กองพ นศพ เป ดนรกส บ มาร ลา ม ลคอล ม

“ทุกชีวิตย่อมลิ้มรสความตาย” (อัลกุรอาน 21:35) เป็นข้อความที่มุสลิมจำไว้เตือนใจตนเองเพื่อให้พร้อมรับวินาทีที่ลมหายใจสุดท้ายของตนมาถึงในสักวัน ศาสนาอิสลามเชื่อว่าพระเจ้าสร้างมนุษย์ขึ้นโดยกำหนดเวลาเกิดและเวลาสิ้นลมไว้ให้แล้ว มนุษย์มีเพียงชีวิตเดียว ตายแล้วไม่กลับมาเกิดอีก แต่ในศาสนาอิสลามความตายไม่ใช่การสิ้นสุดของชีวิต แต่เป็นการเปลี่ยนผ่านจากโลกหนึ่งไปสู่อีกโลกหนึ่งซึ่งมนุษย์จะได้พบเจอถึง 3 โลกคือ ดุนยา อาลัมบัรซัค และอาคิเราะฮ์

‘ดุนยา’ คือโลกที่เราใช้ชีวิตกันอยู่นี่เอง สิ่งที่เห็นที่เป็นในโลกนี้เป็นเพียงของชั่วคราว ทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาในชีวิตคือบททดสอบความเชื่อและความยำเกรงในพระเจ้า เมื่อตายลงจะย้ายไปยังโลกที่สองคือ ‘อาลัมบัรซัค’ ซึ่งเป็นโลกของชีวิตในหลุมฝังศพ มนุษย์จะถูกส่งมายังอาลัมบัรซัคโดยนำสิ่งใดจากดุนยาติดตัวมาไม่ได้เลย ยกเว้นความดีที่เคยทำไว้ และความดี 3 ประการที่จะมีผลต่อไปถึงชีวิตในโลกหน้า อันได้แก่การให้ทานที่เขายังมีคุณูปการอยู่ (เช่น เคยบริจาคเงินสร้างสิ่งสาธารณะประโยชน์ และยังมีคนใช้ประโยชน์จากสิ่งนั้นอยู่หลังจากที่ผู้บริจาคได้ตายไปแล้ว) ความรู้ที่เขาได้เผยแผ่ และลูกที่ดีคอยขอพรให้

การละหมาดและขอพรอุทิศให้ผู้ตายในวัฒนธรรมมุสลิม ภาพ : นเรนทร์ อหะหมัดจุฬา

การฝังศพของมุสลิม ภาพ : นเรนทร์ อหะหมัดจุฬา

ภาพการฝังศพของมุสลิมในจิตรกรรมอาหรับ ค.ศ. 1237 ภาพ : Bibliothèque nationale de France

เล่ามาถึงตรงนี้แล้วก็ขอแทรกเรื่องเกี่ยวกับพิธีฝังศพของศาสนาอิสลามสักนิดก่อนจะพูดถึงชีวิตในโลกสุดท้าย การทำศพของศาสนาอิสลามคือการฝัง เป็นการกลับคืนสู่ดินที่เป็นต้นกำเนิดของตนเอง เพราะในคัมภีร์อัลกุรอานกล่าวว่า “จากแผ่นดินเราได้บังเกิดพวกเจ้า และ ณ แผ่นดินนั้นเราจะให้พวกเจ้ากลับคืนไป…” (อัลกุรอาน 20:55)

เมื่อพี่น้องมุสลิมคนใดสิ้นชีพลง มุสลิมจะกล่าวเป็นภาษาอาหรับว่า “อินนาลิลลาฮี วาอินนาอีลัยฮีรอญีอูน” แปลว่า “แท้จริงเราเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮ์ และยังพระองค์ที่เราต้องกลับไป” ครอบครัวและญาติมิตรจะมาช่วยกันทำพิธีศพ ศาสนาอิสลามไม่เน้นสิ่งใดที่เกินความจำเป็น พิธีศพของมุสลิมจึงเรียบง่ายและรวดเร็ว ส่วนใหญ่ใช้เวลาแค่วันเดียว ในงานเต็มไปด้วยความสำรวม เห็นถึงความร่วมแรงร่วมใจและน้ำใจไมตรีของญาติมิตรที่มาร่วมกันส่งศพ

การจัดการศพของมุสลิมมี 4 ขั้นตอน เริ่มจากให้คนในครอบครัวหรือผู้ใกล้ชิดมาอาบน้ำศพ ซึ่งอาจประพรมเครื่องหอมลงไปด้วย ถ้าผู้ตายเป็นชายผู้อาบก็ต้องเป็นผู้ชาย ถ้าผู้ตายเป็นหญิงผู้อาบก็ต้องเป็นผู้หญิง แล้วห่อศพด้วยผ้าขาวสะอาดเรียกว่า ‘ผ้ากะฝั่น’ บางแห่งอาจให้ผู้ตายสวมชุดละหมาดสีขาวแล้วห่อด้วยผ้ากะฝั่นทับอีกชั้น จากนั้นเคลื่อนศพไปที่มัสยิด ครอบครัวและญาติมิตรจะมาร่วมกันขอพรและละหมาดอุทิศให้ผู้ล่วงลับ ผู้ละหมาดจะต้องรู้ว่าผู้ตายเป็นชาย เป็นหญิง หรือเป็นเด็ก เพราะใช้บทขอพรต่างกัน

การขอพรในที่นี้ คือการวอนขอพระเจ้าให้ทรงเมตตา และยกโทษให้ผู้ตายในความผิดที่เขาอาจเคยได้ทำไว้ ในบางชุมชนผู้ร่วมงานจะกล่าวยืนยันว่าผู้ตายเป็นคนดี เพื่อขอให้พระเจ้าทรงกรุณาพาเขาสู่สวรรค์ด้วย ขั้นตอนสุดท้ายคือเคลื่อนศพไปที่กุโบร์ (สุสาน) แล้วนำศพลงฝังในหลุมที่ขุดไว้ โดยให้ศพนอนตะแคงหันหน้าไปยังทิศของกะบะฮ์ที่กรุงเมกกะฮ์ในประเทศซาอุดิอาระเบีย (ในประเทศไทยคือทิศตะวันตก) แล้วปักเครื่องหมายไว้บนหลุมเพื่อไม่ให้ใครเผลอมาเหยียบ และเพื่อให้ญาติมิตรจำได้เวลามาเยี่ยมผู้ตาย ด้วยการพูนดิน ปลูกต้นไม้ หรือใช้หินหรือไม้ปักหลุมศพ แต่ต้องเรียบง่ายไม่ตกแต่งมากเกินไป

ตัวอย่างกุโบร์หรือสุสานของมุสลิม

ตัวอย่างกุโบร์หรือสุสานของมุสลิม ภาพกุโบร์หาดทรายข้างมัสยิดดารุลอามาน อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี

กุโบร์ส่วนใหญ่จะอยู่ภายในเขตมัสยิดหรืออยู่ท่ามกลางย่านอยู่อาศัย ไม่ตั้งอยู่ในที่ที่ห่างไกลผู้คนเหมือนสุสานของศาสนาอื่นๆ เพราะศาสนาอิสลามสนับสนุนให้มุสลิมไปเยี่ยมสุสานเพื่อขอพรให้ผู้ล่วงลับ และเพื่อเตือนใจว่าความตายเป็นสิ่งใกล้ตัวที่จะมาถึงตนเองสักวัน

ชีวิตในโลกที่สองในหลุมฝังศพหรืออาลัมบัรซัคคือช่วงที่ดวงวิญญาณรอการมาถึงของวันพิพากษาที่เรียกว่า ‘วันกิยามะฮ์’ ในวันนั้นพระเจ้าจะบันดาลให้ผู้ตายทุกคนคืนชีพขึ้นมา เพื่อรับผลตอบแทนจากสิ่งที่เคยทำไว้ในโลกดุนยา เมื่อผ่านการตัดสินแล้ว มนุษย์จะถูกส่งไปยังโลกที่สามซึ่งเป็นโลกสุดท้ายที่มนุษย์จะได้พำนักอยู่ที่นั่นตลอดไปเรียกว่า ‘อาคิเราะฮ์’ โลกอาคิเราะฮ์มี 2 ส่วน สวรรค์กับนรก สวรรค์คืออาคิเราะฮ์ของคนดี นรกคืออาคิเราะฮ์ของคนชั่ว

ภาพสวรรค์ในฉากการเดินทางของศาสดามุฮัมมัดในค่ำคืนอิสรออ์-เมี๊ยะรอจ จิตรกรรม ค.ศ. 1436 ภาพ : Bibliothèque nationale de France

พรมจากอิหร่าน คริสต์ศตวรรษที่ 17 ทำเป็นลายสวนและแม่น้ำสี่สายในสวรรค์ ภาพ : Wikipedia

ภาพนรกในฉากการเดินทางของศาสดามุฮัมมัดในค่ำคืนอิสรออ์-เมี๊ยะรอจ จิตรกรรม ค.ศ. 1436 ภาพ : Bibliothèque nationale de France

สวรรค์ในศาสนาอิสลามเรียกว่า ‘ญันนะฮ์’ เป็นที่อยู่ของคนดีและผู้ที่เชื่อในพระเจ้า ในญันนะฮ์มีแต่ความร่มเย็นเป็นสุข อุดมด้วยพืชพรรณและผลไม้นานาชนิด ทั้งยังมีธารน้ำนม น้ำผึ้ง และน้ำจัณฑ์ให้ดื่มกิน ในสถาปัตยกรรมอิสลามจึงมักมีสวน ลำธาร และตกแต่งอาคารด้วยลายพรรณพฤกษา หรือลดทอนภาพของสวรรค์เป็นลวดลายบนผืนพรม เพื่อจำลองภาพของสวรรค์ที่ตนหวังจะได้เข้าไปพักพิงในโลกหน้า

ส่วนนรกหรือ ‘ญะฮันนัม’ เป็นที่อยู่ของคนบาปและผู้ที่ไม่เชื่อในพระเจ้า เป็นสถานที่อันน่าสะพรึงกลัวที่เต็มไปด้วยไฟร้อนระอุ ในนรกไม่มีอะไรให้ทานนอกจากน้ำหนองเดือดจัด กับผลของต้นซักกูมที่มีพิษและมีหนามเต็ม แต่พระเจ้านั้นทรงเมตตา ใครที่ไม่ได้ทำบาปหนัก เมื่อถูกลงทัณฑ์จนสมกับบาปที่เคยทำไว้แล้ว พระเจ้าจะตัดสินให้เขาได้เข้าสวรรค์ (เป็นแนวคิดเดียวกับ ‘ไฟชำระ’ ของศาสนาคริสต์) แต่ใครที่ทำบาปใหญ่จนเกินให้อภัย จะต้องจมอยู่ในไฟนรกไปตลอดกาล

อีกเรื่องหนึ่งที่ผู้คนมักจะสงสัยกัน ก็คือมุสลิมมีความเชื่อเรื่องผีหรือไม่ ถ้าเรานิยามผีว่าเป็นวิญญาณของผู้ตายที่มาหลอกหลอนผู้คนแบบในหนังสยองขวัญ ก็ตอบได้ทันทีว่าศาสนาอิสลามไม่มีความเชื่อเช่นนั้น วิญญาณของผู้ตายที่เรียกว่า ‘รูห์’ ก็ไม่ใช่ผี และไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ได้

ภาพญินในจินตนาการของศิลปิน จิตรกรรมคริสต์ศตวรรษที่ 15 ภาพ : Wikipedia

แต่ศาสนาอิสลามมีความเชื่อเรื่อง ‘ญิน’ ญินเป็นสิ่งมีชีวิตลึกลับที่พระเจ้าสร้างขึ้นจากไฟ มนุษย์ไม่สามารถมองเห็นญิน (ยกเว้นบางคนที่พระเจ้าทรงบันดาลให้รับรู้ถึงการมีอยู่ของญินด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง) แต่ญินมองเห็นมนุษย์ อาศัยอยู่ท่ามกลางมนุษย์ แถมยังช่วยเหลือหรือก่อกวนมนุษย์ได้ด้วย แต่มักจะมาแบบข้อหลังมากกว่า ญินจะล่อลวงผู้คนไปในทางที่ผิด มุสลิมจะอ่านคัมภีร์อัลกุรอานบทที่ 114 (ซูเราะฮ์อันนาส) เพื่อขอความคุ้มครองจากพระเจ้าไม่ให้ญินมาป่วน ญินนิสัยไม่ดีเหล่านี้จะถูกโยนลงในนรก ส่วนญินที่ดีจะนับถือพระเจ้า ไม่ทำร้ายใคร และมีสิทธิ์ที่จะได้เข้าสู่สวรรค์ ตัวอย่างญินที่ทำประโยชน์เช่นญินที่เป็นแรงงานของศาสดาสุไลมาน (ศาสดาโซโลมอนตามการเรียกของชาวคริสต์) ซึ่ง ‘จินนี่’ ในนิทานเรื่อง อะลาดินกับตะเกียงวิเศษ ก็คงมีต้นแบบมาจากญินนิสัยดีเหล่านี้นั่นเอง

เรื่องของญินยังคงเป็นปริศนาสำหรับใครหลายคน แต่ศาสนาอิสลามไม่ได้ให้มนุษย์ใส่ใจกับเรื่องนี้ แต่ให้มุ่งเชื่อฟังพระเจ้าด้วยการทำความดีและดำเนินชีวิตตามแบบอย่างของท่านศาสดา เพราะทุกชีวิตย่อมลิ้มรสความตาย ดังนั้นอย่ารอช้า รีบทำความดีสะสมเป็นเสบียงไว้เลี้ยงตัวในโลกหน้าก่อนจะสิ้นลมกันเถอะ

ข้อมูลอ้างอิง

  • บรรจง บินกาซัน, สารานุกรมอิสลาม ฉบับเยาวชนและผู้เริ่มสนใจ, กรุงเทพฯ: อัลอะมีน, 2542.
  • สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับประเทศไทย, ผู้แปล, พระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน พร้อมความหมายภาษาไทย, มะดีนะฮ์: ศูนย์กษัตริย์ฟะฮัดเพื่อการพิมพ์อัลกุรอาน, 2553.
  • สุนิติ จุฑามาศ, การศึกษาหินปักหลุมศพแบบบาตูอาเจะห์ในบริเวณเมืองโบราณริมอ่าวปัตตานี, เอกสารการศึกษาเฉพาะบุคคล ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2554.
  • สัมภาษณ์อาจารย์และมิตรสหายมุสลิม- Richard C. Martin; Ed., Encyclopedia of Islam and the Muslim World, USA: Macmillan Reference, 2003.

Writer

วสมน สาณะเสน

บัณฑิตตุรกี นักวิชาการด้านศิลปะอิสลาม อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้