การประช ม รถไฟฟ าเช อม 3 สนามบ น 22 ก.พ.62

การรถไฟแห่งประเทศไทย ยันไม่สามารถรับข้อเสนอพิเศษด้านการเงินของกลุ่มซีพีในโครงการรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบินได้ เตรียมเรียกคุยอีกรอบ 5 มีนาคมนี้ หากไปต่อไม่ได้ก็ต้องยุติการเจรจา

เมื่อวันที่ (23 ก.พ. 62) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ว่าที่ประชุมได้มีการสรุปผลการเจรจาในซองที่ 4 เกี่ยวกับข้อเสนอพิเศษกับกิจการร่วมค้า บริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือ กลุ่มซีพี 108 ข้อ เบื้องต้นคณะกรรมการคัดเลือกฯมีมติว่าจะไม่รับข้อเสนอที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการเงินซึ่งเป็นหัวใจหลักในการเจรจาครั้งนี้ประมาณ 12 ข้อ เช่น การขยายการก่อสร้างอีก 6 ปีจากเดิม 5 ปี, การให้รัฐรับประกันผลตอบแทนของโครงการหากไม่ถึง 6.75%, การขยายอายุสัมปทานจาก 5 ปีเป็น 99 ปี และการขอให้รัฐจ่ายเงินอุดหนุนตั้งแต่ปีแรก เนื่องจากขัดกับมติของคณะรัฐมนตรี และข้อเสนอร่วมการลงทุน หรือ RFP

นายวรวุฒิ ระบุว่า เบื้องต้นจะมีการทำหนังสือแจ้งไปยังกลุ่มซีพีให้รับทราบภายในวันนี้(22ก.พ.62) และจะมีการเรียกมาหารือกันอีกครั้งในวันที่ 5 มีนาคมนี้ โดยมีความเป็นไปได้ 2 ทาง คือ หากซีพีรับตามที่คณะกรรมการคัดเลือกฯสรุปก็จะมีการเจรจาต่อในประเด็นข้อย่อยอื่นๆ แต่หากซีพีไม่รับตามข้อสรุป หรือไม่มาในวันที่ 5 มีนาคม จะต้องยุติการเจรจากับกลุ่มซีพี

ส่วนกระบวนการตามขั้นตอนหากซีพีไม่รับข้อสรุปของคณะกรรมการคัดเลือกฯ ก็จะมีการเรียกผู้เสนอราคาในลำดับถัดไป คือ กลุ่มบีทีเอสเข้ามาเปิดซองที่ 4 ข้อเสนอพิเศษเป็นรายถัดไป โดยยังตั้งเป้าว่าจะสามารถสรุปผลการเจรจราและเริ่มลงนามในสัญญาได้ภายในเดือนมีนาคมนี้ คาดว่าหลังจากลงนามในสัญญาจะสามารถเริ่มต้นก่อสร้างโครงการได้อีกประมาณ 6 เดือน

ทั่วไป

27 มิ.ย. 2566 เวลา 18:29 น.62

ครม. ไฟเขียวแก้ไขปัญหารถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน ผ่อนปรนชำระค่าสัมปทาน หวังให้เอกชนเดินหน้าสร้างรถไฟฟ้า

เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2566 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี รับทราบแผนแก้ไขปัญหาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ตามที่ คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เห็นชอบ ด้วยการแก้ปัญหาการชำระค่าสิทธิโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิ้งก์ จากปัญหาโควิด-19 จนผลกระทบรุนแรงต่อสถานะทางการเงินของโครงการฯ จากเดิมเอกชนคู่สัญญาต้องชำระค่าสิทธิ ARL จำนวน 10,671 ล้านบาท ส่งให้ รฟท. ภายใน 2 ปี หลังลงนามในสัญญาร่วมลงทุนฯ ต้องชำระค่าสิทธิ ARL จำนวน 10,671.09 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 1,060 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 11,731 ล้านบาท

โดยแบ่งชำระ ค่าสิทธิ ARL ออกเป็น 7 งวด ได้แก่ งวดที่ 1-6 งวดละ 1,067.11 ล้านบาท และงวดที่ 7 จำนวน 5,328.47 ล้านบาท ภายในวันที่ 24 ตุลาคม ของแต่ละปี โดยเอกชนคู่สัญญาจะรับผิดชอบค่าธรรมเนียม ดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายทางการเงินส่วนเกินจากที่ รฟท. ต้องชำระให้สถาบันทางการเงิน และกระทรวงการคลัง เป็นจำนวนเกินกว่าจำนวนเงินที่ รฟท. ได้รับชำระจากเอกชนคู่สัญญา ภายหลังจากการปรับวิธีการชำระเงินแล้ว กรณีเอกชนคู่สัญญาไม่ชำระค่าสิทธิ ARL ตามกำหนด โดยไม่มีสาเหตุอันสมควร จะถือเป็นเหตุผิดสัญญาในสาระสำคัญ และ รฟท. จะใช้สิทธิบังคับตามสัญญาร่วมลงทุนฯ หากเอกชนคู่สัญญาได้รับรายได้ค่าโดยสาร ARL สูงกว่าประมาณการ รฟท. มีสิทธิเจรจาให้เอกชนคู่สัญญาชำระค่าสิทธิ ARL เร็วขึ้น หากไม่มีการแก้ไขปัญหาอาจส่งผลต่อการให้บริการ เดินรถและการบำรุงรักษา ARL ต้องหยุดชะงักลง และส่งผลให้ความเชื่อมั่นของโครงการฯ ต่อสถาบันการเงินลดลงด้วย

สำหรับการแก้ไขปัญหาเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสถานะทางการเงินของโครงการฯ เช่น โรคระบาดหรือโรคติดต่ออันตรายที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว โดยไม่ต้องแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน ดังนั้นเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาในลักษณะเดียวกันที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ด้วยกระบวนการบริหารสัญญา โดยไม่ต้องแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯ จึงมีความจำเป็นต้อง เพิ่มแนวทาง การบริหารสัญญาเพื่อจัดการกับเหตุสุดวิสัยและเหตุผ่อนผันโดยเฉพาะที่มีผลกระทบต่อสถานะ ทางการเงินของโครงการฯ การประสานความร่วมมือระหว่าง รฟท. และเอกชนคู่สัญญา ถึงวิธีการในการเยียวยา เช่น การขยายระยะเวลาโครงการฯและการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขที่เอกชน ต้องชำระผลประโยชน์ตอบแทนรัฐเพื่อสนับสนุนและแก้ไขปัญหาทางการเงินของ โครงการฯ ทั้งนี้ รฟท. ยังมีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาร่วมลงทุนฯ เดิมทุกประการ ทั้งนี้ ประโยชน์ที่จะได้รับจากการแก้ไขปัญหาโครงการฯ ทำให้บริการ โครงการ ARL สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องโดยเอกชนคู่สัญญา สามารถชำระค่าสิทธิ ARL เพื่อรับสิทธิการดำเนินโครงการ ARL ต่อไปได้ และจะมีกลไกในการบริหารสัญญาเพื่อรับมือกับเหตุผ่อนผันและเหตุสุดวิสัยกับเหตุการณ์ ในอนาคต รวมถึงเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสถานะทางการเงินของโครงการฯ และเอกชน คู่สัญญาเพื่อให้โครงการฯ สามารถบรรลุวัตถุประสงค์โครงการตามสัญญาร่วมลงทุนฯ ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 1/66 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2566 ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน มีมติเห็นชอบหลักการแก้ไขปัญหาโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินและให้เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบ โดยนายกรัฐมนตรี ได้มีข้อสั่งการให้พิจารณาหลักเกณฑ์แสะเงื่อนไขให้รอบคอบครบถ้วน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้