การต อสายลำโพงด วยข อต อ ม ข อเส ยหร อไม

จากไบแอมป์เต็มรูปแบบที่ต้องมีactive crossover ตัดแบ่งช่วงความถี่ให้แอมป์สองตัวขยายสัญญาณ low กับ high(frequency) มีอยู่ช่วงนึงนิยมเล่น passive biamp กัน ปรีหลายตัวให้ช่อง pre out มาสองชุด เพราะแม้ทฤษฎี จะบอกว่า passive biamp กับการต่อไบไวร์ มีผลไม่มาก แต่กับชุดที่ยังไม่ถึงไฮเอนด์ หลายชุด ก็ให้ผลลัพธ์โดยรวมที่ดี

ระยะหลัง วิธีที่ลงตัวจะเป็นการใช้jumper คุณภาพดี แต่ มันมีเรื่องให้เล่นอยู่นิดครับ ในภาพซ้ายสุดที่คุณ Think เอามาตั้งกระทู้ จริงๆแล้วมันต่อสายลำโพงได้ถึงสี่แบบ 555 1.ต่อบวกกับลบ เข้า ช่องล่างทั้งคู่(มักเป็น low frequency ซึ่งต่อแบบนี้ ทุ้มจะมากกว่าวิธีที่ 2) 2.ต่อบวกกับลบ เข้า ช่องบนทั้งคู่ (มักเป็น hihg frequency)คือ เหมือนในภาพเลย แบบนี้ก็มักจะให้แหลมมากกว่าต่อวิธีที่ 1 3.เอาแบบค่อนข้างสมดุลย์ต่อลบเข้าช่องล่าง บวกเข้าช่องบน 4.ต่อลบเข้าช่องบน บวกเข้าช่องล่าง

วิธีที่ 3 กับ 4 น่าจะมีคนออกมาสรรเสริญผมว่า บ้า ประสาท มโน เพราะ มันจะต่างกันได้อย่างไร บอกแค่ว่า ลองฟังดูครับ ถ้าฟังแล้วไม่ต่าง ก็ไม่เห็นจะเป็นไร ไม่ได้เสียตังค์เพิ่ม แต่ถ้าฟังแล้วต่าง.....ก็เอาที่ฟังแล้วชอบครับ

อนึ่ง การต่อทั้งส่ีแบบ ผมไม่อยากบอกว่า วิธีไหนถูกหรือผิดนะครับ มันน่าจะไม่มีถูกผิด มันมีแต่ ชอบ กับไม่ชอบ ต่อให้ต่อสายเข้า Low freq.ทั้งคู่ หรือ high ทั้งคู่ แล้วชอบ ทั้งที่ก็ฟังแล้วมันสมดุลย์สู้ต่อแบบ 3 หรือ 4 ไม่ได้ ถ้าชอบซะอย่าง ก็เอาที่ชอบครับ หากฟังแล้วมันแตกต่างกันทั้งสี่แบบ ก็คิดเสียว่า มันเป็นการ fine tune โดยไม่ต้องเสียสตางค์สักแดงเดียว

แน่นอนว่า แนวคิดเรื่องวิธีการต่อสายทั้งสี่แบบนี้ ย่อมมาประยุกต์ใช้/เล่นได้กับภาพที่สามที่อยู่ขวามือสุดด้วยเช่นกันครับ แต่มีจุดให้ระวังมากยิ่งขึ้น คือ ต้องไล่ทิศทางสายที่มาทำ jumperให้ดี และทำสัญลักษณ์ระบุทิศทางหัวท้ายไว้ให้ชัดเจน เช่น ถ้าต่อด้วยวิธีที่ 3 ลบเข้าช่องล่าง ก็ต้องระวังทิศต้นปลายของสายที่มาทำjumperอย่าให้สะเปะสะปะเด็ดขาด เผื่อว่าสายมันเป็นช่วงที่ไม่มีสกรีนยี่ห้อให้เราสังเกตชัดเจน

สำหรับผู้ที่กำลังสนใจ หรือมองหาตู้ลำโพง ต้องผ่านการศึกษาสเปคของลำโพงมาบ้าง คงคุ้นๆ กับค่า Impedance คืออะไร? วันนี้เราจะมาติว “วิธีการดูสเปคลำโพง” เบื้องต้นกัน เกี่ยวกับเรื่องของค่า Impedance (อิมพีแดนซ์) ลำโพง พร้อมเทคนิคการต่อลำโพง โดยศึกษาจากค่า Impedance (อิมพีแดนซ์) เบื้องต้นกันครับ

สารบัญ

ค่า Impedance (อิมพีแดนซ์) คือ “ค่าความต้านทาน” ในวงจรไฟฟ้ากระแสสลับที่มีผลต่อเฟสทางไฟฟ้า ใช้สัญญาณลักษณ์อักษรย่อเป็นตัว Z มีหน่วยเป็น โอห์ม (Ω) เราจึงแทนอักษรของลำโพงด้วย Z หรือสรุปก็คือ ค่าที่บ่งบอกการดึงกระแสไฟฟ้าของลำโพงตัวนั้นๆ มีหน่วยเป็นโอห์ม (Ω)

โดยทั่วไป Impedance ของลำโพง จะอยู่ที่ประมาณ 6-8 โอห์ม หากลำโพงมีค่า Impedance ต่ำๆ เช่น 4-6 โอห์ม ก็จะยิ่งดึงกระแสไฟฟ้ามาก และต้องการกำลังขับที่สูงจากตัวแอมป์ แอมป์ก็จะเกิดความร้อนสะสม ทำงานหนัก และหากแอมป์ไม่ได้รับการออกแบบมาให้รองรับค่า Impedance ต่ำๆ แอมป์ก็จะเกิดความเสียหายได้

เครื่องเสียงที่ใช้งานในบ้านอย่าง ชุดลำโพงโฮมเธียเตอร์ แอมป์ที่ใช้กับลำโพงโฮมเธียเตอร์ ใช้ฟังเพลง ดูหนังทั่วๆ ไปมักจะมีค่าประมาณ 6-8 โอห์ม ค่ายิ่งต่ำยิ่งต้องการกำลังสูง ลำโพงที่อิมพีแดนซ์ต่ำมากๆ บางตัวจึงขับยาก และต้องการแอมป์กำลังสูงๆ คุณภาพต้องดีมากๆ มาใช้งานขับลำโพงตัวนั้น

ในเครื่องเสียงบ้านมีการกำหนดมาตรฐานกลางของค่า Impedance อยู่ที่ 8 โอห์ม เพื่อไม่ให้ดึงกระแสไฟฟ้าจากแอมป์มากเกินไป ส่วนวงการเครื่องเสียงรถยนต์มีมาตรฐานกลางของค่า Impedance อยู่ที่ 4 โอห์ม

ข้อควรรู้เกี่ยวกับค่า Impedance

ค่า Impedance ตัวเลขต่างๆ ที่เราพบเจอในข้อมูลสเปค ไม่ใช่ค่าตายตัวของแอมป์ หรือลำโพง แต่เป็นค่าที่ให้ข้อมูลกับเราว่าแอมป์ หรือลำโพงนั้นๆ ถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับการใช้งานที่ค่าความต้านทานเท่าไหร่

ค่า Impedance หรือค่าความต้านทานที่ใช้งานจริง อาจจะสูง หรือต่ำกว่านี้ก็ได้ในบางงาน ซึ่งแอมป์ หรือลำโพงก็ยังสามารถรองรับการทำงานได้ หรือผิดเพี้ยนไปจากค่าที่แจ้งไว้ หรือสูงกว่าได้

วิธีต่อลำโพง จากค่า Impedance(อิมพีแดนซ์)

วิธีการต่อลำโพง ถือว่าเป็นพื้นฐานเบื้องต้น วิธีการต่อลำโพงสามารถแบ่งออกเป็น 3 แบบหลักๆ คือ แบบอนุกรม (Series), แบบขนาน (Parallel), และแบบผสม (Series-Parallel)

การต่อลำโพงแบบอนุกรม (Series)

การต่อลำโพงแบบอนุกรม (Series) คือ การต่อลำโพงโดยเอาขั้วบวก (+) ไปต่อกับขั้วลบ (-) ของดอกลำโพงใบถัดไปเรื่อยๆ การต่อลำโพงแบบอนุกรม มีผลทำให้ค่า Impedance รวมเพิ่มมากขึ้น

วิธีการคำนวณ

จากสมการ ZT (ค่า Impedance รวม) = Z1 + Z2 + Z3 ….+ Zn หรืออย่างเข้าใจง่าย โดยนำค่า Impedance ของดอกลำโพงมาบวกกัน

ตัวอย่าง

มีดอกลำโพง 4 ดอก ดอกที่ 1 มีค่าอิมพีแดนซ์ 8 โอห์ม, ดอกที่ 2 มีค่าอิมพีแดนซ์ 8 โอห์ม, ดอกที่ 3 มีค่าอิมพีแดนซ์ 4 โอห์ม, ดอกที่ 4 มีค่าอิมพีแดนซ์ 4 โอห์ม ค่าอิมพีแดนซ์รวม = 8 + 8 + 4 + 4 \= 24 โอห์ม

การต่อลำโพงแบบอนุกรมดียังไง?

ความต้านรวมที่มากขึ้นทำให้แอมป์ไม่เสียหาย แต่ก็มีข้อจำกัด คือ หากลำโพงตัวใดตัวหนึ่งมีปัญหา หรือเสีย ก็จะทำให้การต่อลำโพงทั้งหมด ไม่ทำงาน ไม่มีเสียง และอีกหนึ่งข้อจำกัด คือ ลำโพงทำงานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ เพราะความต้านทานที่มากขึ้น ลดทอนสัญญาณจากแอมป์ เกิดการสูญเสียของสัญญาณเสียงไป ความคมชัดของเสียงลดลง เสียงเบาตามไปด้วย

การต่อลำโพงแบบขนาน (Parallel)

การต่อลำโพงแบบขนาน (Parallel) คือ การต่อลำโพงโดยเอาขั้วบวก (+) ต่อกับขั้วบวก (+) และขั้วลบ (-) ต่อกับขั้วลบ (-) โดยการต่อลำโพงแบบขนาน มีผลทำให้ค่าอิมพีแดนซ์รวมลดลง

วิธีการคำนวณ

จากสมการ 1/ZT (อิมพีแดนซ์รวม) = (1/Z1 ) + (1/Z2 ) + (1/Z3 )…(1/Zn) การคำนวณแบบขนาน จะค่อนข้างซับซ้อน เพราะมีเศษส่วนเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่กรณีที่ทุกดอกมีอิมพีแดนซ์เท่ากัน สามารถนำค่าอิมพีแดนซ์มาหารจำนวนของดอกลำโพงได้เลย

ตัวอย่าง

มีดอกลำโพงจำนวน 4 ดอก ดอกที่ 1, 2, 3, และ 4 มีค่าอิมพีแดนซ์ 8 โอห์ม เท่ากันทุกดอก 1/ค่าอิมพีแดนซ์รวม = (1/8) + (1/8) + (1/8) + (1/8) ค่าอิมพีแดนซ์รวม = 4/8 แล้ว กลับเศษเป็นส่วน ได้ 8/4 ค่าอิมพีแดนซ์รวม = 2 โอห์ม

หรือในกรณีที่ดอกลำโพงมีค่าอิมพีแดนซ์เท่ากัน

มีดอกลำโพง 4 ดอก ดอกที่ 1, 2, 3, และ 4 มีค่าอิมพีแดนซ์ 8 โอห์ม เท่ากันทุกดอก อิมพีแดนซ์รวม = (อิมพีแดนซ์) / (จำนวนดอก) อิมพีแดนซ์รวม = 8/4 อิมพีแดนซ์รวม = 2 โอห์ม

การต่อลำโพงแบบขนานดียังไง?

เป็นการต่อลำโพงที่ง่ายที่สุด แต่ก็มีข้อจำกัด หากยิ่งต่อลำโพงมากเท่าไหร่ ก็จะทำให้ค่าความต้านทานรวมต่ำลงไปเรื่อยๆ ส่งผลให้แอมป์ต้องทำงานหนักมากขึ้นเรื่อยๆ และเกิดความร้อนสะสมขึ้นเรื่อยๆ

การต่อลำโพงแบบผสม (Series-Parallel Circuit)

การต่อลำโพงแบบผสม (Series-Parallel Circuit) คือ การต่อลำโพงที่นำการต่อลำโพงแบบอนุกรม และขนานมารวมผสมกัน

วิธีการคำนวณ

คิดคำนวณทีละส่วน คือ ส่วนที่ต่อแบบอนุกรม และส่วนที่ต่อกันแบบขนาน แล้วจึงนำส่วนดังกล่าวมาอนุกรมหรือขนานกับแล้วแต่ความเหมาะสม

ตัวอย่าง

มีดอกลำโพง 4 ดอก ดอกที่ 1 ต่อแบบอนุกรมกับดอกที่ 2 และดอกที่ 3 อนุกรมกับดอกที่ 3 และที่สองชุดขนานกัน อิมพีแดนซ์รวม = (8 + 8) // (8 + 8) อิมพีแดนซ์รวม = 16 / 16 อิมพีแดนซ์รวม = 8 โอห์ม

การต่อลำโพงแบบผสมดียังไง?

การต่อลำโพงแบบผสม มีความซับซ้อนเล็กน้อย แต่จะให้เสียงที่ค่อนข้างดี ทั้งยังสามารถควบคุมความต้านทานรวมได้เพื่อที่จะให้แอมป์ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ไม่ทำงานหนักจนเกินไป เสียงที่ออกมาก็เต็ม คมชัด ไม่เกิดการสูญเสียสัญญาณเสียงในระบบ

ข้อควรระวังในการต่อลำโพง

ข้อควรระวังของการการต่อลำโพง คือ เรื่องของขั้วลำโพง หากต่อลำโพงพ่วงกันหลายดอก เกิดปัญหาต่อกันผิดขั้ว ก็จะส่งผลให้เกิดการหักล้างของเฟสกัน ทำให้ได้เสียงที่เบาลง และหากการต่อพ่วงลำโพงมากจนเกินไป ทำให้ค่าอิมพีแดนซ์ต่ำเกินไป อาจสร้างความเสียหายต่อเพาเวอร์แอมป์ได้ เพราะเพาเวอร์แอมป์บางตัว บางรุ่นไม่ได้ออกแบบมากเพื่อรองรับการใช้งานกับค่าอิมพีแดนซ์ต่ำ

ขอบคุณ Soundvision

ชมสินค้าได้ที่นี่

บทความที่คุณอาจจะสนใจ

ค่า Impedance คืออะไร?

ตอบ : ค่า Impedance (อิมพีแดนซ์) คือ ค่าความต้านทาน ในวงจรไฟฟ้ากระแสสลับที่มีผลต่อเฟสทางไฟฟ้า มีสัญลักษณ์ย่อเป็นตัว Z ใช้หน่วยเป็น Ω (โอห์ม) ในงานด้านเสียงค่าอิมพีแดนซ์เป็นค่าที่บ่งบอกการดึงกระแสไฟฟ้าของลำโพงตัวนั้นๆ มีหน่วยเป็นโอห์ม (Ω)

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้