สาย ไฟ มาตรฐาน ใหม่ ม อก 11 2553

การที่ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงสีของสายไฟฟ้าก็เพื่อให้เป็นไปตาม มาตรฐานIEC ที่เป็นมาตรฐานสากลที่นานาชาติยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก

ซึ่งประเทศเรารับเอามาใช้เป็นมาตรฐานอ้างอิงทั้งสำหรับสายไฟฟ้าหลายๆชนิดและสำหรับมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า ซึ่งมีข้อดีคือ

  1. ข้อกำหนดในมาตรฐานมีที่มาที่ไปในการอ้างอิงทางวิชาการที่เชื่อถือได้และเป็นที่ยอมรับ
  2. ช่างไฟฟ้าและวิศวกรไฟฟ้าในทุกประเทศทั่วโลกที่อ้างอิงมาตรฐาน IEC เหมือนกัน ต่างก็ทำงานอยู่บนพื้นฐานข้อกำหนดและมาตรฐานของสายไฟฟ้าเดียวกัน หากต้องทำงานร่วมกันก็สามารถทำได้โดยสะดวก

ตารางแสดงสีของฉนวนสายไฟฟ้าตามมาตรฐาน มอก. 11-2553 โดยกำหนดดังนี้

  1. สายไฟฟ้า แกนเดี่ยว ไม่กำหนดสี
  2. สายไฟฟ้า 2 แกน สีฟ้า และน้ำตาล
  3. สายไฟฟ้า 3 แกน (แบบมีสายดิน) สีเขียวแถบเหลือง ฟ้า น้ำตาล
  4. สายไฟฟ้า 3 แกน (แบบไม่มีสายดิน) สีน้ำตาล ดำ เทา
  5. สายไฟฟ้า 4 แกน (แบบมีสายดิน) สีเขียวแถบเหลือง น้ำตาล ดำ เทา
  6. สายไฟฟ้า 4 แกน (แบบไม่มีสายดิน) สีฟ้า น้ำตาล ดำ เทา
  7. สายไฟฟ้า 5 แกน สีเขียวแถบเหลือง ฟ้า น้ำตาล ดำ เทา

ข้อกำหนดสีของสายไฟฟ้าหุ้มฉนวนแรงดันต่ำ ตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าของ วสท. ดังนี้

  1. สายไฟฟ้านิวทรัล (สายศูนย์) ใช้สีฟ้า
  2. สายไฟฟ้าสำหรับสายดิน ใช้สายสีเขียว หรือสีเขียวแถบเหลือง หรือเป็นสายเปลือย
  3. สายไฟฟ้าสำหรับเส้นสายไฟของระบบไฟฟ้า 1 เฟส ใช้สีอื่นใดที่ต่างจากสายนิวทรัลและสายต่อลงดิน
  4. สายไฟฟ้าสำหรับเส้นสายไฟของระบบไฟฟ้า 3 เฟส ใช้สายที่มีสีฉนวนหรือทำเครื่องหมายเป็นสีน้ำตาล สีดำ และสีเทา สำหรับเฟส 1, 2 และ 3 ตามลำดับ
  5. สายไฟฟ้าแกนเดียวขนาด 16 ตร.มม. ขึ้นไปสามารถใช้วิธีทำเครื่องหมายที่ปลายสายไฟฟ้าแทนการกำหนดสีได้

ข้อกำหนดข้างต้น ยกเว้นสายไฟฟ้าที่ใช้เป็นสายไฟเมนเข้าอาคาร (สายออกจากมิเตอร์ไฟฟ้าถึงเมนสวิตช์) โดยจะเห็นว่าในระบบไฟฟ้า 1 เฟส มาตรฐานการติดตั้งไม่ได้กำหนดให้สายเส้นไฟต้องใช้แต่เฉพาะสายสีน้ำตาลเท่านั้น

ดังนั้นในระบบไฟฟ้า 1 เฟสตามบ้านเรือนทั่วไป สามารถเลือกใช้สายไฟฟ้าโดยเส้นไฟเป็นสีอื่นที่ไม่ใช่สีฟ้า, สีเขียว และสีเขียวแถบเหลืองได้

ตัวอย่างเช่น ใช้สาย 60227 IEC 01 (THW) สีดำสำหรับวงจรเต้ารับ ใช้สีขาวสำหรับวงจรแสงสว่าง และใช้สีแดงสำหรับเครื่องปรับอากาศ เพื่อความสะดวกในการแยกวงจรได้ แต่สายนิวทรัลของทุกวงจรต้องใช้สีฟ้า และสายดินต้องใช้สีเขียวหรือเขียวแถบเหลืองเท่านั้น

มาตรฐาน มอก.11 ซึ่งเป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำหรับสายไฟฟ้าตัวนำทองแดง หุ้มฉนวนและเปลือก PVC สำหรับแรงดันไฟฟ้าที่กำหนดไม่เกิน 450/750 โวลต์ กำลังจะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง รายละเอียดการเปลี่ยนแปลงมีอะไรบ้างนั้น ตามมาดูกันค่ะ

มาตรฐาน มอก.11 ส่วนที่มีการแก้ไข

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับมาตรฐาน มอก.11 กันก่อน มาตรฐาน มอก.11 เป็นมาตรฐานที่อ้างอิงมาจากมาตรฐานสากล IEC 60227 โดยรับเอา IEC 60227 Part 1 ถึง Part 5 มาปรับใช้กับประเทศไทยเป็น มอก.11 เล่ม 1 ถึง เล่ม 5 และเพิ่มเติม มอก.11 เล่ม 101 สำหรับสายไฟฟ้าชนิดที่เป็นที่นิยมใช้งานในประเทศไทย แต่ไม่มีอยู่ใน IEC 60227 เพื่อให้มาตรฐานครอบคลุมสายไฟฟ้าชนิดที่มีการใช้งานโดยทั่วไปในประเทศไทย มาตรฐาน มอก.11 ทั้ง 6 เล่มประกอบด้วย

สำหรับการแก้ไขมาตรฐานในครั้งนี้ จะเป็นการแก้ไขเฉพาะ มอก.11 เล่ม 101 เท่านั้น โดยเปลี่ยนจากเดิม มอก.11 เล่ม 101-2553 เป็น มอก.11 เล่ม 101-2559 ส่วน มอก.11 เล่มอื่นๆยังคงใช้ฉบับเดิมโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด ซึ่งมาตรฐาน มอก.11 เล่ม 101 นี้เป็นข้อกำหนดสำหรับสายไฟฟ้าสำหรับงานทั่วไปได้แก่สายไฟฟ้าชนิด VAF, VAF-G, NYY, NYY-G, VCT, และ VCT-G

มาตรฐานใหม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง

มอก.11 เล่ม 101-2559 มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเรื่องเดียวคือ มีการเพิ่มขนาดตัวนำขนาดเล็กของสายไฟฟ้าชนิด NYY, NYY-G, VCT และ VCT-G ให้เริ่มตั้งแต่ขนาด 1 ตร.มม. ขึ้นไป เพื่อให้ครอบคลุมการใช้งานที่กว้างมากขึ้น ส่วนสายไฟฟ้าชนิด VAF และ VAF-G ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด รายละเอียดของการเปลี่ยนแปลงมีดังนี้

ทำไมจึงต้องมีการแก้ไขมาตรฐานใหม่

เนื่องจากมาตรฐาน มอก.11 เล่ม 101 เดิม กำหนดให้สายไฟฟ้าชนิด NYY, NYY-G, VCT และ VCT-G มีขนาดตัวนำที่ต่อเนื่องกันกับขนาดตัวนำของสายไฟฟ้าชนิด 60227 IEC 10 และ 60227 IEC 53 ซึ่งเป็นสายไฟฟ้าที่มีโครงสร้างเหมือนกันกับสาย NYY และ VCT ตามลำดับ

แต่เนื่องจากมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย กำหนดให้สายไฟฟ้าชนิด 60227 IEC 10 และ 60227 IEC 53 ไม่สามารถใช้ติดตั้งฝังดินได้เหมือนสาย NYY และ VCT จึงเกิดปัญหากับผู้ใช้งานจำนวนมากที่มีความจำเป็นต้องใช้สายไฟฟ้าหลายแกนที่มีตัวนำขนาดเล็กสำหรับงานติดตั้งแบบเดินร้อยท่อฝังดินหรือฝังดินโดยตรง

ดังนั้นจึงมีการแก้ไขมาตรฐาน มอก.11 เล่ม 101 เพิ่มขนาดตัวนำสายไฟฟ้าชนิด NYY, NYY-G, VCT และ VCT-G ให้ครอบคลุมตัวนำขนาดตั้งแต่ 1 ตร.มม. เพื่อเป็นการแก้ปัญหานี้

ทั้งนี้สามารถคลิกอ่านข้อมูลเพิ่มได้ดังนี้

  1. ข้อมูลเปรียบเทียบการใช้งานสาย NYY กับ 60227 IEC 10
  2. ข้อมูลเปรียบเทียบการใช้งานสาย VCT กับ 60227 IEC 53

มาตรฐานใหม่เริ่มใช้เมื่อใด

มาตรฐาน มอก.11 เล่ม 101-2559 จะมีผลใช้บังคับวันที่ 25 พฤศจิกายน 2563 นี้ อย่างไรก็ตามอาจมีการอนุญาตให้ผู้ผลิตสายไฟฟ้ายื่นขอผ่อนผันการบังคับใช้ออกไปได้ระยะหนึ่ง ดังนั้นสายไฟฟ้าตามมาตรฐานใหม่จึงน่าจะเริ่มทยอยออกสู่ท้องตลาดในปี 2564 เป็นต้นไป

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้