การต งค าการเป ดพล กหน งส อในฟ บอ ลบ ม

มาตราตัวสะกด คือ พยัญชนะที่ผสมอยู่ข้างหลังคำหรือพยางค์ มาตราตัวสะกดมีทั้งที่ใช้ตัวสะกดตรงแม่ และมาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงแม่ การเรียนรู้มาตราตัวสะกดต่างๆ ทำให้เขียนและอ่านคำได้ถูกต้อง

มาตรา ก กา หรือแม่ ก กา คือ คำหรือพยางค์ที่ไม่มีตัวสะกด เช่น มา เสือ ตัว มือ เสีย ดำ ฯลฯ ส่วนมาตราตัวสะกดมีทั้งหมด 2 แม่ คือ กก กด กบ กม เกย เกอว กง กน

โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

มาตราตัวสะกดตรงแม่ ใช้ตัวสะกดตัวเดียว มี 4 มาตรา คือ

  • แม่กง ใช้ ง สะกด เช่น หาง ปลิง สอง งง แรง ฯลฯ
  • แม่กม ใช้ ม สะกด เช่น ลม แต้ม โสม มุม งอม สนาม ฯลฯ
  • แม่เกย ใช้ ย สะกด เช่น สาย ลอย โปรย เฉย ปุ๋ย ฯลฯ
  • แม่เกอว ใช้ ว สะกด เช่น แห้ว กาว เปรี้ยว เปลว ฯลฯ

มาตราตัวสะกดไม่ตรงแม่ มีตัวสะกดหลายตัวในมาตราเดียวกัน เพราะออกเสียงเหมือนตัวสะกดเดียวกัน มี 4 มาตรา คือ

หนีบหรือกางนิ้วแล้วหมุน: แตะ กำหนดเอง แล้วแตะ หนีบหรือกางนิ้วแล้วหมุน เมื่อวงกลมการหนีบหรือกางนิ้วสองวงแสดงขึ้น ให้แตะที่ใดก็ได้บนหน้าจอเพื่อย้ายวงกลมการหนีบหรือกางนิ้วนั้น แล้วลากวงกลมเหล่านั้นเข้าหรือออกเพื่อใช้คำสั่งนิ้วหนีบหรือกางนิ้วหรือหมุน เมื่อคุณทำเสร็จ ให้แตะปุ่มเมนู

  • การปัดหรือการลากแบบหลายนิ้ว: แตะ อุปกรณ์ > อื่นๆ > คำสั่งนิ้ว จากนั้นแตะจำนวนนิ้วที่ต้องการตามตัวเลขสำหรับคำสั่งนิ้ว เมื่อวงกลมแสดงขึ้นบนหน้าจอ ให้ปัดหรือลากในทิศทางที่ต้องใช้สำหรับคำสั่งนิ้วนั้นๆ เมื่อคุณทำเสร็จ ให้แตะปุ่มเมนู

ในการกลับไปยังเมนูก่อนหน้า ให้แตะลูกศรตรงกึ่งกลางของเมนู ในการออกจากเมนูโดยไม่ดำเนินการคำสั่งนิ้ว ให้แตะที่ใดก็ได้ด้านนอกเมนู

การเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศโลก

เมื่อ :

วันจันทร์, 15 กุมภาพันธ์ 2564

การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก

จงบอก 1 คำที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก หรือ climate change !

หลายคนอาจบอกคำที่ตรงกัน เช่น “ภาวะโลกร้อน ( Global warming )” “แก๊สเรือนกระจก ( Greenhouse gases )” หรือ “แผ่นน้ำแข็งที่ขั้วโลกลดลง” ในบทเรียนนี้เราจะได้เรียนรู้คำเหล่านี้ รวมถึงเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจสถานการณ์ภูมิอากาศของโลก รวมถึงตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์กับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกว่ามีผลกระทบหรือสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างไร

ภาพที่ 1 มวลน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกลดลงอย่างรวดเร็วเป็นปรากฏการณ์หนึ่งที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ที่มา : //pixabay.com, SarahNic

การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ( Climate Change ) คืออะไร

การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลกโดยเฉลี่ยในช่วงเวลาที่ยาวนาน ซึ่งอาจนับช่วงเวลาเป็นระยะสิบปี ร้อยปี หรือพันปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ เช่น อุกกาบาตชนโลก อาจส่งผลให้ภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลงได้ในช่วงหลายสิบปี ขณะที่มลภาวะทางอากาศ อาจทำให้ภูมิอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงได้ในช่วงร้อยปี เป็นต้น

สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก

เราสามารถแบ่งสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก เป็น 2 ปัจจัยหลัก ๆ นั่นคือ ปัจจัยทางธรรมชาติ และปัจจัยที่เกิดจากมนุษย์ โดยปัจจัยทางธรรมชาติที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงวงโคจรของโลกที่หมุนรอบดวงอาทิตย์ อุกกาบาตชนโลก เป็นต้น ส่วนปัจจัยที่เกิดจากมนุษย์นั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และส่งผลให้ภูมิอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกอันเนื่องมาจากมนุษย์เป็นหลัก

แก๊สเรือนกระจก ( Greenhouse gases )

บรรยากาศของโลกประกอบด้วยไนโตรเจน ออกซิเจน และอาร์กอน เป็นองค์ประกอบหลักของบรรยากาศ แต่ยังมีแก๊สโมเลกุลใหญ่ เช่น ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน เปอร์ฟลูออโรคาร์บอน ไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ และสารกลุ่มคลอโรฟลูออโรคาร์บอน ซึ่งเป็นแก๊สที่มีความสามารถในการดูดกลืนรังสีอินฟราเรด ทำให้เกิดการกักเก็บความร้อนในชั้นบรรยากาศ ส่งผลให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกอบอุ่นขึ้น เราเรียกแก๊สเหล่านี้ว่า “แก๊สเรือนกระจก” ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากกิจกรรมของมนุษย์ มีการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกสู่บรรยากาศจำนวนมาก แก๊สเรือนกระจกที่ถูกปลดปล่อยมากที่สุด ได้แก่ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งหมุนเวียนอยู่ในวัฏจักรคาร์บอน ดังภาพที่ 2

ภาพที่ 2 วัฏจักรคาร์บอน ที่มา : ดัดแปลงจาก //commons.wikimedia.org/wiki/File:Carbon-cycle-full.jpg

จากภาพที่ 2 แสดงวัฏจักรคาร์บอน ซึ่งหมายถึงการหมุนเวียนของธาตุคาร์บอนในสิ่งมีชีวิต พื้นดิน น้ำ และบรรยากาศของโลก โดยเริ่มพิจารณาคาร์บอนในรูปของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีอยู่ในบรรยากาศถูกใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช และกลับสู่บรรยากาศได้จากกระบวนการหายใจของพืชและสัตว์ ขณะเดียวกันแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศอาจถูกสะสมในน้ำจากการถูกชะล้างด้วยฝน กลายเป็นกรดคาร์บอนิกแล้วทำปฏิกิริยากับแร่หินปูนหรือแคลเซียมคาร์บอเนต เกิดเป็นไบคาร์บอเนตหรือคาร์บอเนต ถ่ายทอดสู่แพลงก์ตอนพืชในมหาสมุทร สุดท้ายกลายเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำหรือกลับคืนสู่ชั้นบรรยากาศได้ด้วยกระบวนการหายใจของพืชและสัตว์ในทะเลและเป็นตะกอนทับถมเป็นซากฟอสซิลในก้นทะเลลึก คาร์บอนส่วนหนึ่งมีการถ่ายทอดไปตามห่วงโซ่อาหารจากพืชสู่สัตว์ในรูปของสารอินทรีย์ เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน เมื่อสิ่งมีชีวิตตายและถูกย่อยสลาย สารอินทรีย์ที่ในซากพืชซากสัตว์ที่ถูกทับถมเป็นเวลานาน ในบางสภาวะนั้นสามารถกลายเป็นคาร์บอนในรูปของถ่านหินหรือปิโตรเลียม แล้วถูกนำมาใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ เช่น การคมนาคมขนส่งหรือการทำงานของเครื่องจักรในภาคอุตสาหกรรมหรือในครัวเรือน เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ทำให้คาร์บอนเปลี่ยนเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศได้อย่างรวดเร็ว และเมื่อมีปริมาณมากขึ้นจึงส่งผลให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นในระยะยาว

ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก

การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกอันเนื่องมาจากกิจกรรมของมนุษย์นั้น ทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั่วโลกที่เป็นตัวบ่งชี้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก เช่น ภาวะโลกร้อน ( Global warming ) การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การหดตัวของธารน้ำแข็ง การหลอมเหลวของน้ำแข็งบริเวณขั้วโลก การเปลี่ยนแปลงวัฏจักรน้ำ การเปลี่ยนแปลงช่วงเวลาผลิบานของดอกไม้หรือพืช การเกิดโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ เป็นต้น โดยปรากฏการณ์ต่าง ๆ นั้นล้วนส่งผลเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน

ภาวะโลกร้อน ( Global warming ) คือ ปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยสูงขึ้นในระยะยาว โดยนักวิทยาศาสตร์ ( NASA's Scientific Visualization Studio, 2020 ) พบว่าอุณหภูมิของพื้นผิวโลกเฉลี่ยในช่วงปี ค.ศ. 1980 - 2019 สูงขึ้นประมาณ 0.98 องศาเซลเซียส ( สูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงปี ค.ศ. 1951 – 1980 ) ซึ่งถือว่าเป็นค่าที่สูงที่สุดในรอบ 140 ปี และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในระยะยาว ทั้งนี้มีหลักฐานพบว่าภาวะโลกร้อนในปัจจุบันนั้นเกิดขึ้นเร็วกว่าอัตราเฉลี่ยของภาวะโลกร้อนในยุคน้ำแข็งประมาณ 10 เท่า จากการเก็บข้อมูลของนักวิทยาศาสตร์ ทำให้พบว่าการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลกนี้สัมพันธ์กับปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศและสอดคล้องกับระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย ผลดังกล่าวสอดคล้องกับปรากฏการณ์ที่มวลน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกลดลงอย่างรวดเร็ว จากหลักฐานการสำรวจแผ่นน้ำแข็งบริเวณเกาะกรีนแลนด์และทวีปแอนตาร์กติก พบว่าที่เกาะกรีนแลนด์ มีมวลน้ำแข็งลดลงโดยเฉลี่ย 286 พันล้านตันต่อปี (ระหว่างปี ค.ศ. 1993 – 2016) ขณะที่บริเวณทวีปแอนตาร์กติก มีมวลน้ำแข็งลดลง ประมาณ 127 พันล้านตันต่อปีในช่วงเวลาเดียวกัน เป็นที่น่าสังเกตว่าอัตราการสูญเสียมวลน้ำแข็งในทวีปแอนตาร์กติกนั้นเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าในทศวรรษที่ผ่านมา

นอกจากนี้ยังมีหลักฐานอื่น ๆ ที่แสดงว่าภูมิอากาศโลกกำลังเปลี่ยนแปลง เช่น ภัยธรรมชาติที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดบ่อยครั้งและรุนแรงมากยิ่งขึ้น เช่น ภัยแล้ง ไฟป่า พายุไต้ฝุ่นโซนร้อน น้ำท่วม และการพังทลายของชั้นดิน เป็นต้น ปรากฏการณ์ที่ปะการังฟอกสีหรือการเปลี่ยนสีของปะการังอันเนื่องมาจาก อุณหภูมิของน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น จากข้อมูลดังกล่าวจึงอาจเชื่อมโยงได้ว่า เมื่อประชากรโลกเพิ่มมากขึ้น กิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ทำให้เกิดแก๊สเรือนกระจก ทำให้มีการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกสู่บรรยากาศ ( โดยเฉพาะคาร์บอนไดออกไซด์ ) เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนและปรากฏการณ์อื่น ๆ ตามมา จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกในที่สุด ดังภาพที่ 3

ภาพที่ 3 ผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกอันเนื่องมาจากกิจกรรมของมนุษย์ ที่มา : ดัดแปลงจาก //unsplash.com/photos/T-eDxGcn-Ok, //unsplash.com/photos/I53vswmQqC0 และ //unsplash.com/photos/i9w4Uy1pU-s

เราจะช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกได้อย่างไร

เป็นที่ทราบกันดีว่าการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกในปัจจุบันคือผลที่เกิดจากปัจจัยทางธรรมชาติร่วมกับการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ในอดีตที่ผ่านมาเป็นระยะเวลานาน การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์ในปัจจุบันจึงไม่สามารถสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงได้ในระยะเวลาอันสั้น อย่างไรก็ตามการลดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุของการสะสมแก๊สเรือนกระจกในบรรยากาศ ก็นับได้ว่าเป็นการช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกในระยะยาวได้ เช่น ลดกิจกรรมที่มีการใช้เชื้อเพลิงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ใช้จักรยานแทนจักรยานยนต์เมื่อเดินทางในระยะใกล้ การรับลมเย็นจากธรรมชาติทดแทนการใช้เครื่องปรับอากาศ ลดการใช้ถุงพลาสติก เป็นต้น หากจำเป็นต้องใช้พลังงานที่มีการใช้เชื้อเพลิงควรใช้อย่างประหยัดและคุ้มค่า เช่น ถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ใช้งาน ใช้รถประจำทางแทนการใช้รถยนต์ส่วนตัว ใช้กระดาษแต่ละแผ่นให้คุ้มค่า เป็นต้น

กล่าวโดยสรุป ภูมิอากาศโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องโดยปัจจัยทางธรรมชาติ แต่ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากกิจกรรมของมนุษย์ในการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกสู่บรรยากาศ แก๊สเรือนกระจกที่ถูกปลดปล่อยมากที่สุด ได้แก่ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งหมุนเวียนอยู่ในวัฏจักรคาร์บอน การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เช่น การหลอมเหลวของน้ำแข็งขั้วโลก การเพิ่มขึ้นของระดับทะเล การเปลี่ยนแปลงวัฏจักรน้ำ การเกิดโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ และการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงขึ้นมนุษย์จึงควรเรียนรู้แนวทางการปฏิบัติตนภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว ทั้งแนวทางการปฏิบัติตนให้เหมาะสมและแนวทางการลดกิจกรรมที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก

แหล่งที่มา

ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ (LISA). ภาวะโลกร้อน. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2563, จาก //www.lesa.biz/earth/global-change/global-warming

ทรูปลูกปัญญา. บทเรียนออนไลน์ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ภาวะโลกร้อน (Global Warming). สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2563, จาก //www.trueplookpanya.com/learning/detail/16208

NASA's Scientific Visualization Studio. Global Temperature Anomalies from 1880 to 2019. Retrieved February 20, 2020, from //svs.gsfc.nasa.gov/4787

NASA’s Global Climate Change: Vital Signs of the Planet. Climate Change: How do we know? Retrieved February 20, 2020, from //climate.nasa.gov/evidence/

กระบวนการเกิดฝน หิมะ และลูกเห็บ

ในการที่สิ่งมีชีวิตจะดำรงชีวิตอยู่บนโลกได้นั้น อากาศเป็นปัจจัยที่สำคัญปัจจัยหนึ่ง โดยสิ่งมีชีวิตบนโลกจะต้องใช้อากาศในการหายใจ พืชต้องการแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในการสร้างอาหาร เรื่องราวเกี่ยวกับลมฟ้าอากาศนั้นเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวเรามาก และโดยทั่วไปสภาพอากาศบนโลกของเราจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ดังนั้นมนุษย์จึงต้องสนใจศึกษาการเปลี่ยนแปลงของลมฟ้าอากาศ เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ทั้งในการประกอบอาชีพ และการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม

ในบทเรียนนี้ผู้เขียนขอนำเสนอความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของลมฟ้าอากาศ ใน 3 รูปแบบ ได้แก่กระบวนการเกิดฝน หิมะ และลูกเห็บ หรือเรียกรวมกันว่า หยาดน้ำฟ้า ในแง่เปรียบเทียบว่าทั้งสามอย่างนั้นมีกระบวนการเกิดที่เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ไปเรียนรู้กันเลยค่ะ

กระบวนการเกิดฝน

ถ้าจะอธิบายถึงกระบวนการเกิดฝน คงจะอธิบายให้ครบถ้วนกระบวนความไม่ได้ถ้าหากไม่ได้อ้างอิงถึง วัฏจักรของน้ำ เพราะฝนก็คืออีกรูปหนึ่งของน้ำ ที่เกิดและหมุนเวียนอยู่ในโลกนี้เอง

วัฏจักรของน้ำ เป็นการเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำระหว่าง ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส จากสถานะหนึ่งไปสถานะหนึ่งอย่างต่อเนื่อง ไม่มีสิ้นสุดภายในอุกทกภาค ( Hydrosphere ) เริ่มต้นจากน้ำในแหล่งน้ำต่าง ๆ ของโลก ได้แก่ มหาสมุทร ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ ฯลฯ ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ก็จะระเหยกลายเป็นไอ ลอยตัวสูงขึ้นสู่บรรยากาศ นอกจากนี้ยังมีน้ำที่เกิดจากการคายน้ำของพืช การหายใจของสิ่งมีชีวิตอีกด้วย และเมื่อไอน้ำกระทบกับความเย็นของอากาศที่อยู่เบื้องบนก็จะควบแน่นกลายเป็นละอองน้ำเล็ก ๆ รวมตัวกันอยู่เป็นกลุ่มบนท้องฟ้า เรียกว่า เมฆ นั่นเอง เราเรียกอุณหภูมิ ณ จุดที่ไอน้ำในอากาศเกิดการควบแน่นกลายเป็นละอองน้ำ ว่า จุดน้ำค้าง ( Dew Point )

เมื่อเมฆมารวมตัวกันมาก ๆ ละอองน้ำที่รวมตัวกันเป็นก้อนเมฆเกิดการควบแน่นจนกลายเป็นหยดน้ำ และเมื่อหยดน้ำนี้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนไม่สามารถลอยอยู่บนก้อนเมฆได้อีกต่อไป ก็จะตกลงสู่พื้นดิน กลายเป็นฝน

กระบวนการเกิดลูกเห็บ

ลูกเห็บคือ ก้อนน้ำแข็งที่ตกลงมาจากฟ้าขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ส่วนมากจะเกิดขึ้นในพายุฤดูร้อน โดยเม็ดฝนที่เย็นจัดจนเป็นน้ำแข็งถูกพัดวนอยู่ในเมฆคิวมูโลนิมบัส ซึ่งภายในก้อนเมฆจะมีกระแสอากาศที่หมุนวนเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทั้งกระแสลมที่ไหลขึ้น และกระแสลมที่ไหลลง เม็ดฝนหรือละอองน้ำจะถูกพัดขึ้นไป ซึ่งบริเวณที่สูงขึ้นไปเหนือระดับการแข็งตัว ( Freezing Level ) อุณหภูมิจะต่ำมากทำให้เม็ดฝนแข็งตัว และจะพบกับหยดน้ำเย็นยิ่งยวด ( Supercooled Droplet ) ซึ่งจะเกาะผิวของก้อนน้ำแข็งและแข็งตัวเคลือบก้อนน้ำแข็ง ครั้นพอเม็ดน้ำแข็งตกลงมาส่วนล่างของกลุ่มเมฆซึ่งเย็นน้อยกว่าด้านบน ความชื้นก็จะเข้าไปห่อหุ้มเม็ดน้ำแข็งอีกชั้นหนึ่ง แล้วกระแสลมก็พัดเอาเม็ดน้ำแข็งกลับขึ้นไปด้านบนของกลุ่มเมฆอีก วนซ้ำไปมาหลายครั้งในกลุ่มเมฆ ด้วยกระบวนการเช่นนี้ ทำให้เม็ดน้ำแข็งก็ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งอากาศด้านล่างไม่สามารถรับน้ำหนักได้ ก็จะตกลงมาสู่พื้นดิน และถ้าเราทุบก้อนลูกเห็บให้แตกออก เราจะเห็นภายในลักษณะเป็นวงของชั้นน้ำแข็ง คล้ายหัวหอม ซึ่งแสดงถึงกระบวนการเกิดของลูกเห็บที่มีการพอกตัวของไอน้ำเป็นชั้น ๆ นั่นเอง

ภาพกระบวนการเกิดลูกเห็บ

กระบวนการเกิดหิมะ

หิมะ เป็นหยาดน้ำฟ้ารูปแบบหนึ่ง อยู่ในรูปของผลึกน้ำแข็ง มีโครงสร้างที่กลวงทำให้มีความนุ่ม เมื่อสัมผัส เกิดจากไอน้ำที่เป็นหยดน้ำเย็นยิ่งยวด ( Supercooled Droplet ) เกิดการระเหิดกลับเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง โดยอาศัยแกนซึ่งเรียกว่า “แกนน้ำแข็ง” ( Ice nuclei ) เพื่อให้ไอน้ำจับตัวเป็นผลึกน้ำแข็ง น้ำเย็นยิ่งยวดจะเกิดการระเหิดกลับเช่นนี้ได้ ในก้อนเมฆมีน้ำครบทั้งสามสถานะ คือ น้ำแข็ง หยดน้ำ และไอน้ำ และมีแรงดันไอน้ำที่แตกต่างกัน ผลึกน้ำแข็งจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อปะทะกับหยดน้ำเย็นยิ่งยวดซึ่งจะทำให้เกิดการเยือกแข็งและรวมตัวให้ผลึกมีขนาดใหญ่ยิ่งขึ้นไปอีก นอกจากนั้นผลึกน้ำแข็งอาจจะปะทะกันเอง จนทำให้เกิดผลึกขนาดใหญ่ที่เรียกว่า “เกล็ดหิมะ” ( Snow flake )

หิมะจะเกิดในบริเวณเขตหนาวที่มีอุณหภูมิของอากาศใต้ฐานเมฆไปจนถึงพื้นดินลดต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส จึงจะสามารถตกลงสู่พื้นโลกในขณะที่เป็นผลึกน้ำแข็งอยู่ หิมะที่ตกลงมานั้นจะไม่มีรูปร่างเป็นก้อนกลม ๆ เหมือนลูกเห็บ หิมะจะมีลักษณะเป็นผลึกบาง ๆ รูปร่างของผลึกก็จะแตกต่างกันไปแต่โดยส่วนมากจะเป็นสมมาตรแบบหกด้านเสมอ เนื่องมาจากเกล็ดน้ำแข็งปกตินั้นมีโครงสร้างผลึกหกเหลี่ยม

ในการเกิดปรากฏการณ์หยาดน้ำฟ้าทั้งสามชนิด เป็นการเปลี่ยนแปลงของลมฟ้าอากาศที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล ซึ่งเป็นเรื่องปกติในการเปลี่ยนแปลงของลม ฟ้า อากาศบนโลก และเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลก แต่บางครั้งหากเกิดในสภาวะที่รุนแรงเกินไปก็อาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตได้ เช่น พายุฝนที่รุนแรง อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ลูกเห็บมีความแข็งเป็นก้อนน้ำแข็งสามารถสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน พายุหิมะ ก่อให้เกิดการบดบังทัศนวิสัยทำให้นักบินไม่สามารถนำเครื่องบินขึ้นหรือลงได้ เป็นต้น

แหล่งที่มา

บทเรียนออนไลน์ กระทรวงศึกษาธิการ. การเกิดหมอก เมฆ และฝน. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2563, จาก //www.youtube.com/watch?v=g5Et-Ec-BSE

ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ ( LESA ). หยาดน้ำฟ้า. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2563, จาก //www.lesa.biz/earth/atmosphere/precipitation

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ( สวทช. ). ลูกเห็บคืออะไร?. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2563, จาก //www.nstda.or.th/th/vdo-nstda/science-day-techno/4090-hail

Thai PBS. ลูกเห็บเกิดขึ้นได้อย่างไร? (How does hail form?). สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2563, จาก //www.youtube.com/watch?v=ySix4t56Rd8

ปรากฏการณ์เรือนกระจก

ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญที่สุดต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตบนโลก พลังงานความร้อนที่กระจายจากดวงอาทิตย์มายังโลก เรียกว่า รังสีดวงอาทิตย์ หรือพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งแผ่พลังงานมายังโลกในลักษณะคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อรังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ส่องมายังพื้นผิวโลก ชั้นบรรยากาศของโลกจะสะท้อนรังสีส่วนหนึ่งกลับออกไปสู่อวกาศ รังสีดวงอาทิตย์ที่มาถึงพื้นผิวโลกจะมีความยาวคลื่นตั้งแต่ช่วงยูวี ( Ultra Violet ) แสงสว่าง ( Visible ) ไปจนถึงอินฟราเรด ( Infrared ) มีความยาวคลื่นอยู่ระหว่าง 300 – 3000 นาโนเมตร โดยรังสีจากดวงอาทิตย์ที่มาถึงผิวโลกส่วนมากจะเป็นรังสีในช่วงแสงสว่าง ( Visible ) มีความยาวคลื่นในช่วง 400 - 700 นาโนเมตร

ภาพที่ 1 แผนผังสรุปการเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก ที่มา : // commons.wikimedia.org/, US EPA

เมื่อโลกได้รับรังสีจากดวงอาทิตย์พื้นน้ำ พื้นดิน และสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ จะดูดกลืนพลังงานไว้ และหลังจากนั้นก็จะคายพลังงานออกมาในรูปของรังสีอินฟราเรด แผ่กระจายขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ และแผ่กระจายออกนอกชั้นบรรยากาศไปส่วนหนึ่ง กลุ่มแก๊สเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศจะทำหน้าที่ดูดกลืนไว้ และคายพลังงานความร้อนออกมา ทำให้อากาศใกล้ผิวโลกอุ่นขึ้น และทำให้โลกสามารถรักษาสภาพสมดุลทางอุณหภูมิไว้ได้ ปรากฏการณ์ดังกล่าว เรียกว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก

ปรากฏการณ์เรือนกระจก ชื่อมีที่มาจากเรือนกระจก ( Greenhouse ) ที่ประเทศในเขตหนาวนิยมใช้ในการเพาะปลูกต้นไม้ กลไกที่เกิดในเรือนกระจกคือ พลังงานแสงอาทิตย์สามารถผ่านเข้าไปภายในได้แต่ความร้อนที่อยู่ภายในจะถูกกักเก็บโดยกระจกไม่ให้สะท้อนหรือแผ่ออกสู่ภายนอกได้ทำให้อุณหภูมิของอากาศภายในอบอุ่น และเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชแตกต่างจากภายนอกที่ยังหนาวเย็น แต่อันที่จริงแล้วปรากฏการณ์เรือนกระจกที่เกิดบนโลกมีกลไกในการเกิดแตกต่างปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในเรือนกระจก กล่าวคือ ความร้อนที่โลกคายออกมาในรูปของรังสีอินฟราเรด ไม่ได้ถูกกักเก็บไว้ในโลกทั้งหมด มีบางส่วนสามารถแผ่กระจายออกไปนอกบรรยากาศได้

แก๊สเรือนกระจก ( Greenhouse Gases )

แก๊สเรือนกระจก คือแก๊สที่เป็นองค์ประกอบของบรรยากาศโลกซึ่งห่อหุ้มโลกไว้ เสมือนเรือนกระจก ในโรงเรือนอนุบาลพืช มีคุณสมบัติในการดูดซับคลื่นรังสีความร้อน หรือรังสีอินฟราเรดได้ดี แก๊สนี้ มีความสำคัญในการรักษาระดับอุณหภูมิของโลกให้คงที่ ถ้าหากไม่มีแก๊สเรือนกระจกแล้ว กลางคืนโลกจะเย็นมากอุณหภูมิเฉลี่ยที่พื้นผิวโลกจะประมาณ -18 °C และในกลางวันโลกของเราก็จะร้อนมากเช่นกัน แก๊สเรือนกระจกมีมาจากสองแหล่งคือเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และเกิดจากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่ ไอน้ำ ( H2O ) แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ( CO2 ) แก๊สมีเทน ( CH4 ) แก๊สไนตรัสออกไซด์ ( NO2 ) ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ ( SF6 ) ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน ( HFCs ) เปอร์ฟลูออโรคาร์บอน ( PFCs ) ไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ ( NF3 ) และสารกลุ่มคลอโรฟลูออโรคาร์บอน ( Chlorofluorocarbon หรือ CFC )

แก๊สเรือนกระจกที่ถูกควบคุมโดยพิธีสารเกียวโต มีเพียง 7 ชนิด โดยจะต้องเป็นก๊าซที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ( Anthropogenic greenhouse gas emission ) เท่านั้น ได้แก่ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สมีเทน แก๊สไนตรัสออกไซด์ แก๊สไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน แก๊สเปอร์ฟลูออโรคาร์บอน ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ และไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ ทั้งนี้ ยังมีแก๊สเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ที่สำคัญอีกนิดหนึ่ง คือ คลอโรฟลูออโรคาร์บอน ซึ่งใช้เป็นสารทำความเย็นและใช้ในการผลิตโฟม แต่ไม่ถูกกำหนดในพิธีสารเกียวโต เนื่องจากเป็นสารที่ถูกจำกัดการใช้ในพิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนแล้ว

ภาพที่ 2 แผนผังแสดงแก๊สเรือนกระจกชนิดต่าง ๆ

ผลกระทบของปรากฏการณ์เรือนกระจก

ปรากฏการณ์เรือนกระจกเป็นปรากฏการณ์ที่มีความสำคัญต่อโลกของเรา ช่วยทำให้โลกสามารถรักษาสภาพสมดุลทางอุณหภูมิไว้ได้ ทำให้เกิดวัฏจักรน้ำ อากาศ และฤดูกาลต่าง ๆ ที่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ บนโลก แต่ในปัจจุบันชั้นบรรยากาศของโลกมีปริมาณแก๊สเรือนกระจกมากเกินสมดุลของธรรมชาติ อันเป็นผลมาจากกิจกรรมของมนุษย์ที่มีการปล่อยมลพิษ รวมถึงแก๊สเรือนกระจกเข้าสู่บรรยากาศในปริมาณมาก เช่นการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่าง ๆ การปล่อยของเสียจากอุตสาหกรรมของผลิตภัณฑ์ตู้เย็น สเปรย์ และพลาสติก ฯลฯ ส่งผลกระทบต่อการเพิ่มอุณหภูมิของพื้นผิวโลก นอกจากนี้ สารประกอบจำพวกคลอโรฟลูออโรคาร์บอน สามารถรวมตัวกับโอโซน ทำให้โอโซนในชั้นบรรยากาศลดน้อยลง ส่งผลให้รังสีคลื่นสั้นที่ส่องผ่านชั้นโอโซนลงมายังพื้นผิวโลกได้มากขึ้น รวมทั้งปล่อยให้รังสีที่ทำอันตรายต่อมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตส่องผ่านลงมาทำอันตรายกับสิ่งมีชีวิตบนโลกได้ด้วย

ประเทศต่าง ๆ ในโลกต่างหันมาร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน โดยการสร้างมาตรการทางกฎหมายในพิธีสารเกียวโต ( Kyoto Protocol ) ซึ่งมีการเจรจาตกลงกันเมื่อ 11 ธันวาคม 2540 และมีผลบังคับใช้เมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2548 มีประเทศที่เข้าร่วมให้สัตยาบัน 187 ประเทศ โดยประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเมื่อเดือนสิงหาคม 2545 ซึ่งประเทศสมาชิกแต่ละประเทศต้องหามาตรการลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกออกสู่บรรยากาศโดยมีเป้าหมายว่าภายในปี 2555 ซึ่งเป็นปีที่สิ้นสุดการใช้พิธีสารโตเกียวต้องลดปริมาณแก๊สเรือนกระจกลงให้ได้ 5.2 % เมื่อเทียบกับปี 2533 ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะสิ้นสุดพิธีสารเกียวโต แต่ทั่วโลกยังคงดำเนินการลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง ภายใต้อนุสัญญาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ( United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC )

สำหรับประเทศไทยได้จัดตั้งองค์การบริหารการจัดการแก๊สเรือนกระจก ( องค์กรมหาชน ) ภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อปฏิบัติงานด้านบริหารเกี่ยวกับพัฒนาโครงการที่จะนำไปสู่การลดการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกภายใต้กลไกการพัฒนาที่สะอาด โดยได้มีการดำเนินกิจกรรมการต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ในการลดแก๊สเรือนกระจกของประเทศไทย ภายในปี 2563 และ 2573 เช่น โครงการลดก๊าซเรือนกระจก โครงการภาคีสนับสนุนป่าชุมชนลดโลกร้อน โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ เพื่อสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจกในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ฉลากคาร์บอน ตลาดคาร์บอน เป็นต้น

แหล่งที่มา

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). หนังสือเรียน รายวิชาเพิ่มเติม โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ เล่ม 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6. กรุงเทพ. องค์การค้าของ สกสค.

องค์การบริหารการจัดการแก๊สเรือนกระจก (องค์กรมหาชน). โครงการลดแก๊สเรือนกระจก. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2563, จาก //www.tgo.or.th/2015/thai/content.php?s1=1

It’s AumSum Time ; Learning Science & Math. Greenhouse Effect. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2563, จาก //youtu.be/x_sJzVe9P_8

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้