2024 ทำไม cetirizine ไม ใช ในเด กต ำกว า 2ป

Cetirizine (เซทิริซีน) เป็นยาในกลุ่มยาแก้แพ้ (Antihistamine) มีคุณสมบัติในการรักษาอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น น้ำมูกไหล เคืองตา คันจมูก คันคอ จาม มีผื่นขึ้น บรรเทาอาการบวมและคัน ซึ่งเกิดจากลมพิษ ภูมิแพ้อากาศ โรคหืด และโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis) โดยปริมาณยาที่แนะนำคือไม่ควรเกินวันละ 10 มิลลิกรัม

ตัวยาออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการปล่อยสารฮิสตามีน (Histamine) ที่ร่างกายสร้างขึ้นเมื่อเกิดอาการแพ้ อย่างไรก็ตาม ยา Cetirizine ไม่ได้ช่วยป้องกันลมพิษ และไม่ได้ช่วยป้องกันหรือรักษาอาการแพ้อย่างรุนแรง (Anaphylaxis) ผู้มีอาการแพ้รุนแรงที่แพทย์สั่งจ่ายยาฉีดอิพิเนฟรีนเพื่อระงับอาการแพ้ที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ควรพกยาติดตัวไปด้วยเสมอ และไม่สามารถใช้ Cetirizine แทนยาฉีดเอพิเนฟรีนได้

เกี่ยวกับยา Cetirizine

กลุ่มยา ยาต้านการทำงานของฮีสตามีน (Antihistamine) ประเภทยายาหาซื้อได้เอง ยาตามใบสั่งแพทย์สรรพคุณ บรรเทาอาการหวัด และแก้แพ้จากภูมิแพ้อากาศและลมพิษ กลุ่มผู้ป่วยเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป และผู้ใหญ่การใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์และผู้ให้นมบุตร ยังไม่มีการจัดหมวดหมู่ของยาชนิดนี้จากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) สตรีมีครรภ์ ผู้วางแผนจะตั้งครรภ์ และผู้ให้นมบุตรควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยานี้ เนื่องจากตัวยาอาจซึมผ่านน้ำนมมารดา และอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์และทารกหลังคลอด รูปแบบของยา ยาเม็ด ยาน้ำ ยาหยอดตา ยาฉีดเข้าหลอดเลือด

คำเตือนการใช้ยา Cetirizine

เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ยา ผู้ป่วยควรระมัดระวังและปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • ยา Cetirizine สามารถส่งผลข้างเคียงต่อกระบวนการคิดและการตอบสนอง ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการขับรถ การทำงานกับเครื่องจักร หรือกิจกรรมที่ต้องการการตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา
  • ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เมื่อใช้ยา Cetirizine เพราะจะทำให้เพิ่มการเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาได้
  • ควรปรึกษาแพทย์หากใช้ยาชนิดนี้แล้วอาการไม่ดีขึ้น มีอาการแย่ลง หรือมีอาการไข้เมื่อใช้ยาดังกล่าว
  • เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ผู้มีภาวะตับและไตเสื่อม รวมทั้งผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปี สตรีมีครรภ์หรืออยู่ในระหว่างให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยานี้
  • แจ้งให้แพทย์ทราบก่อนรับการทดสอบในห้องปฏิบัติการ เช่น การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง เพราะการใช้ยานี้อาจทำให้ผลการทดสอบที่คาดเคลื่อนได้

ปริมาณการใช้ยา Cetirizine

ปริมาณและระยะเวลาในการใช้ยาขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา โดยตัวอย่างการใช้ยา Cetirizine เพื่อรักษาอาการปวดต่าง ๆ มีดังนี้

1. ยาชนิดรับประทาน

การใช้ยา Cetirizine ชนิดรับประทาน จะใช้เพื่อรักษาอาการแพ้จากโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) ทั้งชนิดที่เกิดอาการแพ้เฉพาะบางฤดูกาล หรือเกิดอาการแพ้ได้ตลอดทั้งปี และรักษาอาการแพ้จากลมพิษเรื้อรังชนิดไม่ทราบสาเหตุ

ทั้งนี้ ไม่ควรรับประทานยาเกิน 10 มิลลิกรัมภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งปริมาณการรับประทานจะแบ่งตามช่วงอายุ ดังนี้

  • เด็กอายุ 6–12 ปี รับประทานครั้งละ 5 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง
  • เด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป และผู้ใหญ่ รับประทานวันละ 10 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง หากอาการแพ้ไม่รุนแรง แพทย์อาจแนะนำให้แบ่งรับประทานยาครั้งละ 5 มิลลิกรัม วันละ 1–2 ครั้ง

2. ยาหยอดตา

การใช้ยา Cetirizine ชนิดหยอดตา จะใช้เพื่อรักษาอาการคันและระคายเคืองดวงตาจากโรคภูมิแพ้ขึ้นตา (Allergic Conjunctivitis) ซึ่งจะใช้ในเด็กอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป และผู้ใหญ่ โดยหยดยาที่ดวงตาข้างที่มีอาการครั้งละ 1 หยด วันละ 2 ครั้ง โดยเว้นระยะเวลาห่างกัน 8 ชั่วโมง

3. ยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำ

การใช้ยา Cetirizine ชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำในการกำกับดูแลของแพทย์ที่สถานพยาบาลเท่านั้น โดยจะใช้รักษาอาการลมพิษเฉียบพลัน ซึ่งปริมาณการให้ยาจะแบ่งตามช่วงอายุ ดังนี้

  • เด็กอายุ 6 เดือน จนถึงอายุ 5 ปี ให้ยาครั้งละ 2.5 มิลลิกรัม ทุก 24 ชั่วโมง
  • เด็กอายุ 6–11 ปี ให้ยาครั้งละ 5–10 มิลลิกรัม ทุก 24 ชั่วโมง หรือขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ
  • เด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป และผู้ใหญ่ ให้ยาครั้งละ 10 มิลลิกรัม ทุก 24 ชั่วโมง

การใช้ยา Cetirizine

การใช้ยา Cetirizine สามารถรับประทานได้ทั้งก่อนและหลังอาหาร หากรับประทานยาดังกล่าวเป็นชนิดน้ำ ควรใช้ช้อนสำหรับตวงยาโดยเฉพาะ ไม่ควรใช้ช้อนธรรมดาในการตวงเพราะอาจจะทำให้รับประทานยาเกินขนาด หรือน้อยกว่าปริมาณที่ควรจะเป็น หากเป็นยาเม็ดสำหรับเคี้ยว ควรเคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน

หากลืมรับประทานยา ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้ แต่หากนึกได้ในเวลาที่ใกล้เคียงกับเวลาในการรับประทานยาครั้งถัดไป ควรรอให้ถึงเวลาแล้วค่อยรับประทานโดยไม่ต้องเพิ่มปริมาณยา เนื่องจากการรับประทานยาเกินขนาดอาจทำให้เกิดอาการเหล่านี้ได้

  • เกิดอาการมึนงง วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ
  • อ่อนเพลีย ง่วงซึม
  • มีอาการคัน
  • ปากแห้ง
  • ท้องเสีย
  • รูม่านตาขยาย ตัวสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
  • ปัสสาวะไม่ออก
  • นอนไม่หลับ

หากเกิดอาการเหล่านี้ขึ้นควรรีบไปพบแพทย์หรือเรียกรถหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน เพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ นอกจากนี้ ยังควรสังเกตอาการในระหว่างการใช้ยาด้วย หากอาการไม่ดีขึ้นหรือมีทีท่าว่าจะยิ่งแย่ลง ควรปรึกษาแพทย์โดยด่วน

ในเรื่องการเก็บรักษา ยาเซทิริซีนเป็นยาที่ควรเก็บรักษาในอุณหภูมิห้อง และให้ห่างจากความชื้นและความร้อน เนื่องจากอาจทำให้ยาเสื่อมประสิทธิภาพลงได้

ปฏิกิริยาระหว่างยา Cetirizine กับยาอื่น

ยา Cetirizine อาจทำปฏิกิริยากับยาบางชนิด ซึ่งอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ง่วงซึม หรือลดประสิทธิภาพของยาลง เช่น

  • ยาแก้แพ้ชนิดอื่น ๆ ทั้งยารับประทานและยาทา เช่น คลอเฟนิรามีน (Chlorpheniramine) ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) ไฮดรอกไซซีน (Hydroxyzine) และเลโวเซทิริซีน (Levocetirizine)
  • ยารักษาโรคหอบหืดและโรคปอด เช่น ทีโอฟิลลีน (Theophylline)
  • ยาระงับประสาท และยานอนหลับที่ใช้รักษาอาการซึมเศร้าหรือวิตกกังวล เช่น อัลปราโซแลม (Alprazolam) และลอราซีแพม (Lorazepam)
  • ยาแก้ปวดชนิดเสพติด เช่น ยากลุ่มโอปิออยด์ (Opioids)
  • ยาคลายกล้ามเนื้อ เช่น คาริโซโพรดอล (Carisoprodol) ไซโคลเบนซาพรีน (Cyclobenzaprine)

นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่ใช้ยาชนิดอื่น ๆ เช่น ยารักษาอาการไอและหวัด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทุกครั้งก่อนได้รับยา เนื่องจากยาชนิดนี้จะยิ่งทำให้เกิดอาการง่วงมากขึ้น

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา Cetirizine

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา Cetirizine มีค่อนข้างมาก โดยผลข้างเคียงที่พบมักมีความแตกต่างไปกันตามช่วงวัย ดังนี้

  • ผู้ใหญ่และเด็กอายุ 12 ปี ขึ้นไป อาจเกิดอาการง่วงนอน อ่อนเพลีย ปากแห้ง นอนไม่หลับ
  • เด็กอายุ 2–11 ปี อาจปวดศีรษะ คออักเสบ และปวดท้อง
  • เด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือน จนถึง 2 ปี อาจมีอาการตอบสนองต่อสิ่งเร้ามากผิดปกติ มีอาการมึนงง นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย รู้สึกไม่สบายตัว

นอกจากนี้ ยาดังกล่าวยังอาจส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงอื่น ๆ ได้อีก เช่น วิงเวียนศีรษะ ง่วงซึม รู้สึกเหนื่อย ปวดศีรษะ ปากแห้ง เจ็บคอ ไอ คลื่นไส้ ท้องผูก เป็นต้น ส่วนผลข้างเคียงที่รุนแรงก็สามารถพบได้เช่นกัน ได้แก่

  • หัวใจเต้นผิดปกติ
  • เหนื่อย มีอาการสั่น หรือนอนไม่หลับ
  • มีอาการอยู่ไม่สุข ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา
  • มีอาการมึนงง
  • มีปัญหาในเรื่องการมองเห็น
  • ปัสสาวะน้อย หรือไม่ปัสสาวะเลย

ไม่เพียงเท่านั้น การแพ้ยาชนิดนี้ยังส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ ที่ถือเป็นสัญญาณอันตราย เช่น ลมพิษ หายใจลำบาก ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น และคอ มีอาการบวม ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้ควรรีบหยุดยาทันที หรือหากอาการค่อนข้าง

ยา Cetirizine กินทุกวันได้ไหม

Cetirizine (เซทิริซีน) เป็นยาในกลุ่มยาแก้แพ้ (Antihistamine) มีคุณสมบัติในการรักษาอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น น้ำมูกไหล เคืองตา คันจมูก คันคอ จาม มีผื่นขึ้น บรรเทาอาการบวมและคัน ซึ่งเกิดจากลมพิษ ภูมิแพ้อากาศ โรคหืด และโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis) โดยปริมาณยาที่แนะนำคือไม่ควรเกินวันละ 10 มิลลิกรัม

Cetirizine ควรกินตอนไหน

วิธีใช้ยา รับประทานยานี้ก่อนหรือหลังมื้ออาหารก็ได้ แต่ควรรับประทานยาในช่วงเวลาเดียวกันทุกวัน อาจต้องรับประทานยาหลายวันก่อนที่อาการจะดีขึ้น เด็กอายุ 2-6 ปี รับประทานครั้งละ ครึ่งช้อนชา วันละ 2 ครั้ง หรือ 1 ช้อนชา วันละ 1 ครั้ง

ยาแก้แพ้กินวันละ 2 เม็ดได้ไหม

ปริมาณการรับประทานยาแก้แพ้ชนิดเม็ด เด็กที่มีอายุ 4-7 ปี ควรกินครั้งละ 1 ใน 4 ของเม็ด เด็กที่มีอายุ 7-12 ปี ควรรับประทานครั้งละครึ่งเม็ด วัยผู้ใหญ่และเด็กอายุ 13 ปีขึ้นไป ควรรับประทานยาครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2-4 ครั้ง หรือทุก 4-6 ชั่วโมง

Cetirizine ลดน้ำมูกได้ไหม

ยาซีร์เทค (Zyrtec) ประกอบด้วยตัวยาเซทิริซีน (Cetirizine) เป็นยาประเภท Antihistamine กลุ่มสารต้านฮีสตามีน ใช้ในการลดอาการแพ้อากาศ เช่น เมื่อมีอาการอาการจาม คัดจมูก น้ำมูกไหล คันตา ตาแดง น้ำตาไหล ลมพิษ มีทั้งแบบเม็ด สำหรับผู้ใหญ่ และแบบน้ำสำหรับเด็ก

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้