กล องต ดกน ารถ ชดในท ม ด อ ดได ตลอดเวลา

ตดบ่อย ผายลมบ่อยมาก ๆ จนชักจะรำคาญ เพราะรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน แถมยังแอบกังวลว่าตดบ่อยอันตรายไหม เกิดโรคอะไรในร่างกายเราหรือเปล่า !

ตด หรือการผายลมเป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ แต่หากมีอาการตดบ่อย แป๊บ ๆ เดี๋ยวลมก็ออก แป๊บ ๆ ก็ตด แบบนี้คงไม่ค่อยดีนัก เพราะนอกจากจะทำให้ใช้ชีวิตลำบากกว่าเดิมแล้วยังทำให้กังวลว่าการที่เราตดบ่อยนี่เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพภายในด้วยไหม นั่นน่ะสิ...ตดบ่อย อันตรายหรือเปล่า แล้วตดบ่อยเกิดจากอะไร ลองมาอ่านดู

ตดเกิดจากอะไร

ตด เป็นกระบวนการขับลมหรือแก๊สในกระเพาะอาหารและลำไส้ โดยตดจะประกอบไปด้วยแก๊สที่ไม่มีกลิ่น 99% อันได้แก่ แก๊สไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจน ออกซิเจน และมีเทน ส่วนแก๊สมีกลิ่นนั้นมีอยู่เพียง 1% ในตดเท่านั้น ซึ่งแก๊สที่มีกลิ่นก็เกิดจากการหมักหมมของอาหารในลำไส้ ก่อให้เกิดเป็นกำมะถัน ต้นเหตุของกลิ่นเหม็นตุ ๆ ของตดนั่นแหละ

ทำไมเราถึงตด

สาเหตุที่ทำให้ผายลมเกิดจาก

- อากาศที่ผ่านเข้าลำไส้ทางจมูก หรือปากในช่วงที่เคี้ยวอาหาร

- การรับประทานอาหารที่มีกรด แก๊สมาก เช่น น้ำอัดลม ถั่ว ผักกะหล่ำปลี บรอกโคลี ดอกกะหล่ำ หัวหอม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นม ไข่ ชีส อาหารไขมันสูง เป็นต้น

- การเคี้ยวหมากฝรั่ง หรืออมลูกอม

- การเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด ทำให้อาหารย่อยไม่หมด และเกิดอาการท้องอืด มีแก๊สในลำไส้

- การรับประทานเนื้อสัตว์มากเกินไป ร่างกายจะย่อยอาหารประเภทนี้ได้ช้า และแบคทีเรียในลำไส้จะมาช่วยย่อย ก่อให้เกิดปฏิกิริยาการหมัก และเกิดแก๊สในลำไส้

- การรับประทานอาหารที่มีไขมันมากเกินไป ซึ่งร่างกายจะใช้เวลาในการย่อยไขมันนาน เสี่ยงต่อการเกิดแก๊สในกระเพาะและลำไส้ ทำให้เรอบ่อย หรือผายลมบ่อยได้

- ในคนที่ร่างกายไม่มีเอนไซม์ย่อยโปรตีนจากนม หากกินนม โยเกิร์ต และผลิตภัณฑ์จากนมเข้าไป ร่างกายก็จะย่อยไม่ได้ เปิดช่องให้แบคทีเรียเข้ามาทำปฏิกิริยาหมักและก่อให้เกิดแก๊สในลำไส้

- สำหรับคนที่แพ้กลูเตน เมื่อรับประทานอาหารที่มีกลูเตนเข้าไป เช่น ข้าวสาลี ขนมปัง ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโพด ข้าวโอ๊ต ซีเรียล หรือพายบางชนิด ลำไส้ก็จะไม่สามารถย่อยกลูเตนได้ จนก่อให้เกิดอาการท้องอืด มีแก๊สในกระเพาะ และท้องเสียร่วมด้วย

- นอนไม่พอ วิตกกังวล ความเครียด อาจทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานไม่ดี

- ระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่ดีอยู่แล้ว เช่น คนที่ท้องอืดประจำ

ตดบ่อยอันตรายไหม

โดยปกติแล้วคนเราจะตดประมาณ 10-20 ครั้งต่อวัน หรืออาจจะเกินไปเป็น 23 ครั้งต่อวันได้ คิดเป็นปริมาณแก๊สที่ปล่อยออกมาราว ๆ 0.5-1 ลิตรต่อวันเลยทีเดียว แต่หากว่าตดมากครั้งกว่านั้น อาจต้องลองสังเกตด้วยว่ามีอาการอื่น ๆ ประกอบด้วยหรือไม่ เช่น ปวดท้อง มวนท้อง คลื่นไส้ อาเจียน หรือมีอาการไม่สบายอื่น ๆ ซึ่งก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยความผิดปกติต่อไป

ตดบ่อย บอกโรคอะไรได้บ้าง

ในกรณีที่มีอาการตดบ่อยร่วมกับมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย อาจเป็นสัญญาณบอกโรคต่าง ๆ ได้ ดังนี้

คนที่มีอาการท้องผูก ไม่ได้ถ่ายหลายวัน ทำให้อุจจาระสะสมอยู่ในลำไส้นาน ๆ จนเกิดการหมักหมมและเกิดแก๊สมากกว่าปกติได้ ส่งผลให้ตดบ่อยตามมา

โรคลำไส้แปรปรวน

หนึ่งในอาการของโรคลำไส้แปรปรวนคือจะเรอ และผายลมบ่อย เนื่องจากลำไส้มีการย่อยอาหารไม่ปกติ และมักจะมีอาการปวดจนท้องเกร็ง ท้องอืดบ่อย ๆ ด้วย

กระเพาะอาหารอักเสบ

หากมีอาการผายลมบ่อย ร่วมกับอาการแน่นท้อง ปวดท้อง คล้ายกับอาหารไม่ย่อย อาการตดบ่อยของเราอาจบอกเป็นนัย ๆ ว่ากระเพาะอาหารอักเสบอยู่ก็ได้

นิ่วในถุงน้ำดี

หากมีนิ่วในถุงน้ำดี ร่างกายจะย่อยไขมันได้ไม่ดี และจะส่งผลให้มีอาการท้องอืดจนร่างกายต้องระบายลมออกมาเป็นตดบ่อยขึ้น ซึ่งอาการที่สังเกตได้ว่าร่างกายเราอาจมีนิ่วในถุงน้ำดี ก็สังเกตได้จากอาการผายลมหลังกินอาหารอิ่มใหม่ ๆ นั่นเอง

โรคตับอ่อนอักเสบ

กรณีนี้ก็จะคล้าย ๆ กับนิ่วในถุงน้ำดี เพราะตับอ่อนจะมีหน้าที่ช่วยย่อยไขมัน แต่หากตับอ่อนทำงานได้ไม่เต็มที่ เพราะมีอาการอักเสบเกิดขึ้น เราก็จะท้องอืด และมีอาการผายลมบ่อยขึ้นได้

มะเร็งลำไส้ใหญ่

หากมีอาการผายลมบ่อย ร่วมกับน้ำหนักลดอย่างผิดปกติ ท้องผูกเรื้อรัง หรือท้องเสียเรื้อรัง อีกทั้งยังมีภาวะโลหิตจาง อาจต้องสงสัยว่าเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้นะคะ

กลั้นตด ดีไหม

ใครคิดจะกลั้นตดเพราะรู้สึกอายที่จะตดบ่อย ๆ บอกเลยว่าให้หยุดความคิดนั้นเดี๋ยวนี้ ! เพราะการกลั้นตดไม่ใช่เรื่องดีต่อสุขภาพสักนิดค่ะ ลองคิดดูสิว่า ร่างกายเราต้องการผายลมเพื่อระบายแก๊สหรือของเสียออกจากร่างกาย ดังนั้นหากเราไปกลั้นตดไว้ แก๊สที่ร่างกายควรจะได้ระบายออกมาอาจตีกลับเข้าไปในเลือดและตับแทน เป็นการสะสมของเสียในร่างกายไปซะอย่างนั้น

ไม่ตดเลยก็ไม่ดีอีก !

บางคนอาจมีอาการตดบ่อย แต่ก็มีเคสที่ไม่ตดเลยเหมือนกัน ซึ่งเคสนี้ก็อันตรายไม่เบานะ ยิ่งถ้ามีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ไม่ถ่ายมาหลายวัน ตดก็ไม่ตด อาจเป็นเพราะลำไส้อุดตันอยู่ก็ได้ ดังนั้นควรรีบมาพบแพทย์ให้เร็วที่สุดนะคะ

อย่างไรก็ดี หากมีอาการตดบ่อยโดยไม่มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย อาจลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ไปเพิ่มแก๊สในกระเพาะอาหาร เช่น น้ำอัดลม แอลกอฮอล์ ถั่ว ผักบางชนิดที่ได้กล่าวข้างต้น หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ในปริมาณมาก และลดการรับประทานอาหารไขมันสูง เคี้ยวอาหารให้ละเอียด เป็นต้น

แต่ถ้ารู้สึกไม่สบายใจกับอาการตดบ่อยของตัวเอง จะลองไปตรวจสุขภาพกับแพทย์อีกทีก็ได้ และขอย้ำกันอีกครั้งว่าหากมีอาการตดบ่อยและมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน หรืออาการป่วยอื่น ๆ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนนะคะ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้