2024 กองท นสำรอง ทำไม ส วนของนายจ างเยอะกว า

อยากทราบว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ของพี่ๆบริษัทสมทบกันเท่าไหร่บ้างครับ ของผม เริ่ม 5%ไปจบที่ 8% น้อยไปไหมครับ เห็นของเพื่อนได้ 15% เลยครับ

แล้วกองทุนเนี้ย ถ้าเราอัดเต็ม max เกษียณออกมาจะได้กี่บาทครับ ที่ว่า 5 ล้าน 8 ล้าน 10 ล้านจริงไหม

หลาย ๆ คนที่เพิ่งจะเข้ามาเป็นมนุษย์เงินเดือนหน้าใหม่ อาจจะสงสัยว่า ทำไมเงินเดือนที่เราได้รับในแต่ละเดือนนั้นไม่ตรงกันกับสลิปเงินเดือนหรือสัญญาว่าจ้างงานเลย แล้วเงินของเราหายไปไหนล่ะ? เมื่อลองมาตรวจสอบดูในสลิปเงินเดือนของเราดี ๆ ก็จะพบว่า เงินเดือนของเรานั้นโดนหักทั้งค่าประกันสังคม ภาษี รวมไปถึงเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยที่บางคนก็ไม่เคยรู้เลยว่าบริษัทหักเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปทำอะไร?

ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกันก่อนดีกว่าว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คืออะไร?

เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ Provident Fund คือกองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้นด้วยความสมัครใจ โดยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีข้อดีตรงที่สามารถเก็บเป็นเงินสำรองไว้ให้ลูกจ้างใช้จ่ายยามเกษียณอายุ ออกจากงาน ทุพพลภาพ หรือเป็นหลักประกันให้แก่ครอบครัว ในกรณีที่ลูกจ้างเสียชีวิต

โดยเงินจำนวนนี้จะมาจากเงินที่ลูกจ้างจ่ายเข้ากองทุนส่วนหนึ่งเรียกว่า “เงินสะสม” และเงินที่นายจ้างจ่ายเข้ากองทุนให้อีกส่วนหนึ่งเรียกว่า “เงินสมทบ” แล้วนำไปฝากไว้ให้กับมืออาชีพอย่าง “บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน” (บลจ.) ช่วยบริหารจัดการและนำเงินไปลงทุน เพื่อให้เงินในกองทุนของเรานั้นงอกเงย

จะหักเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างไรให้คุ้มค่าที่สุด?

หลายคนอาจเคยสงสัยว่า เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ต้องหักกี่เปอร์เซ็นต์ ในการหักเงินสมทบนั้น กฎหมายได้กำหนดให้ลูกจ้างสะสมได้ตั้งแต่ 2-15% ของเงินเดือน และนายจ้างสมทบเข้าเป็นประจำทุกครั้งที่จ่ายเงินเดือนให้อีกในอัตราตั้งแต่ 2-15% ตามข้อบังคับของแต่ละบริษัท เพราะฉะนั้นถ้ามองในแง่ของการลงทุนแล้ว ยิ่งเราสะสมมากเท่าไหร่ เรายิ่งมีโอกาสได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น และที่สำคัญเราสามารถนำ “เงินสะสม” ที่เราสะสมในแต่ละปี ไปหักลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย

จะได้รับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพคืนเมื่อไหร่?

โดยปกติแล้วสมาชิกกองทุนมีสิทธิได้รับเงินคืนจากกองทุนเมื่อความเป็นสมาชิกสิ้นสุดลง ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม ทั้งลาออกจากงาน เกษียณอายุ โอนย้ายกองทุน หรือแม้กระทั่งเสียชีวิต โดยจะได้รับเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินสะสมทั้งจำนวน ส่วนเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบจะได้รับตามเงื่อนไขที่บริษัทกำหนดไว้ในข้อบังคับกองทุน

จะจัดการกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างไรดี เมื่อลาออกจากงาน?

เป็นธรรมดาสำหรับมนุษย์เงินเดือนหน้าใหม่อย่างเราที่เมื่อทำงานมาสักพักหนึ่งแล้ว ก็เริ่มที่จะมองหาความก้าวหน้าในชีวิต รวมถึงการเติบโตในหน้าที่การงานด้วย เพราะฉะนั้นการตัดสินใจลาออกจากงาน เพื่อมองหาความท้าทายใหม่ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร แต่ก่อนที่จะเปลี่ยนงาน อย่าลืมที่จะรักษาสิทธิต่าง ๆ ที่เราควรได้รับจากที่ทำงานเดิม โดยเฉพาะการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หากบริษัทไหนมีกองทุนนี้ให้กับพนักงาน ไม่อย่างนั้นตัวเราเองนี่แหละที่อาจจะเสียประโยชน์ได้ ซึ่งวันนี้เราได้สรุปมาให้ทุกคนทั้งหมด 3 ทางเลือกด้วยกัน

วิธีแรก ฝากไว้กับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของที่ทำงานเดิมได้

โดยจะได้รับผลประโยชน์จากการลงทุนต่อไป แต่จะไม่มีเงินสมทบ เพื่อรอให้เราพร้อมสำหรับการโอนย้ายไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของที่ทำงานใหม่ หรือกองทุนรวม RMF ก็ได้ แต่มีค่าธรรมเนียมการคงเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่ที่ 500 บาทต่อปี

วิธีที่สอง โอนย้ายไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของที่ทำงานใหม่ หรือกองทุนรวม RMF

ทั้งสองกรณีนี้ไม่ต้องเสียภาษีหรือค่าธรรมเนียมใด ๆ แต่ถ้าหากที่ทำงานใหม่ ไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก็จะต้องนำเงินก้อนนี้ไปไว้ที่กองทุนรวม RMF for PVD แทน ซึ่งตรงนี้ก็ต้องมาศึกษากันว่ามี บลจ. ที่ไหนเปิดรับโอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพบ้าง

เมื่อโอนย้ายกองทุน PVD เข้า RMF for PVD ก็สามารถสับเปลี่ยนกองทุนได้แต่ต้องเป็นกองทุน RMF for PVD ด้วยกันเท่านั้น

วิธีที่สาม นำเงินออกมาลงทุนต่อเอง หรือนำไปใช้จ่ายอย่างอื่น

หากมนุษย์เงินเดือนคนไหนลาออกจากงานแล้ว และอยากจะสร้างความท้าทายด้วยการนำเงินไปเริ่มต้นลงทุน หรือนำไปใช้จ่ายในเรื่องที่ต้องการ ก็ต้องมาคำนวณดูว่าเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้มาจะยื่นภาษีอย่างไร และเท่าไหร่ ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้

  • ถ้าอายุงานน้อยกว่า 5 ปี หรือลาออกจากกองทุน แต่ไม่ได้ลาออกจากงาน : ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี โดยจะต้องนำเงินที่ได้ทั้ง 3 ส่วน (เงินสมทบ ผลประโยชน์ของเงินสะสม และผลประโยชน์ของเงินสมทบ) มารวมเป็นเงินได้เพื่อคำนวณภาษี สมมติว่า ณ ตอนนี้เราเป็นสมาชิก PVD โดยมียอดเงินสะสมอยู่ที่ 500,000 บาท เงินสมทบ 500,000 บาท ผลประโยชน์เงินสะสม 50,000 บาท และผลประโยชน์เงินสมทบ 50,000 บาท หากเราลาออกจากงานในตอนนี้ เราจะต้องนำเงินได้ทั้ง 3 ส่วน คือ เงินสมทบ ผลประโยชน์เงินสะสม และผลประโยชน์เงินสมทบ \>> 500,000 + 50,000 + 50,000 = 600,000 บาท มารวมกับรายได้ของเราในปีนั้น เพื่อยื่นภาษีด้วย
  • ถ้าอายุงาน 5 ปีขึ้นไป แต่อายุไม่เกิน 55 ปี : สามารถเลือกได้ว่าจะนำไปคำนวณรวมกับเงินได้ทั้งปี หรือแยกคำนวณภาษีต่างหาก โดยไม่ต้องไปรวมกับเงินได้ประจำปีก็ได้

    ในกรณีที่แยกคำนวณภาษี เราสามารถนำรายได้ส่วนนี้ไปหักค่าใช้จ่ายแบบพิเศษได้ 7,000 บาทต่ออายุงาน 1 ปี ส่วนที่เหลือสามารถหักออกได้อีกครึ่งหนึ่ง ก่อนที่จะนำไปรวมเป็นรายได้สุทธิ สมมติว่า ณ ตอนนี้เราเป็นสมาชิก PVD โดยทำงานมาแล้ว 5 ปี และมียอดเงินสะสมอยู่ที่ 500,000 บาท เงินสมทบ 500,000 บาท ผลประโยชน์เงินสะสม 50,000 บาท และผลประโยชน์เงินสมทบ 50,000 บาท หากเราลาออกจากงานในปีนี้ จะต้องนำเงินได้ทั้งหมดมาคำนวณภาษีดังต่อไปนี้

    • นำเงินที่ได้จากกองทุน (เงินสมทบ + เงินผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสมทบ) หักค่าใช้จ่ายพิเศษ จำนวน 7,000 บาท คูณด้วยจำนวนปีที่ทำงาน \>> 600,000 – (7,000 x 5) = 565,000 บาท
    • เหลือเงินได้เท่าไหร่ ให้นำไปหักออกอีกครึ่งหนึ่ง \>> 565,000 – 282,500 = 282,500 บาท
    • สุดท้ายจึงนำเงินได้ที่เหลือ 282,500 บาท ไปเป็นรายได้สุทธิ เพื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามปกติ โดยจะไม่ได้สิทธิยกเว้นภาษีสุทธิขั้นแรก 150,000 บาท
  • ถ้าอายุสมาชิกกองทุน 5 ปีขึ้นไป และอายุ 55 ปีขึ้นไป : ไม่ต้องเสียภาษี

สุดท้ายแล้วทางเลือกสำหรับการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อเราต้องเปลี่ยนงานนั้นก็มีหลากหลายวิธี แตกต่างกันไป และการวางแผนเกษียณผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก็มีความสำคัญและมีหลากหลายตัวเลือกให้ตัดสินใจเช่นกัน หากเราจะเลือกวิธีใดก็ควรศึกษาและวางแผนการลงทุน รวมถึงสิทธิประโยชน์ของแต่ละวิธีนั้นให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ และเพื่อให้เราสามารถรักษาผลประโยชน์ของเราได้อย่างสูงที่สุด

หากต้องการปรึกษาหรือขอคำแนะนำเพิ่มเติม ทางธนาคารกรุงศรีมีผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและการลงทุนโดยเฉพาะ ที่สามารถปรึกษาผ่านช่องทางฮอตไลน์ได้ที่ 02-296-5959 จันทร์ - ศุกร์ เวลา 9.00 น. - 17.00 น. หรือฝากข้อมูลเพื่อให้ที่ปรึกษาทางด้านการเงินจากธนาคารกรุงศรี ติดต่อกลับ

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพกี่ปีได้100%

อายุงานตั้งแต่ 3 ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 4 ปี มีสิทธิได้รับเงินสมทบ 50% อายุงานตั้งแต่ 4 ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 5 ปี มีสิทธิได้รับเงินสมทบ 80% อายุงานมากกว่า 5 ปี ขึ้นไป มีสิทธิได้รับเงินสมทบ 100%

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ปกติกี่%

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นสวัสดิการด้านการออมของลูกจ้างหรือมนุษย์เงินเดือนที่ตามกฎหมายสามารถเลือกหักเงินสะสมจากเงินเดือนได้ตั้งแต่ 2%-15% เข้ากองทุน และนายจ้างก็ให้เงินสมทบทุกเดือนตั้งแต่ 2%-15% เข้ากองทุนเช่นกัน และลูกจ้างสามารถเลือกสะสมเงินในอัตราที่สูงกว่าที่นายจ้างสมทบให้ก็ได้ ซึ่งความเป็นจริงในทางปฏิบัติ ต้องดูตาม ' ...

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ได้กี่บาท

อย่างที่เรารู้กันว่าเราสามารถออมเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพในบริษัท ได้ตั้งแต่ 2-15% ของเงินเดือน ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท แล้วนอกจากเงิน "สะสม" ที่เราจ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพทุกเดือนแล้ว นายจ้างเองก็จะจ่าย "สมทบ" เข้าในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้ตามนโยบายของบริษัทด้วย โดยทั่วไปยิ่งมี "อายุงาน" มากขึ้นก็จะยิ่ง ...

ลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กี่วัน ได้

หลังลาออกจากงานต้องคำนึงถึงเรื่องเงินสำรองเลี้ยงชีพด้วย โดยปกติเงินสำรองเลี้ยงชีพจะเข้าบัญชีของสมาชิกภายใน 30 วัน ขึ้นอยู่กับความรวดเร็วในการส่งเอกสารของบริษัทด้วย โดยอัตราเงินสมทบจากนายจ้างจะขึ้นอยู่กับอายุงาน ดังนี้ อายุงานน้อยกว่า 3 ปี จะไม่ได้รับเงินสมทบจากนายจ้างเลย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้