สร ปเหต การณ ว นท 23-24 ม ถ นายน 2475

วันที่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นวันสำคัญสำหรับการสร้างประชาธิปไตยในประเทศไทย เพราะเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยให้พระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ

ในวันนั้นคณะราษฎรได้นำกำลังทหารและพลเรือนเข้ายึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน ในขณะนั้นรัชกาลที่ 7 ได้เสด็จแปรพระราชฐานประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คณะผู้ยึดอำนาจที่มี พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหัวหน้า ได้ตั้งคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารที่มีนายทหารระดับนายพันเอก 3 คนคือ พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยาทรงสุรเดช และพระยาฤทธิอัคเนย์

เมื่อสามารถระดมกำลังทหารมาชุมนุมที่ลานพระบรมรูปทรงม้าได้เป็นจำนวนมากจากหลายกองพันในกรุงเทพฯ จึงประกาศแถลงการณ์ของคณะราษฎรถึงเหตุและความตั้งใจในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ตลอดจนกุมตัวพระบรมวงศานุวงศ์และนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของรัฐบาลมาไว้ที่พระที่นั่งอนันตสมาคมแล้ว คณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารก็ได้มีหนังสือ และส่ง นาวาตรี หลวงศุภชลาศัย ไปยังพระราชวังไกลกังวล กราบบังคมทูลอัญเชิญรัชกาลที่ 7 เสด็จกลับพระนคร ดังมีความสำคัญว่า

“คณะราษฎรไม่ประสงค์จะแย่งราชสมบัติแต่อย่างใด ความประสงค์อันยิ่งใหญ่ก็เพื่อที่จะมีธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน จึงขอเชิญใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทกลับคืนสู่พระนคร ทรงเป็นกษัตริย์ต่อไปโดยอยู่ใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน”

วันรุ่งขึ้น 25 มิถุนายน 2475 รัชกาลที่ 7 ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร มีความตอนหนึ่งว่า

“…คณะทหารมีความปรารถนาจะเชิญให้ข้าพเจ้ากลับพระนครเป็นกษัตริย์อยู่ใต้พระธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน ข้าพเจ้าเห็นแก่ความสงบเรียบร้อยของอาณาประชาราษฎร์ ไม่อยากให้เสียเลือดเนื้อกัน ทั้งเพื่อจัดการโดยละม่อม ไม่ให้ขึ้นชื่อว่าได้จลาจลเสียหายแก่บ้านเมือง และความจริงข้าพเจ้าได้คิดอยู่แล้วที่จะเปลี่ยนแปลงทำนองนี้ คือมีพระเจ้าแผ่นดินปกครองตามพระธรรมนูญ จึงยอมรับที่จะช่วยเป็นตัวเชิดเพื่อให้คุมโครงการตั้งรัฐบาลให้เป็นรูปวิธีเปลี่ยนแปลงตั้งพระธรรมนูญโดยสะดวก”

ในคืนวันที่ 25 มิถุนายน 2475 รัชกาลที่ 7 เสด็จกลับพระนครโดยรถไฟพระที่นั่งที่ทางคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารส่งไปรับ และในวันที่ 26 มิถุนายน 2475 ให้บุคคลสำคัญของคณะราษฎรเข้าเฝ้าฯ และพระองค์ได้ทรงลงพระปรมาธิปไธยพระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่คณะผู้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน

ต่อมาในวันที่ 27 มิถุนายน 2475 รัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ซึ่งเดิมทีคณะผู้ก่อการตั้งใจจะใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นฉบับถาวร

24 มิถุนายน 2475 คือวันเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบประชาธิปไตย เรารู้และจำมาแบบนั้น แต่หากถามรายละเอียด มูลเหตุ การเมืองที่เปลี่ยนแปลง สภาพสังคมที่เปลี่ยนไป 24 มิถุนายน 2475 มีความสำคัญอย่างไร คณะราษฎรคือใคร และมรดกจากวันนั้นมันใช่ประชาธิปไตยในวันนี้หรือเปล่า

เคยมีการทดลองนำคำถามข้างต้นไปตั้งเป็นปุจฉาหาคำตอบ ประโยคที่ได้กลับมามีหลากหลาย บ้างรู้และเข้าใจในบางจิ๊กซอว์ คนรุ่นใหญ่จำนวนไม่น้อยส่ายหัว และ “ไม่รู้เหมือนกัน” คือบางคำตอบจากคนรุ่นหลัง

ข้อปรามาสตกอยู่ที่การศึกษา เราเรียนเราสอนกันแบบไหน ถึงทำให้เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ตกแม่น้ำเจ้าพระยาพัดพาลอยออกทะเล ถ้าเป็นอย่างนี้ การศึกษาสมัยใหม่สอนเรื่องการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 กันอย่างไร

ด้วยความสงสัย เราจึงต้องลงทุนขุดค้นหนังสือเรียนมัธยมหาข้อเท็จจริงว่า ‘24 มิถุนา 2475’ ถูกบรรจุอยู่ในวรรคตอนไหน แล้วก็พบว่า ‘24 มิถุนา 2475’ มีอยู่จริงในหนังสือเรียน

อนึ่ง ประวัติศาสตร์ไม่ใช่วิชาสำเร็จรูปที่มีตำราหรือชุดความคิดใดผูกขาดความถูกต้องไว้ทั้งหมด การศึกษาที่มาที่ไปของทุกอย่างควรใช้ข้อมูลรอบด้าน หนังสือเรียนอาจไม่ได้มีลักษณะผูกขาด แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า นี่คือเนื้อหาสำเร็จรูปของไทยที่อยู่ใกล้มือเด็กมากที่สุด

หนังสือเรียนมัธยมวิชาสังคมบอกเล่าเหตุการณ์ประวัติศาสตร์นั้นเอาไว้หลายมุมมอง ขึ้นอยู่กับหลักสูตร สำนักพิมพ์ คณะผู้เขียน นี่จึงเป็นการรวบรวมส่วนหนึ่งของวันอภิวัฒน์สยาม ‘ประเทศไทย’ เมื่อ 24 มิถุนายน 2475 จากตำรามัธยมวิชาสังคมศึกษาโดยสังเขป เพื่อให้เห็นภาพกว้างของการศึกษาไทยที่สะท้อนอยู่ในสังคมว่า ข้ออ้าง “ไม่รู้ ไม่เคยเรียนมา ในตำราไม่มีสอน” มันใช้ได้จริงหรือ

สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ประวัติศาสตร์ ม.3 ผู้เขียน รศ.ดร.ไพฑูรย์ มีกุศล และคณะ

หนังสือเรียนชั้นมัธยม 3 สรุปสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงการปกครองไว้ว่า เกิดจากเศรษฐกิจตกต่ำต่อเนื่องจากรัชสมัยรัชกาลที่ 6 และสืบเนื่องจากแนวคิดการส่งนักเรียนไปศึกษาต่อในต่างประเทศในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อนักเรียนเหล่านี้กลับมา ‘ก็ได้นำเอาความรู้และแนวความคิดเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบตะวันตกเข้ามาด้วย ประกอบกับการศึกษาสมัยใหม่ได้แพร่หลายมากขึ้น ทำให้แนวความคิดดังกล่าวแพร่หลายในหมู่ประชาชนอย่างกว้างขวาง ข้าราชการที่ได้รับการศึกษาตามแบบตะวันตกจึงมีแนวคิดให้ไทยปกครองในระบอบประชาธิปไตย’

หนังสือไม่ได้เขียนแต่นักเรียนอาจจะอยากรู้: หนังสืออ่านประกอบ

  • สภาพสังคมขณะนั้นเป็นอย่างไร?

กำเนิดของชนชั้นกลางซึ่งนำไปสู่สำนึกในสิทธิของราษฎร สนธิสัญญาเบาว์ริงในสมัยรัชกาลที่ 4 เปิดการค้าเสรีในประเทศไทย ส่งผลให้ชนชั้นกลางขยายตัวและเริ่มมีบทบาทในสังคมไทย / อ่านเพิ่มเติมได้ใน ประวัติศาสตร์การเมืองไทย 2475 – 2500 โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

  • ทำไมถึงชื่อว่า ‘คณะราษฎร’?

ปรีดี พนมยงค์ เขียนไว้ว่า พลเมืองสยามส่วนมากซึ่งอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองสมัยนั้นเรียกตนเองว่า ‘ราษฎร’ เช่นนายอำเภอเกณฑ์พลเมืองทำงานโยธา ก็เรียกกันว่าเกณฑ์ราษฎร หรือราษฎรรำพึงกันถึงความทุกข์ยากก็พูดว่า ‘ราษฎรเดือดร้อนกันทุกหย่อมหญ้า’ คือแสดงถึงลักษณะของพลเมืองส่วนที่ถูกปกครองโดยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์…ดังนั้น เราจึงถือว่าเราเป็น ‘คณะราษฎร’ เพราะเราทำตรงกับความต้องการของราษฎร ‘people’ / อ่านเพิ่มเติมได้ใน รัฐสภาไทยในรอบสี่สิบสองปี (2475-2517) โดย ประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์

  • อ่านเพิ่มเติมจุดสิ้นสุดของสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้จากบทสัมภาษณ์ กุลลดา เกษบุญชู มี้ด: สมบูรณาญาสิทธิราชย์ จุดเริ่มต้นและการล่วงเลย

เกิดอะไรขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายน 2475

ประวัติศาสตร์ ม.3 ผู้เขียน รศ.ดร.ไพฑูรย์ มีกุศล และคณะ

การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเริ่มในตอนเช้าตรู่ของวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ขณะที่รัชกาลที่ 7 แปรพระราชฐานไปประทับที่วังไกลกังวล พันเอกพระยาพหลฯ ได้อ่านประกาศคณะปฏิวัติที่ลานพระบรมรูปทรงม้า จากนั้นส่งกำลังควบคุมสถานที่สำคัญทางราชการในกรุงเทพฯ และ ‘ได้เชิญเจ้านายและบุคคลสำคัญมาไว้ที่พระที่นั่งอนันตสมาคม เพื่อเป็นตัวประกัน’

ด้านฝ่ายรัฐบาล สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงคุมกำลังทหารและพลเรือน ตัดสินพระทัยไม่ตอบโต้ให้เกิดการเสียเลือดเนื้อ และ ‘ทรงยินยอมลงพระนามในประกาศให้ทหาร ข้าราชการ และราษฎรทั้งหลายอยู่ในความสงบ’

‘แต่เนื่องจากพระองค์ไม่ทรงเห็นด้วยกับการใช้ถ้อยคำบางคำในร่างรัฐธรรมนูญนั้น จึงทรงให้คณะราษฎรนำไปแก้ไขใหม่’

ประวัติศาสตร์ไทย ม.4-6 ผู้เขียน รศ.ดร.ไพฑูร มีกุศล และคณะ

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประชุมพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เท่าที่มีอยู่ในหัวหินขณะนั้น ในที่สุดพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตัดสินพระราชหฤทัยยินยอมตามข้อเสนอของคณะราษฎร ในพระราชสาส์นที่ทรงตอบคณะราษฎรมีข้อความตอนหนึ่งบอกเหตุผลว่า “…ข้าพเจ้าเห็นแก่ความเรียบร้อยของอาณาประชาราษฎร์ ไม่อยากให้เสียเลือดเนื้อ…” ต่อมาในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 มีการตราพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ซึ่งในมาตรา 1 ระบุว่า อำนาจสูงสุดของประเทศเป็นของราษฎรทั้งหลาย และในมาตรา 2 กำหนดผู้ใช้อำนาจแทนราษฎร คือ กษัตริย์ สภาผู้แทนราษฎร คณะกรรมการราษฎร และศาล

หนังสือไม่ได้เขียนแต่นักเรียนอาจจะอยากรู้:

  • ทำไมถึงไม่เสียเลือดเนื้อ และคณะราษฎรมีกำลังพลเยอะขนาดไหน ทำไมถึงราบรื่น

ความสำเร็จของคณะราษฎรอยู่ที่การปฏิบัติการที่เฉียบพลันถึงแม้ว่าจะมีผู้เข้าร่วมไม่เยอะมาก โดยคณะราษฎรได้ทำการเข้าควบคุมสถานที่สำคัญในการสื่อสารก่อนเพื่อทำให้องค์กรของรัฐเป็นอัมพาต นอกจากนั้นยังสามารถจับกุมเจ้านายและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ไว้เป็นตัวประกันได้ / อ่านเพิ่มเติมได้ใน ประวัติศาสตร์การเมืองไทย 2475 – 2500 โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

  • รัชกาลที่ 7 ไม่เห็นด้วยกับข้อความไหนในร่างรัฐธรรมนูญ?

อภิวัฒน์สยาม เปลี่ยนแปลงอะไร

สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ม.2 ผู้เขียน รศ.ธวัช ทันโตภาส และคณะ

หนังสือเขียนเรื่องนี้เอาไว้ว่า เหตุการณ์ 2475 ‘เป็นการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข’

การเปลี่ยนแปลงการปกครองนี้ทำให้โครงสร้างด้านการปกครองและสังคมของไทยเปลี่ยนไป เช่น

  1. อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ‘จากเดิมที่อำนาจอธิปไตยอยู่ที่องค์พระมหากษัตริย์ ได้เปลี่ยนมาเป็นอำนาจของประชาชน’
  2. สถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
  3. มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด
  4. เกิดสถาบันการปกครองมาใช้อำนาจแทนราษฎร สถาบันฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ
  5. มีการเลือกตั้ง ‘เป็นวิธีการสำคัญในการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพราะเป็นกระบวนการคัดเลือกผู้ทำหน้าที่เป็นผู้แทนประชาชนมาดำเนินกิจกรรมทางการเมือง’

หน้าที่พลเมือง ม.4-6 ผู้เขียน รศ.ธวัช ทันโตภาส และคณะ

หากพลิกตำราอีกเล่ม คือ หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม ม.4-6 ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย จะพบวรรคตอนที่กล่าวถึงการเปลี่ยนแลงทางวัฒนธรรมในช่วงก่อน-หลัง พ.ศ. 2475 ไว้อย่างมีนัยสำคัญ

ในหนังสือเล่มดังกล่าวระบุว่า ก่อนเหตุการณ์ 2475 ความเป็นวัฒนธรรมไทยยึดโยงอยู่กับสถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันศาสนา สถาบันครอบครัว และสถาบันชุมชนท้องถิ่น เป็นรูปแบบสังคมที่เรียบง่ายไม่สลับซับซ้อน ทั้งยังยกตัวอย่างอีกว่า ‘ในหุบเขาเล็กๆ แห่งหนึ่งทางตอนเหนือไม่มีสื่อมวลชนใดๆ ไปถึง ชาวบ้านไม่สามารถรับข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุได้ ส่วนชุมชนที่มีบ้าน วัด โรงเรียน ที่ประกอบอาชีพ ทุกคนรู้จักกันหมด เป็นชุมชนที่มีความสุข เป็นวิถีชีวิตที่เรียบง่าย’

ข้อความในเครื่องหมายคำพูดนั้น ด้านหนึ่งก็ชวนให้ฉงนว่า การไม่รับรู้ข้อมูลข่าวสารใดๆ ก่อให้เกิดความสุขของผู้คนในความหมายใด

ขณะที่หลังเหตุการณ์ 2475 แม้ความเป็นไทยและวัฒนธรรมไทยจะยังยึดโยงอยู่กับสถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันศาสนา สถาบันครอบครัว และสถาบันชุมชนท้องถิ่น เหมือนดังเดิมอยู่ แต่หลังปี 2500 ก็มีสถาบันอื่นที่เพิ่มเติมเข้ามามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระบบการศึกษา ระบบการเมืองและเศรษฐกิจ และสถาบันทางสังคม ซึ่งปัจจัยที่เพิ่มเข้ามานี้ทำให้ ‘สังคมไทยเปลี่ยนแปลงเป็นสังคมเมืองมากขึ้น เป็นช่วงที่มีการเสริมสร้าง ฟื้นฟูวัฒนธรรมไทย และมีการรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามามากและรวดเร็ว ทำให้วิถีชีวิต ค่านิยม เครื่องมือเครื่องใช้ แตกต่างไปจากเดิม ซึ่งกลายเป็นวัฒนธรรมตามแบบสังคมตะวันตกมากขึ้น’

ข้อความข้างต้นถูกอธิบายในวรรคตอนต่อมาว่าทำให้ ‘สังคมไทยมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น’ ตามไปด้วย

หนังสือไม่ได้เขียนแต่นักเรียนอาจจะอยากรู้:

  • ทำไมผู้ก่อการปฏิวัติถึงยังคงให้มีสถาบันกษัตริย์อยู่ ไม่ได้ให้ประมุขของประเทศเป็นสามัญชน

เป้าหมายของคณะราษฎรคือระบอบกษัตริย์ที่อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ ไม่มีประสงค์ทำการชิงราชสมบัติ / อ่านเพิ่มเติมได้ใน ประกาศของคณะราษฎรฉบับที่ 1

  • ทำไมกลุ่มคณะราษฎรจึงต้องการให้มีระบบรัฐสภาและสถาบันการปกครอง

คณะราษฎรเห็นว่าการมีรัฐสภานั้นจะได้ช่วยกันปรึกษาหารือ และ ‘หลายๆ ความคิดดีกว่าความคิดเดียว’ / อ่านเพิ่มเติมได้ใน ประกาศของคณะราษฎรฉบับที่ 1

วิวาทะ คณะราษฎรทำการชิงสุกก่อนห่าม?

ประวัติศาสตร์ไทย ม.4-6 ผู้เขียน รศ.ดร.ไพฑูร มีกุศล และคณะ

รัชกาลที่ 7 ทรงสนับสนุนการปกครองที่มาจากประชาชน แต่พระองค์มีพระราชวินิจฉัยว่าการปกครองระบอบนี้จะต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยฝึกหัดประชาชนให้รู้จักใช้สิทธิในการออกเสียงควบคุมกิจการท้องถิ่นเป็นอันดับแรก ก่อนที่จะเข้ามาควบคุมกิจการของรัฐในรูปแบบรัฐสภา จึงมีการส่งเสริมการปกครองในรูปแบบเทศบาล ในปี 2470 ได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาปรับปรุงแก้ไขการสุขาภิบาลที่ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ให้เป็นรูปเทศบาลมากขึ้น

‘รัชกาลที่ 7 ทรงมีแผนที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ ปรากฏว่าในรัชกาลนี้มีการร่างรัฐธรรมนูญถึง 2 ฉบับ แต่ยังมีผู้ไม่เห็นด้วยกับการที่จะทรงประกาศใช้ ด้วยเห็นว่ายังไม่ถึงเวลา ควรให้ประชาชนได้มีประสบการณ์ในการปกครองตนเองมากกว่าที่เป็นอยู่เสียก่อน แผนพัฒนาการปกครองของรัชกาลที่ 7 สิ้นสุดลงเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475’

ประวัติศาสตร์ ม.3 ผู้เขียน รศ.ดร.ไพฑูรย์ มีกุศล และคณะ

ต่อเนื่องจากเหตุการณ์อภิวัฒน์วันที่ 24 มิถุนายน และมีธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวพุทธศักราช 2475 จากนั้นได้มีการคัดเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชั่วคราว มีกรรมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ‘เมื่อคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรซึ่งมีชื่อว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม เสร็จเรียบร้อยแล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปประกอบพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ในวันที่ 10 ธันวาคม 2475

หนังสือไม่ได้เขียนแต่นักเรียนอาจจะอยากรู้:

  • อะไรคือข้อกล่าวหาที่นำมาสู่วาทกรรม ‘ชิงสุกก่อนห่าม’

ชิงสุกก่อนห่าม’ เป็นคำอธิบายการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ที่แพร่หลายในช่วงต้นทศวรรษที่ 2510 โดยมุ่งให้ภาพเชิงลบต่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ว่าเป็นเรื่องของ ‘พวกที่ใจร้อน ทนรอไม่ได้ โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียนฝรั่งเศส’/ อ่านเพิ่มเติมได้ใน ขุดมายาคติ 2475

มรดก 2475 และคณะราษฎร

หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม.2 ผู้เขียน รศ.ธวัช ทันโตภาส และคณะ

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จากเดิมที่อำนาจอธิปไตยอยู่ที่องค์พระมหากษัตริย์ มาเป็นอำนาจของประชาชน ดังนั้นต้องจัดโครงสร้างทางการเมืองใหม่ โดยจัดให้มีสถาบันการเมืองมาทำหน้าที่รองรับการใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชน ซึ่งก่อให้เกิดสถาบันใหม่ๆ ขึ้นมา ได้แก่

  1. สภาผู้แทนราษฎร เป็นสถาบันที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง เนื่องจากประชาชนจะเลือกสมาชิกผู้แทนราษฎรเป็นตัวแทนเข้ามาทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติแทนตนเอง
  2. ศาล เป็นสถาบันการเมืองที่ใช้อำนาจตุลาการ พิจารณาพิพากษาคดีความต่างๆ โดยความยุติธรรม ที่คำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
  3. รัฐธรรมนูญ คือกฎหมายสูงสุด ที่กำหนดบทบาทและอำนาจหน้าที่ของสถาบันที่ใช้อำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นของประชาชนชาวไทยไว้ ซึ่งแยกเป็นอำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ กฎหมายอื่นจะขัดต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้
  4. พรรคการเมือง เป็นสถาบันที่รวบรวมคนที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองเดียว มาร่วมกันทำงาน มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะเป็นรัฐบาลมาทำหน้าที่ปกครองประเทศ ซึ่งการเปลี่ยนแปลง 2475 คณะราษฎรก็ได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นสมาคมคณะราษฎร เพื่อเป็นการปูทางพื้นฐานระบบพรรคการเมืองขึ้นในประเทศ รวมถึงเปลี่ยนเป็นวิธีดำเนินการปกครอง โดยใช้การเลือกตั้งและกระจายอำนาจปกครองมากขึ้น

นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นๆ อีก เช่น มีระบบการศึกษา ระบอบประชาธิปไตย ประชาชนจะดำเนินการอย่างบรรลุผล ประชาชนต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตยเสียก่อน ซึ่งคณะราษฎรได้มองเห็นถึงปัญหานี้ ในที่สุดจึงจัดตั้งสภาการศึกษาแห่งชาติขึ้นมาพัฒนาทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน)

กล่าวโดยสรุปเล็กๆ น้อยๆ มรดกที่ยังอยู่ให้พบเห็น เช่น พรรคการเมืองและนักการเมือง การปกครองด้วยระบบรัฐสภา การส่งเสริมการศึกษาแก่ประชาชนให้เข้าใจในประชาธิปไตย อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แต่ก็น่าเสียดายที่บางส่วนสูญหาย

เช่น หมุดคณะราษฎร ลานพระบรมรูปทรงม้า บริเวณหน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม และความสำคัญของวันที่ 24 มิถุนายน วันประวัติศาสตร์ของชาติที่ลดน้อยถอยลงทุกที

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้