2024 ทำไม ไถ ช ว ตไก งวง ของผ นำสหร ฐฯ pantip

ผู้นำเวเนฯ ขอบคุณ “ทรัมป์” ด่าทุกวันจน “ดังกระฉ่อนโลก”

เผยแพร่: 9 ต.ค. 2560 13:03 โดย: MGR Online

รอยเตอร์ - ประธานาธิบดี นิโคลัส มาดูโร แห่งเวเนซุเอลากล่าวขอบคุณผู้นำสหรัฐฯ วานนี้ (8 ต.ค.) ที่อุตส่าห์วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลการากัสทุกวี่วัน จนทำให้ตนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วโลก

“ช่างเป็นเกียรติเหลือเกินที่ผู้นำจักรวรรดิอเมริกาเอ่ยถึงผมทุกวัน... นั่นแปลว่าผมกำลังทำสิ่งที่ถูกต้อง” มาดูโร วัย 54 ปี ซึ่งเพิ่งเดินทางกลับจากเยือนรัสเซีย เบลารุส และตุรกี กล่าวผ่านรายการพบปะประชาชนประจำสัปดาห์ พร้อมกับหัวเราะอย่างอารมณ์ดี

สหรัฐฯ กล่าวหารัฐบาล มาดูโร ว่าเป็นระบอบเผด็จการขี้ฉ้อที่กดขี่ประชาชน และสั่งคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่ระดับสูง รวมถึงตัว มาดูโร เอง นอกจากนี้ยังห้ามบริษัทอเมริกันเข้าไปเกี่ยวข้องกับหนี้สินใหม่ๆ ของเวเนซุเอลาด้วย

ทรัมป์ วิจารณ์ มาดูโร และพรรคสังคมนิยมเวเนซุเอลาผ่านสื่อ หรือในการประชุมร่วมกับผู้นำต่างชาติมาแล้วหลายครั้ง

“โดนัลด์ ทรัมป์ กลายเป็นหัวหน้าฝ่ายค้านเวเนซุเอลาไปแล้ว... เขาทำให้ผมดังไปทั่วโลก ทุกครั้งที่เขาเอ่ยถึงผม ผู้คนก็ยิ่งรักผมมากขึ้น” ผู้นำเวเนฯ ระบุ พร้อมโอ่ว่าตนได้รับการสรรเสริญเยินยอจากผู้นำหลายประเทศ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นประเทศที่ไม่กินเส้นกับอเมริกาทั้งสิ้น

หลังจากอดีตประธานาธิบดี อูโก ชาเบซ ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคมะเร็งเมื่อเดือน มี.ค. ปี 2013 มาดูโร ซึ่งเป็นทายาทการเมืองที่ ชาเบซ เลือกสรรมากับมือก็ก้าวขึ้นมากุมบังเหียนรัฐสมาชิกโอเปกแห่งนี้แทน ทว่าพิษเศรษฐกิจที่รุมเร้าส่งผลให้คะแนนนิยมของเขาตกต่ำลงเรื่อยๆ

มาดูโร เผยว่า ตนได้สนทนากับประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน ราวๆ 1 ชั่วโมงครึ่งขณะไปเยือนมอสโก และหนึ่งในประเด็นที่มีการพูดคุยกันก็คือ ความเป็นไปได้ที่เวเนซุเอลาจะส่งออกน้ำมันในสกุลเงินรูเบิล หลังจากที่ถูกสหรัฐฯ คว่ำบาตร

“มาตรการคว่ำบาตรของ ทรัมป์ ทำให้เวเนซุเอลาได้เปิดประตูออกไปสู่โลกใหม่” เขากล่าว

ผู้นำเวเนฯ เคยพูดด้วยว่า รัฐบาลของเขาจะหันไปขายสินค้าด้วยสกุลอื่นๆ ที่ไม่ใช่ดอลลาร์สหรัฐ เช่น ยูโร, เยน หรือรูปี

รัฐบาลมาดูโรและฝ่ายค้านจะเผชิญหน้ากันอีกครั้งในศึกเลือกตั้งผู้ว่าการรัฐ วันที่ 15 ต.ค. นี้ โดยเขาได้ใช้รายการพบปะประชาชนประจำสัปดาห์กล่าวหาศัตรูการเมืองว่าพยายามบ่อนทำลายบริการสาธารณะ เช่น ตัดสายส่งไฟฟ้า เป็นต้น

รองประธานาธิบดี ตาเร็ก เอล ไอซ์ซามี ซึ่งออกรายการพร้อมกับ มาดูโร ระบุว่า มีการจับกุมนักเคลื่อนไหวฝ่ายค้านคนหนึ่งซึ่งอยู่เบื้องหลังเหตุระเบิดในการชุมนุมขับไล่ มาดูโร เมื่อต้นปีนี้ ซึ่งทำให้ตำรวจบาดเจ็บไป 7 นาย

ระยะหลังๆ เรามักจะได้ยินคำว่า “ยุค 90” อยู่บ่อยครั้งในแง่มุมของความอยากรำลึกถึง ความรู้สึกว่ายุคนั้นมันคลาสสิก มันมีอะไรน่าจดจำมากมาย ซึ่งนอกจากคำอธิบายที่ว่าช่วงเวลาวัยเด็กและวัยรุ่นมักหอมหวานเสมอ และเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ก็เลยอยากจะนึกถึงมัน ยุค 90 ยังได้รับคำอธิบายว่าเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านระหว่างโลกอนาล็อกเข้าสู่โลกดิจิทัล คนที่โตทันรู้ความในยุค 90 เลยได้คุ้นเคยกับทั้งโลกเก่าและโลกใหม่ ตั้งแต่จดหมาย เพจเจอร์ โทรศัพท์ตู้สาธารณะ โทรศัพท์บ้าน มาจนถึงมือถือสมาร์ทโฟน หรือการฟังเพลงจากวิทยุเทปคาสเซ็ตต์จนถึงสตรีมมิ่งผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่น

แต่ยุค 90 ก็เหมือนกับยุคอื่นๆ ที่มีทั้งด้านสวยงามและหมองหม่น “การตีกันของวัยรุ่นโดยอ้างศักดิ์ศรีในนามสถาบันการศึกษา” คือหนึ่งในปัญหาสังคมของยุคนั้นที่รุนแรงมาก โดยเฉพาะวัยรุ่นในระดับอาชีวศึกษา ประเภทเทคนิคฯ-เทคโนฯ ทั้งหลาย ถึงขนาดมีคำกล่าวว่า “เรียนช่างถ้าไม่ตายก็ติดคุก” พ่อแม่ผู้ปกครองถ้าทำได้จึงมักจะส่งลูกหลานเรียน ม.ปลาย สายสามัญดีกว่า แต่ถึงสังคมภายนอกจะมองเด็กอาชีวะอย่างไร ในกลุ่มของพวกเขานั้นก็อินกับวัฒนธรรมที่มีความเฉพาะของตนเอง “เสื้อช็อป หัวเข็มขัด องค์พ่อ ป้ายสถาบัน การรับรุ่น” มีความศักดิ์สิทธิ์ในความคิดของผู้ที่เรียนสายนี้ (อย่างน้อยๆ ก็ตอนที่คนคนนั้นยังเรียนอยู่)

4Kings เป็นหนังไทยที่เลือกหยิบประวัติศาสตร์เรื่องนี้มาเล่า ผมเองได้ยินชื่อโปรเจ็คท์นี้มาตั้งแต่ประมาณปี 2557 แต่ไม่ได้สนใจเพราะตัวเองไม่ได้เรียนสายอาชีวะ แต่จำได้ว่าช่วงนั้นเป็นที่ฮือฮามากก่อนที่จะเงียบหายไปพักใหญ่ มารู้อีกทีว่าในที่สุดก็ออกมาเป็นภาพยนตร์ฉายในโรง แถมได้นักแสดงมืออาชีพมาถ่ายทอดเรื่องราวอีกต่างหาก เมื่อดูตัวอย่างแล้ว แม้ผมจะไม่ใช่วัยรุ่นยุค 90 แต่เป็นยุคต้น 2000 (ช่วงเวลา “คะนอง” ของวัยรุ่น มักเป็นอายุ 15-18 หรือบางคนอาจจะลากยาวถึง 19 และ 20 ซึ่งช่วงนี้ส่วนใหญ่จะเรียน ม.ปลาย สายสามัญ ไม่ก็ ปวช. สายอาชีวะ) ก็ยังโตทันรู้ความว่ายุค 90 มีอะไร และต้นยุค 2000 ก็ยังไม่เปลี่ยนไปมาก เลยไม่พลาดที่จะเข้าไปดูในโรงตั้งแต่วันแรกที่เข้าฉาย

ภาพยนตร์เลือกที่จะเล่าเรื่องผ่านตัวละคร “บิลลี่” (จ๋าย ไททศมิตร) ในยุคปัจจุบันที่เป็นพ่อคน มีลูกสาวที่กำลังเป็นวัยเรียนและได้รับผลกระทบจากการยกพวกตีกันของกลุ่มวัยรุ่น ก่อนที่บิลลี่จะนึกย้อนไปในช่วงที่ตัวเองยังเป็นวัยรุ่น ที่ผ่านความคึกคะนองมาในแบบเดียวกัน ในยุค 90 ที่สถาบันอาชีวะ 4 แห่ง ถูกขนานนามว่า “โหด-ดิบ-เถื่อน” ที่สุดในยุคนั้น ประกอบด้วย อินทรอาชีวะ กนกอาชีวะ ช่างกลบุรณพนธ์ และเทคโนโลยีประชาชล (ซึ่งในภาพยนตร์เปลี่ยนชื่อจากสถาบันที่มีอยู่จริงคือ “เทคโนโลยีประชาชื่น”) ทั้ง 4 สถาบัน เป็นกลุ่มที่เด็กสถาบันอื่นๆ ไม่ค่อยอยากจะมีเรื่องด้วย เพราะกิตติศัพท์ความ “สุด” ในเรื่อง “พร้อมบวก-พร้อมบู๊” เป็นที่เลื่องลือ

ในช่วงวัยที่กำลังห้าว บิลลี่กับเพื่อนอีก 2 คนคือ “ดา” (เป้ อารักษ์) กับ “รูแปง” (ภูมิ รังษีธนานนท์) เป็น 3 หัวโจกของอินทรอาชีวะ กิน ดื่ม เที่ยว และมีเรื่องด้วยกัน โดยมีคู่อริคือ “มด” (โจ๊ก อัครินทร์) กับ “โอ๋” (ณัฏฐ์ กิจจริต) 2 หัวโจกของเทคโนโลยีประชาชล ซึ่งภาพยนตร์จะเน้นไปที่ 2 สถาบันนี้เป็นหลัก ส่วน กนกอาชีวะ กับ ช่างกลบุรณพนธ์ มีกล่าวถึงบ้างแต่ไม่มากนัก

แม้จะเป็นภาพยนตร์ที่เล่าเรื่องชีวิตวัยรุ่นอาชีวะ แต่การเล่าเรื่องก็ไม่ได้ทำให้การตีกันดูโก้ดูเท่ กลับกันแล้วมีการใส่บทและฉากที่เป็นความทุกข์ของคนเป็นพ่อแม่ และตั้งคำถามว่าที่ยกพวกตีกันไปวันๆ ที่สังคมภายนอกมองว่าเป็นเรื่องไม่ดีน่ารังเกียจนั้นทำเพื่ออะไรใครตอบได้บ้าง ขณะเดียวกัน ยังเพิ่มเติมเรื่องราวที่เป็นปัญหาของวัยรุ่นซึ่งไม่ว่าจะเรียนสายไหนน่าจะเคยพบเจอ ทั้งความไม่ลงรอยกันในครอบครัว ยาเสพติด การท้องในวัยเรียนทั้งที่สมัยนั้นวิธีป้องกันเริ่มเป็นที่รับรู้แล้ว

อนึ่ง ส่วนที่ผมชอบมากๆ ใน 4Kings คือการจำลองบรรยากาศของยุคนั้น ตั้งแต่ “เวทีคอนเสิร์ต” สถานที่ประกาศศักดาของเหล่าวัยรุ่นนักเรียน-นักเลง รวมถึงบรรยากาศที่ผู้ชมสนุกกับบทเพลงและเสียงดนตรีตรงหน้าแบบสุดเหวี่ยง “รถเมล์” ที่เด็กอาชีวะต้องรวมกลุ่มนั่งเบาะหลัง ตะโกนท้าสถาบันคู่อริที่อาจจะรวมกลุ่มกันตามป้ายรอรถก่อนทั้ง 2 ฝ่ายจะเข้าปะทะกัน ไปจนถึงเรื่องอื่นๆ อย่างเพลงของวง “หินเหล็กไฟ” ศิลปินร็อกแห่งยุคสมัย “สกอล” รองเท้าราคาแพงที่ไม่ควรใส่ไปไหนหากไม่อยากให้เตะตาพวกห้าวๆ “ตู้เกม” ตามห้างสรรพสินค้า ความบันเทิงอีกอย่างของวัยรุ่น “มอเตอร์ไซค์ 2 จังหวะ” พาหนะของคนยุคนั้น เป็นต้น มันเหมือนกับไปดูแล้วได้รำลึกอดีต อย่างที่บอกว่าหลายๆ อย่างในยุค 90 มันลากยาวมาถึงต้นยุค 2000 ด้วย

แต่สิ่งที่ผมรู้สึกว่าขาดไปสำหรับ 4Kings คือตัวละคร “ยาท เด็กบ้าน” (บิ๊ก D Gerrard) เด็กบ้านนั้นหมายถึงคนที่อยู่ในถิ่นหรือย่านนั้นๆ ฉายาก็จะตั้งจากชื่อตัวเองบวกกับชื่อถิ่นที่อยู่ (ยาท เด็กบ้าน ว่ากันว่าเป็นตัวละครที่ได้แรงบันดาลใจมาจาก “ยาท กม.11” เด็กถิ่นตัวห้าวในยุคนั้น) ในขณะที่ฉายาของเด็กอาชีวะจะเป็นชื่อตัวเองบวกกับชื่อสถาบันต้นสังกัด (เช่น บิลลี่ อินทร , มด ประชาชล) ยาท เด็กบ้าน เป็นตัวละครที่เด่นมากพอๆ กับตัวละครจาก 3 อินทร 2 ชล แต่น่าเสียดายที่ไม่มีการเล่าที่มาที่ไปว่าเหตุใดทำให้ตัวละครนี้หมั่นไส้เด็กอาชีวะเอามากๆ ถึงขั้นต้องออกล่าฆ่าให้ตาย ทำให้แม้ดูจบแล้วก็เหมือนมีอะไรติดค้างอยู่ เพราะเนื้อเรื่องตรงนี้ยังไม่เคลียร์

สุดท้ายสำหรับคนที่มีอคติกับ 4Kings ซึ่งผมเจอคอมเมนต์ในน้อยเลยผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ ที่มีการโปรโมต บ้างบอกว่าประวัติศาสตร์แบบนี้ให้มันสาบสูญไปเถอะจะไปรื้อฟื้นมาทำไม หรือสร้างมาเดี๋ยวเด็กยุคนี้มันเห็นว่าเท่แล้วอยากทำตามหรอก รวมถึงคนที่ผ่านยุคนั้นมาแล้วบอกว่าในขณะที่ภาพยนตร์โปรโมตให้พวกเด็กตีกันดูเท่ถามว่าลองถามคนที่ต้องขึ้นรถเมล์หรือคนที่ชอบดูคอนเสิร์ตบ้างไหมว่ารู้สึกอย่างไร ผมอยากให้เปิดใจไปชมจริงๆ นะ ภาพยนตร์พยายามรักษาสมดุลระหว่างมุมมองของวัยรุ่นที่ความรักเพื่อน-รักสถาบันเป็นค่านิยมหลักบวกกับความคึกคะนองกับผลกระทบที่ตามมาและต้องยอมรับ ซึ่งก็เป็นอย่างที่บทพูดหนึ่งของตัวละครนั่นละครับ

“ทุกคนต้องผ่านช่วงเวลาแบบนี้ อยู่ที่จะแสดงออกมาแบบไหนแค่นั้นเอง”!!! -----

หมายเหตุ (และบ่นเรื่อยเปื่อย) :

- การที่ภาพยนตร์ 4Kings ไม่สามารถใช้ชื่อเทคโนโลยีประชาชื่นได้และต้องเปลี่ยนเป็นเทคโนโลยีประชาชล เนื่องจากเจ้าของสถาบันไม่อนุญาตให้ใช้ครับ ซึ่งโดยส่วนตัวผมเข้าใจนะ เพราะหลังจากปิดตัวลงไม่นาน เจ้าของก็กลับมาเปิดใหม่แต่ทำการ “รีแบรนด์” จากอาชีวะสายช่างเป็นอาชีวะสายพาณิชย์แทน หากยังใช้ชื่อเดิมก็ไม่รู้ว่าจะมีคนดูหนังประเภท “คิดไมได้” แล้วไปทำอะไรแผลงๆ ที่จะกระทบกับเด็กที่กำลังเรียนในปัจจุบันหรือเปล่า

- ปัจจุบันทั้ง 4 สถาบันใน 4Kings ปิดไปหมดแล้ว แต่จะมีบางแห่งที่กลับมาเปิดใหม่แบบรีแบรนด์จากสายช่างเป็นสายพาณิชย์ หรือไปตั้งในต่างจังหวัดแทนเพื่อจะได้ไม่ต้องมีเรื่อง (อันนี้ที่ไหนกลับมาเปิดบ้างรบกวนบอกผมนีนะครับ รวมถึงปัจจุบันที่ปิดไปถาวร พื้นที่ตรงนั้นกลายเป็นอะไรไปแล้วบ้าง) ซึ่งอันนี้ก็เป็นเรื่องแปลก ปัญหานักเรียนอาชีวะตีกันเป็นปัญหาเฉพาะสถาบันในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ในต่างจังหวัดไม่มีแบบนี้ โดยวัยรุ่นในต่างจังหวัดจะตีกันในนามเด็กบ้านเสียมากกว่า เช่น คนละหมู่บ้าน คนละตำบล

- การตีกันของวัยรุ่นโดยอ้างศักดิ์ศรีสถาบันการศึกษาไม่ได้มีแต่เด็กอาชีวะ แต่รวมถึงเด็กมัธยมสายสามัญด้วย เช่น ในขณะที่เด็กอาชีวะจะล่าเสื้อช็อปและหัวเข็มขัดของสถาบันอื่น เด็กมัธยมก็ทำแบบเดียวกันแต่เป็นการล่าโลโก้หรือตราสัญลักษณ์ของสถาบันอื่นที่ปักอยู่ตรงกระเป๋าเสื้อของเสื้อพละ เด็กอาชีวะใส่เสื้อช็อปสถาบันตัวเองแล้วรู้สึกมีพลัง เด็กมัธยมใส่เสื้อพละสถาบันตัวเองก็รู้สึกมีพลังเช่นกัน แต่โดยทั่วไปเด็กอาชีวะกับเด็กมัธยมจะต่างคนต่างอยู่ แบ่งกันโดยเรียกจากกางเกงที่ใส่ “ขาสั้น” คือมัธยม “ขายาว” คืออาชีวะ (แต่ก็มีมัธยมบางสถาบันที่ห้าวถึงขั้นข้ามสายไปตีกับอาชีวะอยู่เหมือนกัน)

- ในยุค 90 ลากยาวมาถึงต้นยุค 2000 คนไทยมีโอกาสได้สัมผัสกับบทเพลงจากศิลปินไทยที่ชื่นชอบได้ง่าย เพราะค่ายเพลงจับมือกับสถานีโทรทัศน์จัดฟรีคอนเสิร์ต ใช้พื้นที่ห้างสรรพสินค้าหรือที่อื่นก็แล้วแต่จะหาได้ มีให้ชมกันสดๆ ช่วงเที่ยงวันเสาร์-อาทิตย์ แน่นอนว่าวัยรุ่นสายห้าวยุคนั้นทั้งขาสั้น (มัธยม) และขายาว (อาชีวะ) มักใช้เวทีคอนเสิร์ตนี่ละครับเป็นที่ประกาศศักดาในนามสถาบันของตัวเอง ใส่ช็อบหรือเสื้อพละไปในสภาพพร้อมบวกเต็มที่ ส่วนคนที่จะไปดูดนตรี-ฟังเพลงจริงๆ ก็ต้องหูตาว่องไว ระวังตัวไม่ให้โดนลูกหลง (เช่นผมเป็นต้น..ตอนนี้นึกแล้วขำๆ แต่ตอนนั้นก็หลอนๆ กลัวๆ เหมือนกัน เพราะถึงจะรู้ว่าเสี่ยงแต่ผมชอบดูดนตรีสดจึงต้องยอมรับความเสี่ยงนั้นครับ..ฮา)

-----

ปล.ไม่น่าเชื่อว่าหนังเรื่องนี้จะเป็นกระแสมากนะครับ วันแรกผมหาโรงดูแทบไม่ได้เลย ตามห้างใหญ่ๆ หรือชุมทางสำคัญๆ ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ที่นั่งเต็มเกือบหมดทุกรอบ จนผมต้องไปดูรอบดึกโน่นเลย (ไม่เคยเห็นหนังไทยเป็นแบบนี้มานานมากละครับ ยุคหลังๆ ส่วนใหญ่บรรยากาศคนแน่นๆ จะมีแต่หนังฮีโร่จาก MCU นั่นละ)

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้