2024 ทำไม 2 ย กษ ใหญ apple samsung จ น sanook

เราอาจจะเคยได้ยินว่า ถ้าใช้มือถือให้คุ้มทั้งที ก็ต้องเลือกแพง ๆ ใช้ได้นาน ๆ เอาให้พังก่อนถึงจะเปลี่ยนใหม่ และเราก็มักจะเคยได้ยินว่า ซื้อมือถือทุกปีนั้นไม่คุ้ม และเปลืองเงินมาก ๆ แต่แล้วทำไมหลาย ๆ คนถึงยังเปลี่ยนมือถือใหม่ทุกปี แล้วยังบอกว่าการเปลี่ยนทุกปีนั้นคุ้มกว่า เอ๊ะ! หรือที่เราเคยได้ยินมาอาจจะไม่จริง ในบทความนี้เราจะชวนทุกคนมาขบคิดในเรื่องนี้กันครับ

ใช้มือถือยาว ๆ คุ้มจริงไหม ?

ปกติแล้วเมื่อเราซื้อมือถือมาซักเครื่อง ก็คงจะหวังใจว่ามันจะอยู่กับเราไปนานที่สุด แต่ในความเป็นจริงมือถือมีรอบในการเปลี่ยนใหม่อยู่ที่ราว ๆ 3-5 ปีครับ จากหลายสาเหตุ ทั้งแบตเสื่อม จอเสื่อม แอปหรือระบบไม่รองรับครับ ถ้าฝืนใช้ต่อก็พอได้ แต่คิดว่าน่าจะลำบากซะเปล่า ๆ เปลี่ยนใหม่ดีกว่า

แน่นอนว่าการเปลี่ยนมือถือเครื่องใหม่ก็ต้องพูดถึงเรื่องค่าใช้จ่ายครับ ซึ่งตัวอย่างที่เรายกมาเป็น Phone 13 Pro Max (128 GB) ราคา 42,900 บาทนะครับ ที่ต้องเป็น iPhone เพราะมีราคาขายต่อสูงกว่า Android ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับในส่วนถัดไป

เปลี่ยนมือถือทุก 3 ปี vs เปลี่ยนมือถือทุก 5 ปี

ตารางเทียบ “ค่าใช้จ่ายทั้งหมด” ของการเปลี่ยนมือถือแบบ 3-5 ปี

เรื่องนี้หลายคนน่าจะสงสัยกันใช่ไหมครับ เราลองคำนวณออกมาเป็นตารางด้านบนแล้วครับ หากถ้าเราเปลี่ยนมือถือทุก 3 ปี พอผ่านไป 5 ปีเราก็จะซื้อเครื่องที่สองไปแล้ว คิดเป็นเงิน 85,800 บาท ในขณะที่ถ้าเราเปลี่ยนทุก 5 ปีเราเสียเงินแค่ 42,900 บาทเท่านั้นเองครับ

ถ้าเราลองเอาราคามือถือมาหารเฉลี่ยเป็นค่าใช้จ่ายต่อปี (ยิ่งน้อยยิ่งคุ้ม) การเปลี่ยนทุก 3 ปีจะมีค่าใช้จ่ายปีละ 42,900 ÷ 3 = 14,300 บาท กลับกันถ้าเปลี่ยนทุก 5 ปีก็จะลดลงเหลือปีละ 42,900 ÷ 5 = 8,580 บาท เรียกว่ายิ่งใช้ได้นานเท่าไร ค่าใช้จ่ายต่อปีก็จะยิ่งลดลงเท่านั้น หรือเรียกว่าคุ้มกว่านั่นเอง

เปลี่ยนใหม่ทุกปี คุ้มกว่าจริงหรือ ?

เมื่อเรารู้แล้วว่า ยิ่งใช้นาน ยิ่งคุ้ม แต่ทำไมยังมีคนที่คิดจะเปลี่ยนมือถือทุกปีด้วยล่ะ มันคุ้มกว่าหรือไง ยกตัวอย่างมือถือราคาเดียวกัน ถ้าเราเปลี่ยนทุกปีก็จะมีค่าใช้จ่ายปีละ 42,900 บาทเลยนะ ซึ่งแพงกว่า 500% ถ้าเทียบกับการใช้ยาว 5 ปีที่เฉลี่ยปีละ 8,580 บาท

คำถามคือเขาทำยังไงถึงเปลี่ยนได้ทุกปี เรื่องนี้มีคำตอบครับ ปกติแล้วคนที่เปลี่ยนมือถือทุกปี เขามักจะขายมือถือเครื่องเก่า เพื่อเอาทุนมาซื้อใหม่ แล้วจ่ายส่วนต่างเพิ่มไปครับ ส่วนใหญ่จะทำกับ iPhone เพราะเวลาขายเป็นมือสองราคาจะไม่ตกมากนัก เท่าที่เห็นคือตกปีละ 10,000 – 15,000 ครับ (ขึ้นอยู่กับสภาพ) แต่ถ้าเป็น Android ราคาจะตกเยอะกว่าหลายคนจึงไม่นิยมสักเท่าไร

ซึ่งการหาส่วนต่างจะต้อง เอาราคาที่ซื้อมา – ราคาขายมือสอง = ส่วนต่าง ตัวอย่าง iPhone 13 Pro Max (128GB) ถ้าซื้อมาในราคา 42,900 บาท แล้วใช้แบบถนอม ๆ พอผ่านไปซักหนึ่งปี มาขายก็จะได้ราคามือสองประมาณ 30,000 บาท (ราคาต่ำกว่าตลาด Facebook Marketplace) ไปซื้อเครื่องใหม่ที่ราคาเท่ากัน (แบบซื้อเครื่องเปล่า) โดยส่วนต่างที่เราต้องจ่ายทุกปีก็จะอยู่ที่ 42,900 – 30,000 = 12,900 บาท ถ้าเราลองเอามาเทียบกับค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อปีของการเปลี่ยนมือถือทุก 3-5 ปีก็จะเป็นตามตารางด้านล่างนี้เลย

ตารางเทียบ “ค่าใช้จ่ายต่อปี” ของการเปลี่ยนมือถือ

จะเห็นว่าถ้าเราเปลี่ยนมือถือทุกปีจะมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการเปลี่ยนมือถือทุก3 ปี นี่จึงเป็นสาเหตุที่หลายคนบอกว่า เปลี่ยนมือถือทุกปีจะคุ้มกว่า (คุ้มกว่าเฉพาะ 3 ปีนะ) จ่ายถูกกว่าและยังได้ใช้เทคโนโลยีใหม่ตลอด

แต่ แต่ แต่… นี่คือตัวเลขเฉลี่ยต่อปีเท่านั้นนะครับ เวลาคำนวณจริง ๆ เราต้องดูยอดเงินสุทธิที่จ่ายไปได้ด้วยครับ ซึ่งเราคำนวณไว้ให้แล้วตามตารางด้านล่างนี้

ตารางเทียบ “ค่าใช้จ่ายทั้งหมด” ของการเปลี่ยนมือถือ

จากตารางเราจะเห็นว่า การเปลี่ยนมือถือทุกปี เราจะเสียเงินน้อยกว่าการเปลี่ยนทุก 3 ปี (ซื้อใหม่ตอนปีที่ 4) จุดนี้แหล่ะที่คนเปลี่ยนทุกปีบอกว่าคุ้มกว่า แต่ถ้าเอาไปเทียบกับการเปลี่ยนทุก 5 ปี (ซื้อใหม่ตอนปีเข้าปีที่ 6) อันนี้เราก็จะต้องเสียเงินเยอะกว่าครับ โดยส่วนต่างก็คือ 107,400 – 84,900 = 22,500 บาท นี่เป็นเพียงแค่การคำนวณแบบสมมุตินะครับ ในความเป็นจริงจะมีส่วนต่างมากหรือน้อยกว่านี้ก็ได้ขึ้นอยู่กับตัวแปรที่เป็น “ราคาขายมือสอง และราคามือถือเครื่องใหม่ในแต่ละปี” ถ้าถามว่าคุ้มไหม อันนี้ลองตัดสินใจดูนะครับ

เทคนิคการเปลี่ยนมือถือทุกปีแบบผูกโปร

นอกจากนี้การเปลี่ยนมือถือทุกปี ยังมีวิธีทำให้ถูกลงด้วยการซื้อแบบผูกโปรโมชันรายเดือนครับ แต่ขอบอกไว้ก่อนว่าวิธีนี้ เหมาะกับคนที่จ่ายรายเดือนซัก 699 ขึ้นไป ไม่แนะนำให้เปลี่ยนมาเป็นโปรแพง ๆ นะครับ เดี๋ยวเราลองมาดูกันว่ามันจะลดได้แค่ไหน

ยกตัวอย่าง ถ้าเราขายมือถือเก่าแล้วไปซื้อเครื่องใหม่แบบไม่ผูกโปรฯ จะมีส่วนต่างอยู่ที่ 12,900 บาท แต่ถ้าผูกโปรรายเดือน (1,699 บาท นาน 12 เดือน) เขาจะมีส่วนลดค่าเครื่องให้ 8,800 บาท ถ้ามาหักลบกับส่วนต่างเดิมที่เราคำนวณไว้เงินที่เราต้องจ่ายก็จะอยู่ที่ 12,900 – 8,800 = 4,100 บาทต่อปีครับ ซึ่งเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างน้อยมากเลยแลกกับการได้ของใหม่ทุกปี แต่ถึงอย่างนั้นตัวเลขนี้อาจจะไม่ใช่ตัวเลขจริงที่เราต้องจ่ายครับ เพราะการเปลี่ยนทุกปีมักจะมาพร้อมกับค่าใช้จ่ายแอบแฝง

ค่าใช้จ่ายแอบแฝง กับดักคนเปลี่ยนมือถือทุกปี

คนที่เปลี่ยนมือถือทุกปีอาจจะมองแค่ส่วนต่างที่ต้องจ่ายเฉพาะค่าเครื่องเท่านั้น แต่ในความจริงการเปลี่ยนเครื่องทุกปี มักมีค่าใช้จ่ายแอบแฝงด้วย เช่น ค่าเคส ค่ากระจกกันรอย ค่าประกันอุบัติเหตุ และที่หนักสุดคือค่ามือถือรายเดือน ที่ต้องเสียเพิ่มในกรณีที่เราเปลี่ยนโปรถูกมาเป็นโปรแพงครับ เช่น ถ้าเราต้องเปลี่ยนจากโปร 699 มาเป็น 1,699 บาท เท่ากับว่าเราต้องจ่ายเพิ่ม 1,000 ต่อเดือน หรือ 12,000 ต่อปีเลยนะครับ นี่ยังไม่รวมค่าเคสและกระจกกันรอยอย่างดีที่ราคาประมาณ 2,000 บาทด้วยนะครับ (ที่ต้องเป็นอย่างดีเพราะเครื่องจะไม่เกิดรอย เวลาขายต่อราคาจะไม่ตก) รวมถึงประกันอุบัติเหตุอย่าง Apple Care ปีละ 8,290 บาทด้วยนะครับ

ตารางเทียบ “ค่าใช้จ่ายต่อปี” ของการเปลี่ยนมือถือ

ถ้ารวมค่าใช้จ่ายแอบแฝงเราต้องจ่ายต่อปีก็จะอยู่ที่ (12,000 + 2,000 + 8,290) + 4,100 = 26,390 บาทเลยนะครับ แต่อาจจะลดลงกว่านี้ได้หากเราตัดค่าใช้จ่ายบางส่วนออก แต่ก็ยังถือว่าสูงอยู่ดีครับ ใครจะเปลี่ยนทุกปียังไงก็ต้องคำนวณในส่วนนี้เข้าไปด้วย ซึ่งบางทีอาจจะแพงกว่าใช้ยาว ๆ ก็เป็นได้ครับ

สรุป ใช้ยาว vs เปลี่ยนทุกปี แบบไหนคุ้มกว่า?

ถ้าต้องให้สรุปว่าการใช้มือถือยาว ๆ vs การเปลี่ยนมือถือทุกปี แบบไหนจะคุ้มที่สุด คำตอบคือแล้วแต่กรณีไปครับ ถ้าเรามองแค่ค่าเครื่องอย่างเดียว ไม่คิดรวมเรื่องค่าใช้จ่ายแฝงต่าง ๆ การเปลี่ยนมือถือทุกปีแบบผูกโปรจะคุ้มสุดครับ แต่ถ้ามองถึงปัจจัยเรื่องค่าใช้จ่ายแอบแฝงที่มาพร้อมกับการเปลี่ยนเครื่องใหม่ ดูเป็นอะไรที่น่าจะคุ้มกว่านะครับ

หวังว่าข้อมูลที่เรานำมาเสนอนี้ จะช่วยให้ทุกคนตัดสินใจได้ว่าจะเลือกใช้มือถือยาว ๆ หรือซื้อใหม่ทุกปีได้นะครับ หรือถ้ามีความคิดเห็นที่แตกต่างจากนี้อย่างไร ก็สามารถคอมเมนต์มาแลกเปลี่ยนกันได้

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้