราชโอรสแล้วสองพระองค์ ได้แก่เจ้าชายกยาลเซ จิกมี นัมเกล หรือ “เจ้าชายมังกร” องค์รัชทายาทพระชนมายุ 7 ชันษา และเจ้าชายจิกมี อุกเยน พระอนุชาผู้มีพระชนมายุ 3 ชันษา

สมเด็จพระราชาธิบดี จิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก เสด็จขึ้นครองราชย์บน “บัลลังก์ทอง” แห่งราชวงศ์ภูฏานเมื่อปี 2006 หลังจากพระราชบิดา อดีตสมเด็จพระราชาธิบดี จิกมี ซิงเย วังชุก หรือ “ราชามังกรที่ 4” ทรงสละราชสมบัติ อย่างไรก็ตาม สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ปัจจุบันได้เคยมีพระราชดำรัสว่า จะไม่ทรงตามรอยธรรมเนียมโบราณด้วยการอภิเษกสมรสกับสตรีหลายคนที่เป็นพี่น้องกัน อย่างเช่นที่พระราชบิดาทรงเคยแต่งตั้งสมเด็จพระราชินีถึง 4 พระองค์ด้วยกัน

ปัจจุบันสมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีทรงเป็นที่รักใคร่ชื่นชมของชาวภูฏาน เนื่องจากทรงมีพระจริยวัตรที่งดงามไม่ด่างพร้อย ทั้งทรงงานเพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนและนำพาประเทศไปสู่ความเป็นสมัยใหม่

“ท่านอ้น” หวนคืนประเทศไทย

“คุณค่าของมรดก มาจากผู้สืบทอด” (The value of heritage comes from its inheritors.) คือข้อความที่ วัชเรศร วิวัชรวงศ์ เผยแพร่ผ่านทางบัญชีเฟซบุ๊กส่วนตัวในวันที่ 9 ส.ค. 2566 พร้อมโพสต์รูปขณะเดินทางไป “บ้านแห่งความหวัง” ของมูลนิธิเด็กอ่อนในสลัมฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ วัชเรศร ทำระหว่างเดินทางกลับประเทศไทยเป็นครั้งแรก หลังรอคอยกลับแผ่นดินเกิดมายาวนานกว่า 27 ปี

ที่มาของภาพ, VACHARAESORN VIVACHARAWONGSE / FACEBOOK

คำบรรยายภาพ,

วัชเรศร วิวัชรวงศ์ หรือ “ท่านอ้น”

วัชเรศร วิวัชรวงศ์ หรือที่ประชาชนคนไทยคุ้นเคยในชื่อ “ท่านอ้น” เกิดเมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2524 เป็นโอรสหรือลูกชายคนรอง ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ซึ่งเกิดกับ สุจาริณี วิวัชรวงศ์ โดยมีพี่น้องร่วมมารดาเดียวกันอีก 4 คน ได้แก่ จุฑาวัชร วิวัชรวงศ์ พี่ชายคนโต, นพ.จักรีวัชร วิวัชรวงศ์ น้องชายคนกลาง, ดร.วัชรวีร์ วิวัชรวงศ์ น้องชายคนเล็ก และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา กนิษฐาองค์สุดท้อง

สี่พี่น้องชายล้วนพร้อมด้วยมารดา ได้โยกย้ายไปใช้ชีวิตเยี่ยงสามัญชนที่สหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2540 โดยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามสกุล “วิวัชรวงศ์” แก่พวกเขาทั้งหมด ซึ่งในประเด็นนี้วัชเรศรเล่าว่า หลังลงหลักปักฐานในดินแดนแห่งใหม่ เขาต้องทำงานพิเศษนอกเวลาเรียนเพื่อหาเงินมาช่วยเหลือจุนเจือครอบครัวและเก็บเป็นค่าเล่าเรียนของตนเองด้วย แม้จะต้องเผชิญความยากลำบาก แต่ก็สามารถคว้าปริญญาตรีและโท สาขานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยสเต็ตสัน (Stetson University) และเข้าสู่เส้นทางอาชีพทนายความในบริษัทที่มีชื่อเสียงของสหรัฐฯ

วัชเรศรมีความสนใจเป็นพิเศษในเรื่องของกฎหมายสิทธิมนุษยชนและกิจการผู้ลี้ภัย ทั้งยังเป็นประธานและผู้ก่อตั้งกองทุนการศึกษา Thai Heritage Scholarship Fund of New York ซึ่งมอบทุนการศึกษา “มรดกไทย” ให้กับนักเรียนไทยที่ขาดแคลน เพื่อสนับสนุนให้เยาวชนไทยได้ระลึกถึงประเทศบ้านเกิดของตัวเองและทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติ

นอกจากนี้ วัชเรศร ยังมีบทบาทโดดเด่นในการส่งเสริมงานเผยแผ่พุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรมไทยในต่างแดน โดยเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่แสดงออกถึงความสามัคคีและยึดมั่นในสถาบันที่เป็นศูนย์รวมใจของชาวไทย ทั้งในนครนิวยอร์ก นครลอสแอนเจลิส และในประเทศอื่น ๆ

เมื่อวันที่ 6 ส.ค. ของปีนี้ วัชเรศรได้เดินทางกลับไทยเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 27 ปี และได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวต่างประเทศว่า “เหมือนฝันที่เป็นจริงที่ได้กลับมา” โดยได้เดินทางเข้ากราบสมเด็จพระสังฆราช และตระเวนสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งในกรุงเทพฯ และจังหวัดปริมณฑล จนในวันที่ 13 ส.ค. “ท่านอ่อง” นพ.จักรีวัชร วิวัชรวงศ์ ได้เดินทางมาสมทบที่ประเทศไทยเพื่อรับพี่ชายกลับไปยังสหรัฐฯ ด้วย

วัชเรศรยังได้เดินทางกลับไทยอีกครั้งเป็นการส่วนตัว เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. ของปีนี้ โดยได้เข้าร่วมกิจกรรม “วันพ่อ” และทำบัตรประชาชนไทยเป็นครั้งแรกที่จังหวัดนนทบุรี พร้อมทั้งเดินทางไปทำบุญและเยี่ยมเยียนพี่น้องเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย ก่อนจะเดินทางกลับสหรัฐฯ ในคืนวันที่ 18 ธ.ค. ที่ผ่านมา

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้