18 ไม ม คนเอา หน าเห ยกขนาดไหน twitter

เราอยู่ในยุคที่สามารถเข้าถึงเครื่องมือสื่อสารได้อย่างหลากหลาย ทุกเพศ ทุกวัย ไม่จะว่าค้นหาอะไรก็ทำได้ทุกอย่างแค่เพียงปลายนิ้ว จนเราลืมคำนึงถึงเนื้อหาที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ว่ามีทั้งเรื่องดีและไม่ดี และการปิดกั้นโอกาสไม่ให้เยาวชนเข้าถึงข้อมูลในเน็ตก็ดูจะเป็นการปิดกั้นการเรียนรู้ของเด็ก ๆ เกินไป วันนี้เราเลยอยากมาแนะนำวิธีลดการมองเห็นเนื้อหาที่เป็นอันตรายให้น้อยลงในแอปพลิเคชันต่าง ๆ เพื่อให้ตัวเราเองและเยาวชนใช้โซเชียลมิเดียได้ปลอดภัยมากขึ้น

1.Twitter

การกรองเนื้อหาละเอียดอ่อนสำหรับทวิตเตอร์ที่เป็นบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ล้วนมีความเห็นมากมายที่สามารถพิมพ์ลงไปได้ทุกตัวอักษรจนเราไม่สามารถกรองได้หมดว่าอันไหนถูกหรือผิดถ้าผ่านมือเด็ก ๆ คงจะเป็นการยากที่จะจัดเนื้อหาอันตรายในความคิดเห็นล้าน ๆ ทวิตนี่เป็นอีกวิธีหนึ่งในการควบคุมเนื้อหาค่ะ

วิธีนี้จะซ่อนโพสต์ที่เราคิดว่ามีเนื้อหาที่ละเอียดอ่อนบนหน้าฟีด

  • ในการกรองเนื้อหาไปที่แอค Twitter > เลือกปุ่มเมนูมาที่หน้าบัญชีของเรา > การตั้งค่าและความเป็นส่วนตัว > ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย > เนื้อหาที่คุณเห็น > เลื่อนลงไปที่ส่วนยกเลิกการเลือก “แสดงสื่อที่อาจมีเนื้อหาล่อแหลม”

ต่อมาเป็นการป้องกันไม่ให้โพสที่มีเนื้อหาละเอียดอ่อนปรากฎในผลการค้นหาของเราค่ะ ซึ่งเชื่อมโยงกับด้านบน

  • ในการกรองเนื้อหาไปที่แอค Twitter > เลือกปุ่มเมนูมาที่หน้าบัญชีของเรา > การตั้งค่าและความเป็นส่วนตัว > ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย > เนื้อหาที่คุณเห็น > เลื่อนลงไปที่ > การตั้งค่าการค้นหา > กดเลือกซ่อนเนื้อหาล่อแหลม

ส่วนการกรองเนื้อหา Triggers ที่มากระทบกระเทือนจิตใจเราสามารถหลีกเลี่ยงด้วยการป้อนคีย์เวิร์ด ยกตัวอย่าง ”Sexual Assault” เพื่อหลีกเลี่ยงเนื้อหาที่มีการล่วงละเมิดทางเพศได้ทันทีค่ะ

  • ในการกรองเนื้อหาไปที่แอค Twitter > เลือกปุ่มเมนูมาที่หน้าบัญชีของเรา > การตั้งค่าและความเป็นส่วนตัว > ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย > ซ่อนและบล็อค > เลื่อนลงไปที่ > คำที่ถูกซ่อนไว้ > กดเลือก + เพิ่มคำที่ซ่อนไว้ > ให้ป้อนคำหรือวลี Sexual Assault \> สามารถเลือก ไทม์ไลน์สำหรับระยะเวลาที่คุณต้องการปิดเนื้อหานี้ได้ตามที่เรากำหนด มีตั้งแต่ ตลอดไป , 24 ชม. , 7 วัน , 30 วันเป็นต้น

ทาง Twitter กำลังทดสอบ Birdwatch โปรแกรม Fact-Checking ว่าสิ่งที่พิมพ์ลงไปข่าวจริงหรือข่าวปลอม เป็นอีกระบบที่ทวิตเตอร์กำลังเตรียมเปิดให้คนทั่วโลกได้ใช้กันค่ะ ถ้าสนใจสามารถกดอ่านได้ตามด้านล่างนี้เลย

Twitter กำลังทดสอบ Birdwatch โปรแกรม Fact-Checking ว่าสิ่งที่พิมพ์ลงไปข่าวจริงหรือข่าวปลอม

2.TikTok

แอปพลิเคชัน TikTok ได้เปิดตัว Family Pairing โหมดแนะนำโดยผู้ปกครองค่ะ เพื่อให้พ่อแม่ควบคุมเนื้อหาของเด็ก ๆ ที่อยู่ในวัยเรียนรู้ได้ปลอดภัยมากขึ้น อย่างที่เรารู้กันดีแอปติ๊กต็อกมีวิดีโอนับไม่ถ้วนไม่ว่าจะคอนเทนต์สื่อบันเทิงทั้งดีหรือสื่อที่ไม่ดีไม่น่าทำตาม เพราะส่วนใหญ่คนใช้ติ๊กต็อกมีตั้งแต่เด็กอายุ 13 ปีขึ้นไป รวมไปถึงวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ นั่นเอง

Family Pairing จะเชื่อมต่อการใช้แพลตฟอร์มระหว่างแอคเคาน์ผู้ปกครอง กับแอคเคาน์ลูก เพื่อให้เข้าไปตั้งค่าความปลอดภัยได้สะดวกมากขึ้นในการควบคุมเนื้อหา

วิธีนี้จะซ่อนโพสต์ที่เราคิดว่ามีเนื้อหาที่ละเอียดอ่อนบนหน้าฟีด

  • ในการกรองเนื้อหาไปที่แอค TikTok > เลือกปุ่มเมนูมาที่หน้าบัญชีของเรา> การตั้งค่าและความเป็นส่วนตัว > เลื่อนลงไปที่ แนะนำโดยผู้ปกครอง > เลือกดำเนินการต่อ > กดผู้ปกรอง > จะมี QR คิวอาร์โค้ด ให้เรานำมือถือไปแสกนเพื่อทำการเชื่อมโยงกับแอคเคาน์บุตรหลาน
  • ถัดมา เมื่อเชื่อมโยงด้วยการลิงก์เสร็จสิ้น > เราจะสามารถเลือกจำกัดเวลาหน้าจอของเด็ก ๆ และเนื้อหาได้นั่นเองค่ะ ส่วนการตั้งค่าขีดจำกัดเวลามีตั้งแต่ 40 ถึง 120 นาที เป็นต้น

ส่วนนี่เป็นอีกวิธีง่าย ๆ นะคะคือการกดรายงานวิดีโอที่เราไม่อยากให้แสดงขึ้นมาทาง TikTok จำทำการลดเนื้อหาที่เราเห็นว่าไม่สมควรให้น้อยลง แต่ว่าการทำแบบนี้จะมีข้อจำกัดหนึ่งอย่างถ้าเรากลับไปเจอเนื้อหาคอนเทนต์แบบเดิมแล้วกดดูมันจะขึ้นมาเหมือนเดิมค่ะ ซึ่งเป็นแค่วิธีชั่วคราว

3.Google

กูเกิลถือว่าเป็นเว็บไซต์ที่เราทุกคนสามารถสืบค้นข้อมูลได้ทุกอย่างทั้งในการทำงาน ศึกษาหาความรู้ หรือใช้ประโยชน์ซึ่งเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงข้อมูลที่มีเนื้อหาล่อแหลมและละเอียดอ่อนได้ทั้งหมดอยู่แล้วค่ะ นี่เป็นอีกวิธีอย่างง่ายในการคอนโทลเนื้อหาซึ่งทำได้ทั้งหมดเหมือนกันบนคอมพิวเตอร์ และสมาร์ทโฟน

วิธีนี้จะซ่อนเรื่องราวที่เราคิดว่ามีเนื้อหาที่ละเอียดอ่อนบนเว็บไซต์กูเกิล

  • ในการกรองเนื้อหาไปที่หน้าบัญชีของเรา > การตั้งค่า > ซ่อนผลการค้นหาที่ไม่เหมาะสม > กดเปิด ตัวกรองผลการค้นหาที่ไม่เหมาะสม : การเปิดฟีเจอร์ค้นหาปลอดภัยจะช่วยซ่อนเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม เช่น ภาพลามกอนาจาร หรือเนื้อหารุนแรง
  • กดบนคอมพิวเตอร์จิ้ม Link นี้ได้เลยค่ะ การกรองเนื้อหา

ยังมีอีกบริการหนึ่งค่ะสำหรับกูเกิล คือ Google Family Link เพื่อให้ผู้ปกครองคอยสอดส่องดูแลพฤติกรรมการใช้งานมือถือของลูกพร้อมจำกัดเวลาเล่นว่าเด็ก ๆ ของเราทำกิจกรรมอะไรอยู่บ้างสามารถอ่านวิธีทำและการติดตั้งได้ตามข้างล่างเลยค่ะ

ลดปัญหาลูกติดมือถือด้วย Google Family Link กำหนดเวลาเล่น จำกัดการเข้าแอปได้ง่าย ๆ เช็คได้ผ่านมือถือ

4.instagram

อินสตาแกรมเป็นอีกแอปที่เราสามารถแบ่งปันรูปภาพหรือวิดีโอสั้น ๆ ได้ง่ายดายทั้งการติดต่อคุยกับเพื่อน ครอบครัว เรียกว่าเป็นเครือข่ายสังคมที่เน้นการลงรูปภาพพร้อมแชร์เรื่องราวในสตอรี่ให้แก่กันนั่นเอง ซึ่งในเนื้อหาที่ค่อนข้างเยอะจะมีคอนเทต์ที่ไม่ไม่เหมาะสมเด็ก ๆ สามารถเผลอไปเลียนแบบพฤติกรรมได้ค่ะ อีกทั้งเรารู้สึกว่าไม่เหมาะสมบนหน้าฟีดตัวเองอีกด้วย นี่จะเป็นอีกวิธีในการควบคุมเนื้อหาบนอินสตาแกรม

วิธีนี้จะซ่อนเรื่องราวที่เราคิดว่ามีเนื้อหาที่ละเอียดอ่อนบนอินสตาแกรม

ซึ่งอินสตาแกรมจะไม่สามารถลดเนื้อหาได้ถาวรนะคะ แต่แค่เลือกให้แสดงได้น้อยลงบนหน้าฟีด รวมไปถึง Reel ต่าง ๆ

  • ในการกรองเนื้อหาไปที่แอค instagram \> เลือกปุ่มเมนูมาที่หน้าบัญชีของเรา > การตั้งค่า > เลือกบัญชี > เลื่อนลงมาที่การควบคุมเนื้อหาที่ละเอียดอ่อน > ซึ่งค่าตั้งต้นจะเลือกให้เราเป็นมาตรฐาน > ให้เรากดเลือกน้อยลง : เพื่อให้เนื้อหาแสดงสื่อที่มีความล่อแหลมได้น้อยลงไปนั่นเองค่ะ

ส่วนการกรองเนื้อหาหรือวลีพวก Triggers ที่มากระทบกระเทือนจิตใจเราสามารถหลีกเลี่ยงด้วยการป้อนคีย์เวิร์ด ยกตัวอย่าง ”Sexual Assault” เพื่อหลีกเลี่ยงเนื้อหาที่มีการล่วงละเมิดทางเพศได้ทันทีค่ะ เหมือนกับ Twitter

  • ในการกรองเนื้อหาคำหรือวลีไปที่แอค instagram \> เลือกปุ่มเมนูมาที่หน้าบัญชีของเรา > การตั้งค่า > เลือกความเป็นส่วนตัว > เลื่อนลงมาที่คำที่ซ่อนไว้ > จัดการคำและวลีที่กำหนดเอง > เพิ่มคำหรือวลีอย่าง ”Sexual Assault” เป็นที่เรียบร้อย แค่นี้ทาง instagram จะทำการคัดกรองเนื้อหาทุกอย่างรวมไปถึงข่าวสารรูปภาพ หรือวิดีโอสั้นบนฟีดโดยรวมค่ะ

ทำให้เราสามารถกำหนดหน้าฟีดเนื้อหาที่จะแสดงได้ด้วยตัวเองอย่างง่าย

5.Meta (หรือชื่อเดิม Facebook )

เมตาเป็นแพล็ตฟอร์มที่ใช้ในการเชื่อมคนให้เข้าถึงกันได้ทุกเครือข่าย ทำให้ผู้ใช้งานเข้าถึงรูปภาพ ลงวีดีโอ ไลฟ์สด หรือแม้แต่ส่งข้อความหากันเป็นส่วนตัวกับเพื่อน ครอบครัว หรือจัดการธุรกิจ ข่าวสาร อื่น ๆ ได้ง่ายมากขึ้นรวมไปถึงการแสดงออกทุกอย่างทางความคิดเห็นแบบเสรี ซึ่งใครจะเขียนอะไรลงไปก็ได้ทำให้เราอาจเห็นเนื้อหาข้อความที่ไม่เหมาะสมทั้งสำหรับเด็กหรือแม้แต่ตัวเราเองที่ไม่อยากให้ข่าวล่อแหลมแบบนี้ปรากฎขึ้นบนฟีดของเราอย่างแน่นอน แต่ในขณะเดียวกันเมตาเป็นแพล็ตฟอร์มที่มีข้อจำกัด เราจึงไม่สามารถกรองเนื้อหาจากคนเป็นพัน ๆ ล้านคนได้ แต่สามารถบล็อคบุคคลนั้น หรือเลิกเป็นเพื่อน เลิกติดตาม ได้นั่นเองค่ะ

วิธีนี้จะซ่อนโพสต์ที่เราคิดว่ามีเนื้อหาที่ละเอียดอ่อนบนหน้าฟีด

เป็นวิธีกรองบุคคล (ยกตัวอย่าง)

  • ไปที่หน้า Profile ของเพื่อน \> เลือกปุ่มเมนูเพื่อน > เลือกเลิกเป็นเพื่อน หรือเลิอกติดตามได้พร้อมกันค่ะ
  • ต่อมาเป็นการ บล็อกบุคคล \> ไปที่จุดสามจุดข้างล่างคำว่าเพื่อน > เลือก บล็อค : แค่นี้เราก็จะไม่เห็นข้อความหรือโพสที่ไม่เหมาะสมจากบุคคลนั้นอีกตลอดไปค่ะ จนกว่าเราจะเลิกบล็อคเองเพื่อปกป้องตัวเราไปในตัวด้วยถ้ามีใครมาโจมตีทั้ง ๆ ที่เราไม่ได้ผิดอะไร หรืออีกอย่างคือการปิดกั้นข้อมูลเป็นเท็จและ อันตรายจากบุคคลเหล่านั้น

เป็นวิธีกรองเนื้อหาข่าวสารบนฟีด (ยกตัวอย่าง)

  • ให้เลือกโพสที่เราคิดว่ามีเนื้อหาละเอียดอ่อน \> เลือกปุ่มเมนู (…) ที่มุมบนขวา > เลือก รายงานโพสต์ของแต่ละคน > เลือกปัญหาที่เราคิดว่าตรงกับหมวดหมู่ที่ขัดต่อมาตรฐานชุมชน > กดส่งรายงาน แล้วทางเมตาจะรับเรื่องเพื่อแสดงข้อมูลพวกนี้ให้เราเห็นน้อยลงค่ะ

เป็นวิธีกรองเพจที่เราคิดว่ามีเนื้อหาที่ละเอียดอ่อนบนหน้าฟีด (ยกตัวอย่าง)

  • ให้เลือกเพจที่เราคิดว่ามีเนื้อหาละเอียดอ่อน หรือให้ข้อมูลข่าวที่ไม่เป็นความจริง ไม่ว่าจะเรื่องรุนแรงต่าง \> เลือกปุ่มเมนู (…) ที่มุมบนขวา > เลือก รายงานเพจ หรือบล็อคเพจ > แค่นี้เราจะไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารจากเพจค่ะ

ทางเมตายังไม่มีอัพเดตการกรองเนื้อหาที่ระเอียดอ่อนทั้งหมดเหมือนแอปพลิเคชันอื่น แต่ถ้าอนาคตมีอะไรเพิ่มเติมเราจะมาอัพเดตให้อีกทีค่ะ

เป็นขั้นตอนง่าย ๆ สามารถทำได้ด้วยตัวเอง เผื่อใครยังไม่รู้ว่าเดี๋ยวนี้เราสามารถกรองเนื้อหาข่าวสารในโซเชียลมิเดียได้แล้ว ซึ่งปัจจุบันโลกอินเทอร์เน็ตเข้าถึงได้ง่ายมากแม้แต่เด็ก ๆ หรือบุตรหลานสามารถกดเข้าไปไถด้วยตัวเองโดยที่ไม่ต้องถามใคร ซึ่งมันมีข้อเสียอยู่ที่ว่า เด็กหล่านี้ยังไม่มีการรับรู้ที่มากพอในการแบ่งแยกว่าอะไรคือสิ่งที่ดีหรือไม่ดี นอกจากว่าคุณพ่อคุณแม่จะควบคุมลูกตัวเองอย่างใกล้ชิด แต่การมีตัวช่วยควบคุมเนื้อหาก็ไม่ใช่ว่าจะคลอบคลุมไปทั้งหมด ต้องอย่าลืมสอนลูกเกี่ยวกับภัยบนอินเทอร์เน็ตทั้งการโพสต์ควรไตร่ตรองให้ดี และใช้เวลาเล่นอินเตอร์เน็ตอย่างเหมาะสมด้วย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้