การเพ มไอโอด นลงไปในไข ไก ม อะไรท เพ มได บ าง

โรคไทรอยด์ โรคที่เกิดจากอาการผิดปกติของต่อมไทรอยด์ มีอาหารอะไรบ้างที่ควรเลี่ยง มีอาหารอะไรบ้างที่ควรทาน มาดูกันเลย

ไทรอยด์ ต่อมไร้ท่อที่มีความสำคัญอย่างมากต่อร่างกาย หากมีการทำงานผิดปกติอาจทำให้เกิดโรคไทรอยด์เป็นพิษ หรือโรคขาดไทรอยด์ได้ ซึ่งถ้าเป็นโรคเหล่านี้แล้ว ต้องเข้ารักษาด้วยการพบแพทย์ แต่นอกเหนือจากการพบแพทย์ การควบคุมหรือหลีกเลี่ยงอาหารต่าง ๆ ที่ไปทำให้โรคไทรอยด์แย่ลงก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่คนส่วนมากเลือกปฏิบัติ วันนี้เราจึงนำอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงของผู้ป่วยโรคไทรอยด์เป็นพิษและโรคขาดไทรอยด์มาฝากกันค่ะ แต่ก่อนอื่นเรามารู้จักหน้าที่และการทำงานของต่อมไทรอยด์สักหน่อย

ไทรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อขนาดใหญ่ที่สุดของร่างกาย อยู่บริเวณส่วนหน้าของลำคอ มีหน้าที่สร้างฮอร์โมน โดยใช้ไอโอดีนจากอาหารเราที่กินเข้าไป และยังทำหน้าที่หลั่งไทรอยด์ฮอร์โมนออกมาสู่กระแสเลือด เพื่อควบคุมการเผาผลาญของร่างกาย อุณหภูมิของร่างกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ระดับไขมันในเลือด ควบคุมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของสมอง รวมทั้งอารมณ์และความรู้สึก ให้เป็นไปอย่างเหมาะสมด้วย

หากต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติสามารถส่งผลให้เป็นโรคไฮเปอร์ไทรอยด์หรือไทรอยด์เป็นพิษ และโรคไฮโปไทรอยด์หรือโรคขาดไทรอยด์ฮอร์โมนได้ ซึ่งหากป่วยขึ้นมา จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องควบคุมอาหารเพื่อไม่ให้อาการแย่ลง แต่โรคทั้งสองก็มีอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงต่างกัน ดังนี้

* ป่วยไทรอยด์เป็นพิษ (ไฮเปอร์ไทรอยด์) ห้ามกินอะไร

ไทรอยด์เป็นพิษหรือไฮเปอร์ไทรอยด์ เกิดจากความผิดปกติที่ทำให้เนื้อเยื่อไทรอยด์ทำงานมากเกินปกติ ทำให้มีการสร้างฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์มากขึ้น และทำให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติไปด้วย จะมีอาการผอมลง หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น ร้อนง่าย เหงื่ออกเยอะ อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย และนอนไม่ค่อยหลับ ซึ่งควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนไปกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์เพิ่ม ดังนี้

1. อาหารที่มีไอโอดีน สังกะสี และซีลีเนียมสูง

ไอโอดีน สังกะสี ซีลีเนียมที่พบได้มากในอาหารทะเล ปลา เนื้อวัว เครื่องในสัตว์ กระเทียม เห็ด เมล็ดทานตะวัน ถั่วเหลือง และธัญพืชต่าง ๆ เป็นสารอาหารสำคัญที่ต่อมไทรอยด์จะนำไปใช้ผลิตฮอร์โมน ซึ่งผู้ป่วยไฮเปอร์ไทรอยด์ หรือไทรอยด์เป็นพิษเป็นผู้ป่วยที่มีฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกายเกินความจำเป็นอยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่ควรบริโภคอาหารที่มีไอโอดีน สังกะสี และซีลีเนียมสูง เพราะจะยิ่งไปกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนเพิ่มขึ้นอีก

2. นมและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม

นมและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมส่งผลกระทบต่อต่อมไทรอยด์คล้าย ๆ กับเกลือเสริมไอโอดีนเลยค่ะ เพราะนมก็สามารถกระตุ้นให้มีการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์เพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากในนมเต็มไปด้วยไอโอดีนและซีลีเนียมที่เป็นส่วนสำคัญต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ หากทานเข้าไปมาก ๆ ก็จะไปกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ทำงานเพิ่มขึ้น จนมีอาการแย่ลงได้

3. แอลกอฮอล์และคาเฟอีน

หลาย ๆ คนคงรู้อยู่แล้วว่าเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์อย่าง ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง เหล้า และเบียร์เป็นสิ่งไม่ดีต่อร่างกาย โดยเฉพาะสำหรับผู้ป่วยไฮเปอร์ไทรอยด์ เพราะคาเฟอีนและแอลกอฮอล์สามารถทำให้การทำงานของต่อมไทรอยด์ไม่คงที่ได้ แถมแอลกอฮอล์และคาเฟอีนถือเป็นเครื่องดื่มที่เป็นสิ่งเร้า ซึ่งผู้ป่วยไฮเปอร์ไทรอยด์ไม่ควรได้รับอาหารที่ไปกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์เพิ่ม เพราะมีฮอร์โมนไทรอยด์ที่มากเกินไปอยู่แล้ว ดังนั้นผู้ป่วยไฮเปอร์ไทรอยด์จึงควรงดแอลกอฮอล์และคาเฟอีน แล้วหันมาดื่มพวกน้ำสมุนไพร เช่น ตะไคร้ ขิง ดอกคำฝอย แทนค่ะ

4. ไขมันที่ไม่ดีต่อสุขภาพ

ผู้ป่วยไทรอยด์ไม่ควรบริโภคไขมันต่าง ๆ ที่ไม่ดีต่อสุขภาพอย่าง ไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ ที่สามารถพบได้มากในคุกกี้ เค้ก เฟรนช์ฟรายส์ เพราะไขมันพวกนี้สามารถทำให้ต่อมไทรอยด์มีอาการอักเสบเพิ่มขึ้นได้ ดังนั้นจึงควรหันมาบริโภคไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นไขมันที่ดีต่อสุขภาพแทน ซึ่งพบมากในปลาทะเล และ ปลาน้ำจืดบางชนิด

5. อาหารที่กินแล้วแพ้

แน่นอนว่าหากบริโภคอาหารที่แพ้เข้าไปจะทำให้อาการไฮเปอร์ไทรอยด์แย่ลงได้ แต่ปัญหาใหญ่คือบางคนไม่ทราบว่าตัวเองแพ้อะไร ซึ่งส่วนมากอาหารที่คนแพ้มักจะเป็นนม ไข่ ข้าวสาลี ถั่ว ถั่วเหลือง ปลา สัตว์น้ำที่มีเปลือกหุ้มและหอย ทางที่ดีควรไปตรวจกับแพทย์ในแน่ชัด เพื่อจะได้ไม่ต้องเสี่ยงไปกระตุ้นโรคไฮเปอร์ไทรอยด์ค่ะ

นอกจากหลีกเลี่ยงอาหารต้องห้ามเหล่านี้แล้ว ผู้ป่วยไฮเปอร์ไทรอยด์ควรทานอาหารที่มีสารอาหารครบ 5 หมู่ ผ่านการปรุงแต่งน้อย อย่างข้าวกล้อง แป้งไม่ขัดขาว เพราะจะคงคุณค่าของสารอาหารไว้มาก ทานผักผลไม้เยอะ ๆ โดยเฉพาะกล้วย เพราะในกล้วยมีสารช่วยลดแลคติก เอซิด(Lactic Acid) ที่ช่วยลดอาการเครียด ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคไทรอยด์ รวมทั้งยังควรเนื้อสัตว์ประเภทโปรตีนไขมันต่ำ เช่น อกไก่ เนื้อปลา เพื่อช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เพราะผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษมักจะมีความรู้สึกอยากอาหาร แต่ทานเท่าไหร่น้ำหนักก็ไม่ค่อยขึ้น การทานโปรตีนไขมันต่ำจะช่วยให้อิ่มอยู่ท้องได้นานขึ้น

++++

* ป่วยไฮโปไทรอยด์ ห้ามกินอะไร

ไฮโปไทรอยด์ เป็นภาวะขาดฮอร์โมนต่อมไทรอยด์เนื่องจากมีการทำงานของไทรอยด์ต่ำ หรือไม่มีต่อมไทรอยด์ สาเหตุอาจเกิดจากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ไป หรือมีอาการไทรอยด์อักเสบแบบ Hashimoto’s thyroiditis ซึ่งเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง (autoimmune disorder) ชนิดหนึ่ง ทำให้ผลิตไทรอยด์ฮอร์โมนออกมาได้น้อย โดยจะมีอาการหนาวง่าย ท้องผูก ประจำเดือนมาผิดปกติ ปวดกล้ามเนื้อ เฉื่อย ช้า ผิวแห้ง และมีอาการซึมเศร้า ซึ่งคนที่ป่วยเป็นโรคไฮโปไทรอยด์ควรหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้

1. ถั่วเหลือง

จริง ๆ แล้วประเด็นที่ว่าผู้ป่วยไฮโปไทรอยด์ทานถั่วเหลืองได้ไหมยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่พอสมควรค่ะ เพราะก่อนหน้านี้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์แบบองค์รวม เคยออกมาเตือนว่า ผู้ที่เป็นโรคไฮโปไทรอยด์ ไม่ควรรับประทานถั่วเหลืองหรืออาหารเสริมที่มีสารอาหารจากถั่วเหลืองเป็นส่วนประกอบ เพราะจะทำให้ร่างกายได้รับไอโซฟลาโวน (Isoflavones) ซึ่งอาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ อาทิ ไทรอยด์ทำงานช้าลง

แต่ทว่าก็มีงานวิจัยจากหลายแห่งพบว่า การทานถั่วเหลืองอาจไม่ได้กระทบต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ก็เป็นได้ เพราะยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดว่าสารในถั่วเหลืองส่งผลต่อโรคไทรอยด์ จึงทำให้ผู้ป่วยไฮโปไทรอยด์สามารถทานถั่วเหลืองได้ แต่อย่างไรก็ตามถ้าจะทานถั่วเหลืองจริง ๆ ควรทานในปริมาณที่เหมาะสมไม่มากเกินไปจะดีที่สุดค่ะ

2. ผักตระกูลกะหล่ำ

ผู้ป่วยไฮโปไทรอยด์ไม่ควรรับประทานผักตระกูลกะหล่ำ ทั้ง กะหล่ำปลี ผักกาดขาว บรอกโคลี คะน้า และหัวไชเท้า เนื่องจากพืชเหล่ามีสารกอยโตรเจน (goitrogen) ที่เป็นตัวไปขวางการจับไอโอดีนของต่อมไทรอยด์ เพื่อสร้างฮอร์โมนไทรอกซิน (thyroxin) ซึ่งจะทำให้เกิดคอหอยพอกนั่นเอง

อย่างไรก็ตามผักกระกูลกะหล่ำก็ยังมีประโยชน์อื่น ๆ และสามารถช่วยยับยั้งมะเร็งได้ เราจึงมีความจำเป็นต้องกินผักตระกูลนี้อยู่บ้าง ซึ่งวิธีที่จะทำให้เรากินผักตระกูลนี้ได้อย่างปลอดภัยก็คือต้องนำไปต้มให้สุกค่ะ เพราะการต้มจะทำให้สารพิษต่าง ๆ หายไปได้ ดังนั้นหากจะกินควรต้มให้สุก และห้ามกินแบบดิบ ๆ เด็ดขาดนะคะ

3. ชาและกาแฟ

มีการศึกษาพบว่ายารักษาไทรอยด์จะไม่มีประสิทธิภาพ หากผู้ป่วยกินยาแล้วดื่มชาหรือกาแฟตามทันที เพราะในกาแฟมีคาเฟอีน ซึ่งคาเฟอีนมีฤิทธิ์ที่สามารถไปขัดขวางการดูดซึมของฮอร์โมนไทรอยด์ได้ แพทย์จึงแนะนำว่าหลังกินยารักษาไทรอยด์เสร็จ ควรรออย่างน้อยครึ่งชั่วโมง แล้วค่อยกินกาแฟ หรือทางที่ดีควรงดพวกชา กาแฟแล้วหันไปดื่มพวกน้ำสมุนไพรแทนจะดีที่สุด

4. แอลกอฮอล์

แอลกอฮอล์นอกจากจะไปกระตุ้นการการทำงานของต่อมไทรอยด์ ซึ่งไม่ดีต่อผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษแล้ว ฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ยังไม่ดีต่อผู้ป่วยโรคขาดไทรอยด์เช่นกันค่ะ เพราะแอลกอฮอล์สามารถไปยับยั้งการผลิตฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ ทำให้มีอาการขาดฮอร์โมนไทรอยด์ และยังมีฤทธิ์ทำให้ฮอร์โมนไทรอยด์ไม่สมดุลกันด้วย ว่าแล้วผู้ป่วยที่เป็นโรคไทรอยด์จึงควรรับประทานแอลกอฮอล์ในปริมาณน้อย หรือถ้าเป็นไปได้ควรงดแอลกอฮอล์จะดีที่สุดค่ะ

5. กลูเตน

จริง ๆ แล้วผู้ป่วยไฮโปไทรอยด์สามารถทานอาหารที่มีกลูเตน อย่างเช่น ข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์ได้โดยไม่มีผลกระทบอะไรต่อสุขภาพ แต่ถ้าคุณเป็นคนที่แพ้กลูเตนอยู่แล้ว ก็ควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทนี้ไว้ด้วยค่ะ เพราะกลูเตนสามารถไปทำลายระบบการทำงานของลำไส้เล็ก และขัดขวางการดูดซึมยารักษาต่อมไทรอยด์ อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงโรคฮาชิโมโต ซึ่งเป็นภาวะที่ไทรอยด์ฮอร์โมนพร่องไป หรือแม้แต่อาจทำให้เกิดโรคคอพอกหรือไทรอยด์เป็นพิษที่ทำให้ไทรอยด์ฮอร์โมนผลิตออกมามากเกินไปได้อีก ฉะนั้นถ้าหากคุณแพ้กลูเตนควรหันมาบริโภคพวกอาหารที่ปราศจากกลูเตนแทนจะดีที่สุด

6. อาหารแปรรูป

ผู้ป่วยไฮโปไทรอยด์ต้องการไอโอดีนมาช่วยเพิ่มฮอร์โมนไทรอยด์ให้เป็นปกติ แต่ในอาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก กุนเชียง อาหารกระป๋อง เป็นอาหารที่แทบจะไม่มีเกลือไอโอดีนเลย ส่วนมากจะมีแต่เกลือโซเดียมเท่านั้น จึงไม่เหมาะที่จะให้ผู้ป่วยไฮโปไทรอยด์ทานสักเท่าไหร่ อีกทั้งอาหารที่มีโซเดียมสูงยังสามารถทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสูงได้ แล้วยิ่งผู้ป่วยไฮโปไทรอยด์ที่มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าคนทั่วไปอยู่แล้ว ถ้าได้รับสารโซเดียมมาก ๆ ก็ยิ่งไปกระตุ้นทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ง่ายค่ะ

7. อาหารไขมันเยอะ

ผู้ป่วยไฮโปไทรอยด์ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง อาหารที่ทานแล้วอ้วน อย่างอาหารฟาสต์ฟู้ด เนย มาการีน เพราะสารในอาหารพวกนี้จะไปรบกวนการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ และขัดขวางการดูดซึมยารักษาไทรอยด์ของผู้ป่วยไฮโปไทรอยด์ได้

8. อาหารที่มีน้ำตาลสูง

โรคไฮโปไทรอยด์สามารถทำให้ระบบเมตาบอลิซึมหรือกระบวนการเผาผลาญของร่างกายทำงานช้าลงได้ ดังนั้นผู้ป่วยไทรอยด์จึงควรหลีกเลี่ยงการการทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง เพราะในอาหารที่มีน้ำตาลสูงมีแคลอรีเยอะ ร่างกายจะเผาผลาญออกได้ช้าและจะสะสมเป็นไขมันในร่างกาย ก่อให้เกิดโรคอ้วนตามมาได้ง่ายกว่าคนปกติ นอกจากนี้หากผู้ป่วยไฮโปไทรอยด์ทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงยังทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ยากขึ้น จนอาจส่งผลให้เป็นเบาหวานได้ด้วย

ส่วนอาหารที่ผู้ป่วยไฮโปไทรอยด์ควรรับประทานคืออาหารที่มีไอโอดีนมาก ๆ เช่น ปลา อาหารทะเล สาหร่าย ไข่ และนม เพราะต่อมไทรอยด์จะผลิตฮอร์โมนจากไอโอดีนที่เรากินเข้าไป เมื่อเรามีไอโอดีนมากพอจึงช่วยทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนจนกลับมาสมดุลเป็นปกติได้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้